การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น

Main Article Content

สุพัตรา ฉาไธสง
เมธา พันธ์รัมย์
จิราภรณ์ ชวนรัมย์
ปภาดา บุญไชยะ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น ถือเป็นช่วงวิกฤตต้องได้รับการดูแลอย่างทันทีทันใด จากพยาบาลที่มีความสามารถประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นและให้การพยาบาลได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน มีคุณภาพ และปลอดภัย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาพปัญหา พัฒนารูปแบบ และผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง: วิสัญญีพยาบาล 30 คน และผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก 30 คน ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน 2) ปฏิบัติตามแผน 3) การสังเกต 4) สะท้อนผล เครื่องมือ: แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามปัญหาการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึก, แบบสอบถามการปฏิบัติงาน และแบบสอบถามความคิดเห็นก่อนและหลังการได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยระยะหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Ranks Test
ผลการศึกษา: สภาพปัญหา: พื้นที่ห้องพักฟื้นคับแคบ มีผู้ป่วยจำนวนมาก อัตรากำลังมีจำกัด แบบบันทึกสัญญาณชีพมีช่องจำกัด มีความล่าช้า ส่งต่อข้อมูลไม่ครบถ้วน ส่งผู้ป่วยกลับไม่ได้ตามเวลา รูปแบบในการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นที่พัฒนาขึ้นครอบคลุมตามมาตรฐานวิชาชีพ ถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน และระดับการปฏิบัติและความคิดเห็นของวิสัญญีพยาบาลหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุป: รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นให้ได้มาตรฐาน สะดวก รวดเร็วขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อน

Article Details

How to Cite
ฉาไธสง ส. ., พันธ์รัมย์ เ. ., ชวนรัมย์ จ. . ., & บุญไชยะ ป. . . (2024). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น . วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 39(3), 765–777. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/272712
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Committee on Standards and Practice Parameters American Society of Anesthesiologists. Standards for Postanesthesia Care. [Internet]. [Cited 2023 Aug 16]. Available from:URL: https://www.asahq.org/standards-and-practice-parameters/standards-for-postanesthesia-care.

Mert S. The Signifcance of Nursing Care in the Post anesthesia Care Unit and Barriers to Care. Intensive Care Res 2023 ;3:272–81. https://doi.org/10.1007/s44231-023-00052-5

Nilsson U, Gruen R, Myles PS. Postoperative recovery: the importance of the team. Anaesthesia 2020;75 (Suppl 1):e158-e164. doi: 10.1111/anae.14869.

อรลักษณ์ รอดอนันต์. การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. ใน : อักษร พูลนิติพร, มานี รักษาเกียรติศักดิ์, พรอรุณ เจริญราช, นรุตม์ เรือนอนุกูล, บรรณาธิการ. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2558. 399-409.

กัสมา นิยมพานิชพัฒนา. การดูแลต่อเนื่องอย่างปลอดภัยในห้องพักฟื้น. ใน : วิมลรัตน์ ศรีราช, อรลักษณ์ รอดอนันต์, นรุตม์ เรือนอนุกูล, ปัณณวิชญ์ เบญจวลีย์มาศ, บรรณาธิการ. ก้าวไกลวิสัญญี 4.0. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ธนาเพลส ; 2562 : 157-77.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลบุรีรัมย์. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุขรอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2567. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ; 2567. (เอกสารอัดสำเนา).

กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลบุรีรัมย์. สถิติการให้บริการการพยาบาลวิสัญญี ปี 2562-2566. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ; 2566. (เอกสารอัดสำเนา).

กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลบุรีรัมย์. รายงานอุบัติการณ์กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลบุรีรัมย์ พศ. 2564-2566. แบบบันทึกการรายงานอุบัติการณ์กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ; 2567. (เอกสารอัดสำเนา).

ชูศักดิ์ เอกเพชร. การวิจัยปฏิบัติการ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2566]. ค้นได้จาก:URL: https://graduate.sru.ac.th/wp-content/uploads/2018/11/Action-Research-1.pdf.

วรรณี องค์วิเศษไพบูลย์. การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2547;10(1):12-23.

เสาวภา ไพศาลพันธ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2560;37(2):49-58.

เกษร แหมไธสง, นพพร จันทรเสนา, อริณรดา ลาดลา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2567;1(2):132-48.