การพัฒนาระบบการบริหารการรับ และการส่งต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร *

Main Article Content

วรรณา กรีทอง
กรรณิการ์ สุวรรณโคต
เพ็ญจันท์ ส.โมไนยพงศ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครและเปรียบเทียบความ


พึงพอใจต่อระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นก่อนและหลังการนำระบบการบริหารการรับและส่งต่อผู้ป่วยไปใช้ของพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 คน เลือกแบบเจาะจงเป็นพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่มีประสบการณ์ในการทำงานรับและส่งต่อผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ปี  เครื่องมือการวิจัยได้แก่ ระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วยที่ผ่านการพิจารณาความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน หาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 0.921 และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ เท่ากับ 0.970 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และpairedt-test


ผลการวิจัย: พบว่าความพึงพอใจต่อระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ ก่อนการใช้ระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วยอยู่ในระดับปานกลาง                         (gif.latex?\bar{x}  = 2.959, SD = 0.548) หลังการใช้ระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วยพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีความพึงพอใจต่อระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.022, SD = 0.481)ซึ่งมากกว่าก่อนการใช้ระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = -7.694)


สรุปผลการวิจัยผู้วิจัยเสนอแนะให้ผู้บริหารควรนำระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วยไปใช้ในการปฏิบัติงานการรับและส่งต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องและควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วยกลุ่มโรคสำคัญที่มีความเสี่ยงสูง


คำสำคัญ: ระบบการบริหารการรับและการส่งต่อผู้ป่วย ความพึงพอใจแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

Article Details

บท
Original Article

References

1. นาถะ ดวงวิชัย. เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 และพุทธศักราช 2550 กับ
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปฏิรูป (ปี58). กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานประธานรัฐสภา อาสา
รักษาดินแดน กรมการปกครอง; 2557.
2. ราชกิจจานุเบกษา. รัฐธรรมมนูญ 2550 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 47; สิงหาคม 2550.
3. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.สารประชากร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.
4. ฝ่ายแผนงาน กองวิชาการสำนักการแพทย์. สถิติปีงบประมาณ 2555. กรุงเทพมหานคร: สำนักการแพทย์; 2555.
5. คณะทำงานจัดทำคู่มือสำนักการแพทย์. คู่มือการปฏิบัติงานระบบการส่งต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาลในสังกัด
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร: สำนักการแพทย์; 2555.
6. อดิเรก เร่งมานะวงษ์. การขาดความเชื่อมันในคุณภาพบริการของสถานพยาบาลการพัฒนาระบบส่งต่อ
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิชย์; 2555.
7. จิรพงศ์ อุทัยศิลป์. โครงการวิจัยและพัฒนาระบบส่งต่อในเขตพื้นที่ชายแดน จังหวัดตาก. นนทบุรี: สถาบันวิจัย
ระบบสาธารณสุข; 2547.
8. Sparbel K.J.H, Anderson M.A. A Continuity of Care Integrated Literature Review, Part2. Methodological
Issues. 2000; 32(2): 134-5.
9. วันเพ็ญ พิชิตพรชัย, อุษาวดี อัศตรวิเศษ. การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน. การดูแลที่มีคุณภาพได้มาตรฐานต่อเนื่องครบวงจร.
กรุงเทพมหานคร: นิยมวิทยา; 2546.
10.ชาญวิทย์ ทระเทพ, กรองกาญจน์ บุญใจใหญ่, สุชาดา นฤคนธ์, ยุพา คงกลิ่นสุคนธ์, นริศา มัณทางกูร.
สถานการณ์การจัดบริการสาธารณสุข โครงสร้างรูปแบบและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดบริการ
สาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ไซเบอร์ร็อก; 2549.
11.สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. การประชุมวิชาการ เวชศาสตร์ฉุกเฉินครั้งที่ 6: ทำอย่างไรให้
แผนกฉุกเฉินดีขึ้น. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย; 2550.
12. Donabedian A. The definition of quality and approaches to its assessment. Michigan: Health
Administration Press; 1980.
13. มณีรัตน์ สุวรรณวารี. ทฤษฎีและแนวความคิดทางการบริหาร 2553. เข้าถึงได้จาก: https//www.gotoknow.
org/post/458803.
14. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน. การปฏิบัติการส่งต่อผู้ผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล Interfacility Patient
Transfer. นนทบุรี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง; 2557.