การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ โรงพยาบาลชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การบาดเจ็บของอวัยวะตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป มีสาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุ การประเมินผู้ป่วยไม่เหมาะสมและเฝ้าระวังไม่เพียงพอ ทำให้อาการทรุดลงและเสียชีวิตได้
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ โรงพยาบาลชัยภูมิ
วิธีการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์จำนวน 26 คน และผู้ป่วย 180 คน ที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยภูมิ ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินผลเครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) รูปแบบการดูแลผู้ป่วย 2) แบบวัด ความรู้ 3) แบบตรวจสอบการปฏิบัติ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน pair t-test และ Independent t-test
ผลการศึกษา: 1. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ประกอบด้วย การบริหารจัดการทางการพยาบาล และแผนการดูตามมาตรฐานการดูแล 7 Aspects of multiple trauma care 3) การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ 2. ผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย 1) ด้านผู้ให้บริการพบว่ามีการปฏิบัติตามรูปแบบร้อยละ 99.4 มีคะแนนความรู้หลังการพัฒนามากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-8.2, p < 0.001) 2) ด้านผลลัพธ์ พบว่าความพึงพอใจต่อบริการสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-7.3, p < 0.001) การจัดการความปวดอย่างเหมาะสมมากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MC=5.2, p<0.05)
สรุป: รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแล มีประสิทธิผลทั้งในด้านกระบวนการและผลลัพธ์ทางการพยาบาล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Frink M, Lechler P, Debus F, Ruchholtz S. Multiple Trauma and Emergency Room Management. Dtsch Arztebl Int 2017;114(29-30):497-503. doi: 10.3238/arztebl.2017.0497.
World Health Organization. Emergency and Trauma Care 2019. [Internet]. 2019. [cited 2024 Jul 20]. Available from:URL:https://apps.who.int/gb/ebwha/pdf_files/WHA72/A72_31-en.pdf
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2565.[อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://www.otp.go.th/post/view/6386.
Lewis SM, Bucher L, Heitkemper MM, Harding M. Medicine – Surgical Nursing Assessment and Management of Clinical Problems. 10thed. St. Louis : Elsevier Inc. ; 2017.
กรองได อุณหสูต. เครือข่ายการพยาบาลอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย. การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย Multiple Injury ตามแนวทางการจัดการผู้ป่วยตามหลักฐานเชิงประจักษ์.ประชุมเชิงปฎิบัติการ ครั้งที่ 2/2559 ; 11-12 มิถุนายน 2559 กรุงเทพฯ, 2559. (เอกสารอัดสำเนา).
Revell M, Pynsent PB, Abudu A, Fairbank J. (2003). Trauma scores and trauma outcome measures. Trauma 2003;5(1):61-70. DOI:10.1191/1460408603ta268oa
Cannon CM, Braxton CC, Kling-Smith M, Mahnken JD, Carlton E, Moncure M. Utility of the shock index in predicting mortality in traumatically injured patients. J Trauma 2009;67(6):1426-30. doi: 10.1097/TA.0b013e3181bbf728.
กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยภูมิ. สถิติผู้ใช้บริการ 2562-2564. ชัยภูมิ : โรงพยาบาลชัยภูมิ ; 2564. (เอกสารอ้างอิง).
กฤษดา แสวงดี, จินนะรัตน์ ศรีภัทรภิญโญ, นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร, สุวิภา นิตยางกูร, บรรณาธิการ. การประกันคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล : งานบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ; 2544
สมบัติ ท้ายเรือคำ. การวิจัยและพัฒนา:วิธีการวิจัยเพื่อพัฒนางานวิจัย. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและ ชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2557;1(1):2-11.
กัลยรัตน์ สังข์มรรทร, ศศิธร กระจายกลาง, เพ็ญจันทร์ วันแสน.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสุรินทร์.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564;36(2):237-42.
American Statistical Association. G * Power 3.1 manual June 1, 2023. [Internet]. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://www.psychologie.hhu.de/fileadmin/redaktion/Fakultaeten/Mathematisch-Naturwissenschaftliche_Fakultaet/Psychologie/AAP/gpower/GPowerManual.pdf.
ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมทางการพยาบาล. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ; 2566.
เสาวรส จันทมาศ, กัญจนา ปุกคำ, สุมาลี พลจรัส, ประณีต ส่งวัฒนา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2565;42(3):25-39.
จารุพักตร์ กัญจนิตานนท์, สุชาตา วิภวกานต์, รัตนา พรหมบุตร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้บาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ โรงพยาบาลกระบี่. วารสารพยาบาลกองทัพบก 2562;20(1):339-49.
วัชชรีภรณ์ รัตรสาร, ณัฐกานต์ บุญโก่ง, ปิติวดี กิ่งมณี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2565;37(3):707-18.
มะลิสา โรจนหิรัณย์. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลอุดรธานี 2563;28(3):413-25.