ผลการใช้นิทานเป็นสื่อการสอนเพื่อพัฒนาความรู้และเจตคติต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนในระดับประถมศึกษา

Main Article Content

นุชรี เอกศิลป์
ดร.พุทธวรรณ ชูเชิด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของการใช้นิทานเป็นสื่อการสอนต่อการพัฒนาความรู้และเจตคติของนักเรียนในระดับประถมศึกษาในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้นิทานเป็นสื่อการสอน


วิธีดำเนินการวิจัย:การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ประจำปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ) เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร จำนวน 59 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญหรือความสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) วีดิทัศน์สื่อการสอนนิทานเรื่อง “ปฏิบัติ 5 ป. ห่างไกลโรคไข้เลือดออก”2) แบบสอบถามความรู้และเจตคติต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออก และ3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้นิทานเป็นสื่อการสอนสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย:พบว่า 1) ความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนในระดับประถมศึกษาทุกชั้นปีเพิ่มขึ้นหลังจากดูนิทาน2) นักเรียนในระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 มีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะในเรื่องหลักปฏิบัติ 5 ป. เพิ่มขึ้นหลังจากดูนิทาน3) เจตคติในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนในระดับประถมศึกษาทุกชั้นปีเพิ่มขึ้นหลังจากดูนิทาน4) ค่าเฉลี่ยคะแนนความ


พึงพอใจของนักเรียนระดับประถมศึกษาทุกชั้นปีต่อการใช้นิทานเป็นสื่อการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด(4.61+0.55)


สรุป:นิทานเป็นสื่อการสอนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา


คำสำคัญ: สื่อการสอน นิทานโรคไข้เลือดออก การป้องกันโรค

Article Details

บท
Original Article

References

1. สำนักระบาดวิทยา. ระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ
วันที่ 1 มกราคม 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/index.php.
2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นวัตกรรมทางการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556. หน้า 6-7.
3. ศรเพชร มหามาตย์, จิระพัฒน์ เกตุแก้ว.การพยากรณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2558. 2558[เข้าถึงเมื่อวันที่
5 พฤษภาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ato.moph.go.th/sites/default/files/info/Dengue_
forecasting%202558%20full.pdf.
4. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เอกสาร
เผยแพร่ แผ่นพับ 5 ป. ป้องกันไข้เลือดออก. 2556[เข้าถึงเมื่อวันที่10ตุลาคม 2557]. เข้าถึงได้จาก:
http://db.kmddc.go.th/detail.aspx?id=863.
5. ธนัชชา นทีมหาคุณและจินตนา สรายุทธพิทักษ์. ผลของโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนที่มีต่อการป้องกัน
โรคไข้เลือดออกของนักเรียนประถมศึกษา. An Online Journal of Education 2014; 9(1): 208-220.
6. World Health Organization. Comprehensive Guidelines for Prevention and Control of Dengue and
Dengue Haemorrhagic Fever. Revised and expanded edition. India: World Health Organization,
Regional Office for South-East Asia; 2011. p.127-138.
7. กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว; 2551.
8. กิตติ ปรมัตถผลและคณะ. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน.
2553[เข้าถึงเมื่อวันที่1 ตุลาคม 2557]. เข้าถึงได้จาก:http://thailand.digitaljournals.org/index.php/JVBD/
article/download/212/1189.
9. ศิริกุล อิศรานุรักษ์. พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมของเด็กวัย 6-12 ปี. วารสารสาธารณสุขและการ
พัฒนา 2549; 4: 89-100.
10. วิเชียร เกษประทุม. นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา; 2550. หน้า 9-10.
11.อิสระ ชอนบุรี, เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชยและสายฝน วิบูลรังสรรค์. การพัฒนาชุดกิจกรรมนิทาน
ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
นเรศวร2553; 12: 97-112.
12.นิศา ชูโต. การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แม็ทส์ปอยท์ จำกัด; 2545. หน้า 185.
13.สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. หลักและทฤษฎีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ระเบียงทอง;
2555. หน้า 412.
14.สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น Needs Assessment Research. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550. หน้า 347.
15.ลัดดา เหมทานนท์. วิทยานุกรมวรรณกรรมสำหรับเด็ก. สงขลา: สถาบันราชภัฏสงขลา; 2535. หน้า
110-3.
16.ชลัช กลิ่นอุบล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6
ในจังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาประชากรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย,
นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542.
17.Weisenbacher HJ. Improving Dengue fever knowledge, attitude, and practices in primary school
children in Florida through animation. Available at: http://gradworks.umi.com/36/85/3685619.html.
Retrieved April 5, 2015.
18.Sandeep KR, Divya S. & Suma J. An educational intervention programme on Dengue and its
prevention among rural high school children Karnataka. India: NUJHS March 2014; 4(1): 109-112.
19.สุทิน เจียมประโคน. การพัฒนาคุณค่าในตนเองตามกระบวนการจิตตปัญญาของนักศึกษาของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์; 2556. หน้า 15.
20.พัชราภรณ์ หมื่นจงและรองรัตน์ อองกุลนะ. พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5-6โรงเรียนบ้านนาสร้างและโรงเรียนวัดวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม.
[วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต]. สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นครปฐม:
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2550.
21.ลออ แสงเจริญ. การพัฒนาทักษะการเรียนเรื่องโรคไข้เลือดออก โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book).
2550[เข้าถึงเมื่อวันที่12 ตุลาคม 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.vcharkarn.com/journal/279.
22.Sokrin K, Lenore M. Community and School-Based Health Education for Dengue Control in Rural
Cambodia: A Process Evaluation. 2007 [cited 2015 April 5]. Available from: PLoS Negl Trop Dis. 1,
3(2007): e143.
23.มาริสา กาสุวรรณ์, มณฑา จาฏุพจน์. ประสิทธิผลของกิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษต่อการเรียนรู้และ
ความคงทนของคําศัพท์และทักษะการพูด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์2556; 5: 18-31.
24.โคทม อารียา. แนวคิดการสื่อสารสุขภาพ. ใน: ปาจรีย์ ธนะสมบูรณ์กิจ,บรรณาธิการ.สื่อสารด้วยใจได้
สุขภาพดี. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2552. หน้า 62-70.