การศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้น ปริมาณฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสมุนไพรเพื่อพัฒนาเป็นเซรั่มสมุนไพรบํารุงมือ

Main Article Content

สุกัญญา มูณี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้น ปริมาณฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของขมิ้นชัน มังคุดหญ้ารีแพร์และมะขามป้อม จากการศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้นของสารสกัดหยาบสมุนไพร พบสารกลุ่มฟลาโนอยด์และอัลคาลอยด์นอกจากนี้ศึกษาปริมาณฟีนอลิกรวมโดยใช้วิธี Folin-Ciocalteu ด้วยสารละลายมาตรฐานกรดแกลลิก พบว่าสารสกัดจากเหง้าขมิ้น เปลือกมังคุด ผลมะขามป้อม และหญ้ารีแพร์ มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด เท่ากับ 481.12 ± 1.00, 399.45 ± 1.15, 355.06 ± 2.30, 41.67.00 มิลลิกรัมสมบูรณ์ของกรดแกลลิกต่อน้ําหนักสารสกัดหยาบ 1 กรัม ตามลําดับและศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีDPPHพบว่าสารสกัดจากมะขามป้อมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.62 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร รองลงมา คือ มังคุด ขมิ้นชัน และหญ้ารีแพร์ ซึ่งมีค่า IC50เท่ากับ 8.41, 22.21 และ97.16 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลําดับ จึงนําไปพัฒนาเป็นส่วนผสมของเซรั่มบํารุงมือ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ