การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลในการพยาบาลหญิงตั้งครร,A Development of an Instructional Model Emphasizing Cultural Competency of Nursing Students for Antenatal care in Three Southern Border Provinces of Thailand

Main Article Content

ศิริพันธุ์ ศิริพัน
ศศินาภรณ์ ชูดำ

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การดำเนินการวิจัย มี 2 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยศึกษาจากเอกสารและจัดสนทนากลุ่มกับอาจารย์พยาบาล 6 คน พยาบาลวิชาชีพ 6 คน และ หญิงตั้งครรภ์ 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และนำมาร่างรูปแบบ 2) ขั้นตอนการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน โดยประเมินสมรรถนะทางวัฒนธรรมกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 ภาคการศึกษาที่ 1 จำนวน 84 คน   สุ่มแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 42 คน ดำเนินการสอนกลุ่มทดลองโดยใช้ชุดการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ ส่วนกลุ่มควบคุมสอนปกติตามหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ แบบประเมินสมรรถนะทางวัฒนธรรมและแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้หาค่าความเที่ยงของแบบประเมิน ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.71, 0.76 และ0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า

             1) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ แนวคิดและหลักการพื้นฐานที่เน้นความแตกต่างทางวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง สาระการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอนที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์และใช้วิธีการสอน ให้เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น เรียนรู้ประสบการณ์ตรงบนความแตกต่างทางวัฒนธรรม และประยุกต์ใช้ความรู้ในการวางแผนการพยาบาลผู้รับบริการให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม

          2) ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมโดยรวม พบว่า กลุ่มทดลอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยของสมรรถนะทางวัฒนธรรมโดยรวม แตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกรายด้านพบว่าด้านความรู้และด้านตระหนักรู้มีค่าคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

         3) ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน ทั้งรายด้านและโดยรวมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

          จากผลการวิจัย รูปแบบการเรียนการสอนนี้ควรได้รับการเผยแพร่และนำไปใช้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ต่อไป

   

A Development of an Instructional Model Emphasizing Cultural Competency of Nursing Students  for Antenatal care in Three Southern Border Provinces of Thailand

                                                     Abstract.

         This study aimed to (1) develop the instructional model, and (2) evaluate the effectiveness of the learning and teaching model for the cultural competency of nursing students.   The research process was conducted in two stages as follows : The first stage was  development of a culture – based teaching model of nursing students through a literature review and participating group discussion by interviewing 6 nursing teachers, 6 nurses, and 6 pregnant  women which were selected and used to draft out the  instructional model. The second stage was conducted to evaluate the effectiveness of the learning and teaching model. The samples were randomly stratified. The samples of the study were 84 third-year students from the Faculty of Nursing, Princess of Naradhiwas University. The samples were categorized by students’ GPAs and different religions were considered. 42 of the samples were randomly assigned into each of the experimental and the control group. Both groups learned both theory and practice in the topic of antenatal care. The employed research instruments comprised an instructional package enhancing cultural competency on the topic of antenatal care and a self-assessment on cultural competency. Data were collected by using an evaluation form which was validated by using the Kuder Richardson (KR- 20) for Cultural Knowledge form (0.71). The coefficient alpha was used for validating the cultural awareness and cultural skill form (0.76) and the satisfaction of students for learning styles (0.93). Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and T-test.

Research findings showed that

 1) the development of the learning and teaching method was composed of main components as follows: the concepts and basic principles emphasizing on cultural diversity; objectives and expected outcomes; learning and teaching contents ; instructional processes with immersion of cultural contents in antenatal care and using the teaching method to encourage the learner to understand oneself, understand others and acquire direct experience on cultural diversity, and to apply the obtained knowledge in taking care of the client’s health in accordance with his/her own culture.

 2) the effectiveness of the learning and teaching model for the cultural competency of the nursing student found that  cultural efficiency in the average of experimental group was significantly dissimilar from control group at the 0.05 level. The domain of cultural knowledge and cultural awareness group was significantly different at the 0.05 level.

3) The satisfaction of students in terms of their advantages of teaching and learning methods found that the experimental group was statistically significantly higher than the control group at the 0.05 level.

         It can be promoted and used to emphasize cultural competency of nursing students for antenatal care.

 

*Assistant Professor, Faculty of Nursing Princess of Naradhiwas University

**Instructor, Faculty of Nursing Princess of Naradhiwas University

Article Details

How to Cite
1.
ศิริพัน ศ, ชูดำ ศ. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลในการพยาบาลหญิงตั้งครร,A Development of an Instructional Model Emphasizing Cultural Competency of Nursing Students for Antenatal care in Three Southern Border Provinces of Thailand. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Jul. 10 [cited 2024 Mar. 29];25(1):54-69. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/36219
Section
บทความวิจัย