ผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังการรักษากระดูกกรามส่วนคอนดายล์แตกหักแบบไม่ผ่าตัดเปิดแผล

Main Article Content

คชา อริยะธุกันต์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การรักษากระดูกกรามส่วนคอนดายล์แตกหัก มีสองวิธีหลักๆคือ การรักษาแบบไม่ผ่าตัดเปิดแผล(close reduction with maxillo-mandibular fixation) และ การรักษาแบบผ่าตัดเปิดแผล (open reduction with plate & screws with maxillo-mandibular fixation) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปว่าวิธีใดดีกว่ากัน เพราะทั้งสองวิธีมีข้อดีและข้อเสียทำให้เกิด ผลแทรกซ้อนหลังการรักษาได้ การรักษาจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์เจ้าของไข้ว่าจะเลือกใช้วิธีใด โดยในปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนในการตัดสินวิธีการรักษากระดูกกรามส่วนคอนดายล์แตกหัก หากทราบได้ว่าผลแทรกซ้อนหลังการรักษาแบบไม่ผ่าตัดมีอะไรบ้าง มีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด จะเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจของแพทย์ เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่มีประสิทธิผล เหมาะสม และคุ้มค่าต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่า มีผลแทรกซ้อนอะไรบ้างที่เกิดขึ้น หลังการรักษากระดูกกรามส่วนคอนดายล์แตกหักแบบไม่ผ่าตัดเปิดแผลของผู้ป่วยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของแพทย์ในการเลือกวิธีการรักษา
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง Retrospective cohort study จากใบบันทึกประวัติการรักษา ของผู้ป่วยกระดูกกรามส่วนคอนดายล์แตกหักในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ. ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ. ศ. 2566 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 52 ราย โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 52 ราย อายุเฉลี่ย 33.0(+15.2) ปี ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 80.0 เพศหญิงร้อยละ 20.0 สาเหตุการบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ร้อยละ 80.0พบการบาดเจ็บร่วมคือสมองกระทบกระเทือนเล็กน้อยและปานกลางรวมกันได้ร้อยละ 40.0 พบว่าผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังการรักษาแบบไม่ผ่าตัดเปิดแผล ที่พบมากที่สุด คือเวลาคนไข้อ้าปาก คางผู้ป่วยจะเอียงไปทางฝั่งที่มีกระดูกกรามแตกหัก (Chin swaying) ร้อยละ 40.0 พบผู้ป่วยที่ไม่มีผลแทรกซ้อนใด ๆ หลังการรักษาแบบไม่ผ่าตัดเปิดแผลร้อย ละ 25.6 พบการสบฟันที่ผิดไปจากเดิมเล็กน้อย (Poor occlusion) ร้อยละ 19.2 พบTMJ pain ร้อยละ 9.5 และ Abnormal inter incisive distance ร้อยละ 5.7
สรุป: ผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังการรักษากระดูกกรามส่วนคอนดายล์แตกหักแบบไม่ผ่าตัดเปิดแผล ที่พบมากที่สุด คือ Chin swaying รองลงมาคือ ไม่พบผลแทรกซ้อนใด ๆ Poor occlusion TMJ pain และ Abnormal inter incisive distance ตามลำดับ การบาดเจ็บร่วม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Reddy NV, Reddy PB, Rajan R, Ganti S, Jhawar DK, Potturi A, et al. Analysis of patterns and treatment strategies for mandibular condyle fractures: review of 175 condyle fractures with review of literature. J Maxillofac Oral Surg 2013;12(3):315-20.

doi: 10.1007/s12663-012-0428-9.

Baker AW, McMahon J, Moos KF. Current consensus on the management of fractures of the mandibular condyle. A method by questionnaire. Int J Oral Maxillofac Surg 1998;27(4):258-66. doi: 10.1016/s0901-5027(05)80507-7.

Haug RH, Assael LA. Outcomes of open versus closed treatment of mandibular subcondylar fractures. J Oral Maxillofac Surg 2001;59(4):370-5; discussion 375-6. doi: 10.1053/joms.2001.21868.

Ellis E 3rd, Palmieri C, Throckmorton G. Further displacement of condylar process fractures after closed treatment.J Oral Maxillofac Surg 1999;57(11):1307-16; discussion 1316-7. doi: 10.1016/s0278-2391(99)90867-4.

Ellis E 3rd, Throckmorton G. Facial symmetry after closed and open treatment of fractures of the mandibular condylar process. J Oral Maxillofac Surg. 2000;58(7):719-28; discussion 729-30. doi: 10.1053/joms.2000.7253.

Ellis E 3rd, McFadden D, Simon P, Throckmorton G. Surgical complications with open treatment of mandibular condylar process fractures. J Oral Maxillofac Surg 2000;58(9):950-8. doi: 10.1053/joms.2000.8734.

Worsaae N, Thorn JJ. Surgical versus nonsurgical treatment of unilateral dislocated low subcondylar fractures: a clinical study of 52 cases. J Oral Maxillofac Surg 1994;52(4):353-60; discussion 360-1. doi: 10.1016/0278-2391(94)90436-7.

Konstantinović VS, Dimitrijević B.Surgical versus conservative treatment of unilateral condylar process fractures: clinical and radiographic evaluation of 80 patients. J Oral Maxillofac Surg 1992;50(4):349-52; discussion 352-3. doi: 10.1016/0278-2391(92)90395-g.

Takenoshita Y, Ishibashi H, Oka M. Comparison of functional recovery after nonsurgical and surgical treatment of condylar fractures. J Oral Maxillofac Surg 1990;48(11):1191-5. doi: 10.1016/0278-2391(90)90535-a.

Ellis E 3rd, Simon P, Throckmorton GS. Occlusal results after open or closed treatment of fractures of the mandibular condylar process. J Oral Maxillofac Surg 2000;58(3):260-8. doi: 10.1016/s0278-2391(00)90047-8.