การพัฒนารูปแบบการสร้างสมดุลสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติระหว่างปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2564 โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกเนื่องจากการทำงานเฉลี่ยร้อยละ 0.9 ต่อปี มีลูกจ้างประสบอันตราย จำนวน 3,765 ราย จังหวัดบุรีรัมย์มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานจำแนกตามความร้ายแรง ปี พ.ศ. 2565 ตายจำนวน 3 ราย ทุพพลภาพจำนวน 1 ราย สูญเสียอวัยวะบางส่วนจำนวน 2 ราย หยุดงานเกิน 3 วันจำนวน 99 ราย หยุดงานไม่เกิน 3 วันจำนวน 41 ราย โรงพยาบาลบุรีรัมย์พบรายงานโรคจากระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวน 892 ครั้ง มีบุคลากรที่ป่วยด้วยอาการปวดหลังมากที่สุดจำนวน 262 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 29.4 ปวดไหล่จำนวน 215 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 24.1 ปวดคอจำนวน 141 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 15.8 จึงได้วิจัยการพัฒนารูปแบบการสร้างสมดุลสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์นี้ขึ้น
วัตถุประสงค์: ศึกษาความคิดเห็น ความต้องการ พัฒนารูปแบบ และ ประเมินผลการใช้รูปแบบ การสร้างสมดุลสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development : R&D) ระหว่างเมษายน พ.ศ. 2566 ถึง กันยายน พ.ศ. 2567 แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน 1) ศึกษาความคิดเห็นความต้องการ 2) พัฒนารูปแบบ HEKECH MODEL 3) การทดลองใช้รูปแบบ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการสร้างสมดุลสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ ของบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์
ผลการศึกษา: ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ท่าทางการทำงานการออกกำลังกาย โภชนาการเพื่อสุขภาพ การพักผ่อนเพื่อปรับสภาพร่างกายและจิตใจ ทางเลือกในการรักษาหรือฟื้นฟูสุขภาพ รวม 5 ด้าน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความรู้ทั้ง 5 ด้าน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ระดับความเสี่ยงทางการยศาสตร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความรู้ 5 ด้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังการใช้รูปแบบ HEKECH MODEL
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ : กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ; 2565.
สำนักงานประกันสังคม. สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ข้อมูลสถิติกองทุนเงินทดแทน พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2565]. ค้นได้จาก:URL: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/ sso_th/1675d2a95c38687dd649989003beb08a.pdf.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ข้อมูลสถิติและตัวชี้วัดที่สำคัญ การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำแนกตามความร้ายแรง (ในข่ายกองทุนเงินทดแทน) เป็นรายภาคและจังหวัด พ.ศ. 2554 – 2565. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/statistics_and indicators?impt.
กลุ่มงานอาชีวอนามัย โรงพยาบาลบุรีรัมย์. รายงานเฝ้าระวังการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2565. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://www.brh.go.th/index.php/2022-08-26-02-34-59/send/5-2018-12-28-04-58-23/293-arrpt021165
ประกาศิต ทอนช่วย, ภคิณี สุตะ. ปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการปลูกข้าวโพดของเกษตรกรกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดชียงราย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2563;27(1):27-39.
อุทัย แก้วกลม, ณัฐพล ทนุดี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านการยศาสตร์ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อและกระดูกในกลุ่มแรงงานเย็บเสื้อผ้าโหลกรุงเทพมหานคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2564;28(2):31-40.
สุดารัตน์ บุญหล้า, สุนิสา ชายเกลี้ยง. การจัดการทางการยศาสตร์เพื่อลดความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ จากการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในภาคอุตสาหกรรม. วารสารวิจัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564;14(4):1-11.
ตวงพร นุตบุญเลิศ, พรรัตน์ แสดงหาญ, อภิญญา อิงอาจ. การใช้การยศาสตร์ในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในภาคตะวันออก. วารสารสุทธิปริทัศน์ 2560;31(100).13-25.
วิภาดา คงทรง, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, นภชา สิงห์วีรธรรม. การปรับปรุงสภาพงานโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ในบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2564;7(4): 167-80.
โสมรัศมิ์ เศวตชัยกุล, จเร เลิศสุดวิชัย. การวิเคราะห์ปัญหา และปรับปรุงงานด้านการยศาสตร์ของพนักงานขนย้ายและติดตั้งท่อสแตนเลสในกระบวนการติดตั้งงานระบบท่อในงานก่อสร้าง. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 2561;7(สืบเนื่อง): 347-58.
เสาวภา ห้วยจันทร์, สุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในคนงานอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็ก. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562;12(2):85-90.
จารุพร ดวงศรี, ญาณิฐา แพงประโคน, ชัยกฤต ยกพลชนชัย, คมสันต์ ธงชัย, รัชนี จูมจี. การชี้บ่งอันตรายและการจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในงานทำเทียนพรรษา สำหรับชุมชนทำ เทียนพรรษาในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564;15(38):443–55.
อาลี แซ่เจียว, พยุงศรี อุทัยรัตน์. การพัฒนาการดูแลแบบผสมผสานด้วยศาสตร์มณีเวชในหญิงครรภ์แรก โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2560;31(2):325-37.
อารีรัตน์ นวลแย้ม และนวรัตน์ ไวชมภู. การพัฒนารูปแบบการบริหารร่างกายด้วยศาสตร์มณีเวชสำหรับผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง โรงพยาบาลหาดใหญ่. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563;3(3):39-51.
นิตยา สุวรรณชาติ. การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังสุขภาพในโรงพยาบาล. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน 2563;5(2):121–7.