ผลของโปรแกรมเข่ายิ้มต่อภาวะข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพจากความเสื่อมทางร่างกายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโรคข้อเข่าเสื่อม พบมากในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความเจ็บปวด และจำกัดการเคลื่อนไหวอาจนำไปสู่ความพิการได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเข่ายิ้ม โดยเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้แบบประเมิน Modified WOMAC Score วัดระดับความปวด ความฝืดข้อ การใช้งานข้อ และวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าโดยใช้โกนิโอมิเตอร์
รูปแบบการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 30 คน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย จะได้รับโปรแกรมทั้งหมด 8 สัปดาห์ ดังนี้ 1) ตรวจประเมินภาวะข้อเข่าเสื่อมโดยแพทย์ 2) การออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาและการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว 3) การพอกเข่าด้วยสมุนไพรโดยแพทย์แผนไทย 4) การติดตามเยี่ยมบ้าน โดยทีมพยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข และนักกายภาพบำบัด เพื่อทบทวนการออกกำลังกายรวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง และการปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อีกทั้งเสริมกำลังใจในการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test
ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุมีอาการปวดลดลง ความฝืดข้อลดลง การใช้งานข้อดีขึ้น และองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ρ<0.05)
สรุป: หลังได้รับโปรแกรมเข่ายิ้ม เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สามารถลดอาการปวด เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา2556;3(16):1-19.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรองและประเมินผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ณจันตรา ครีเอชั่น; 2564.
สุภาพ อารีเอื้อ, สมหมาย วนะวนานต์, อินทิรา รูปสว่าง. ปัจจัยคัดสรรในการทำนายภาวะสุขภาพของผู้ที่มีอาการโรคเข่าเสื่อม. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2559;30(1):28-46.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. สุขภาพและปัจจัยกำหนดสุขภาพ. ใน: อำพล จินดาวัฒนะ, สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, สุรณี พิพัฒน์โรจน์กมล, บรรณาธิการ. การสร้างเสริมสุขภาพ : แนวคิด หลักการ และบทเรียนของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี ; 2551 : 1-24.
กลุ่มงานวิชาการเวชกรรมและผดุงครรภ์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในคลินิกบริการการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแบบครบวงจร. กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) ; 2559.
กลุ่มงานแผนยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลบุรีรัมย์. รายงานประจำปี พ.ศ. 2566 กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รายงานการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปี พ.ศ. 2566 ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์สาขา 1. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ; 2566. (เอกสารอัดสำเนา).
อังศุมาลิน บัวแก้ว. การดูแลสุขภาพด้วยตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนจากครอบครัวที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมอำเภอลอง จังหวัดแพร่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2554;34(2):35-45.
สินีนาฏ วิไลจิตต์. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความรุนแรงของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. บูรพาเวชสาร 2565;9(2):61-75.
ตันหยง ปานเพ็ชร, รุจิรา ดวงสงค์, นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายและการพอกเข่าสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ในคลินิกหมอครอบครัววัดหนองแวง เทศบาลเมืองขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563;13(3):24-33.
เกียรติสุดา เชื้อสุพรรณ, วิชัย โชควิวัฒน์, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ, ธวัชชัย กมลธรรม. ประสิทธิพลของการพอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านภูมิ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563;6(2):155-67.
ปิยะพล พูลสุข, สุชาดา ทรงผาสุข, เมริษา จันทา, เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์, กิตรวี จิรรัตน์สถิต. ประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2560;18(1):104-11.