ผลของโปรแกรมการการพัฒนาทักษะการนิเทศแบบเคลียร์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นิรพันธ์ กิติสุภรณ์พันธ์
ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน
กรรณิการ์ สุวรรณโคต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะการนิเทศแบบเคลียร์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง  กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยหรือรักษาการหัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหัวหน้าหน่วยงานของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์  จำนวน 30 คน เลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง(purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการพัฒนาทักษะการนิเทศแบบเคลียร์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินทักษะการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วย  ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา  0.98 และมีค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่าของคอนบาค  0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัย: ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาทักษะการนิเทศแบบเคลียร์ หัวหน้าหอผู้ป่วยมีทักษะการนิเทศแบบเคลียร์ระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 2.74 , S.D.= 0.568) หลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาทักษะการนิเทศแบบเคลียร์ หัวหน้าหอผู้ป่วยมีทักษะการนิเทศแบบเคลียร์ระดับมาก(gif.latex?\bar{x}  = 3.23, S.D.= 0.497) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาทักษะการนิเทศแบบเคลียร์ หัวหน้าหอผู้ป่วยมีทักษะการนิเทศแบบเคลียร์สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=4.93, p< .05)


สรุปผลการวิจัย: โปรแกรมการพัฒนาทักษะการนิเทศแบบเคลียร์สามารถพัฒนาทักษะการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วยได้  การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า  ผู้บริหารการพยาบาลควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำโปรแกรมการนิเทศแบบเคลียร์ไปใช้ในการพัฒนาทักษะการนิเทศทางการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะด้านการปฏิบัติการนิเทศที่เน้นเรื่องการให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อให้ผู้รับการนิเทศแก้ปัญหาด้วยตนเอง


คำสำคัญ: โปรแกรมการพัฒนาทักษะการนิเทศแบบเคลียร์  การนิเทศแบบเคลียร์ หัวหน้าหอผู้ป่วย


 

Article Details

บท
Original Article

References

1. จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฏีและกระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 8. นนทบุรี:
ธนาเพรส; 2556.

2. รัชนี อยู่ศิริ, กมลรัตน์ เอิบสิริสุข, จุรีย์ นฤมิตเลิศ, พรทิพย์ ชีวะพัฒน์. การบริหารการพยาบาล.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย; 2551.

3. กฤษดา แสวงดี, ณิชากร ศิริกนกวิไล. สถานการณ์ด้านกำลังคนด้านสุขภาพของสำนักปลัด
กระทรวงและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพ แนวทางการ
พัฒนาคนเพื่อพัฒนางานการพยาบาล. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2554.

4. Hawkin, P., Shohet, R. Supervision in the helping professions. 3rded. Glasgow: Bell &Bain; 2006.

5. สุพิศ กิตติรัชดา, วารี วณิชปัญจพล. การบริหารการพยาบาลสู่คุณภาพการนิเทศการพยาบาล.
Nursing supervision. กรุงเทพฯ: สยามเจริญพาณิชย์; 2551

6. สภาการพยาบาล. คู่มือการเยี่ยมสำรวจเพื่อรับรองคุณภาพบริการพยาบาลและผดุงครรภ์ระดับทุติ-ตติย
ภูมิ. นนทบุรี: สภาการพยาบาล; 2555.

7. หรรษา เทียนทอง. การนิเทศทางการพยาบาล. 2556 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2559] เข้าถึง
ได้จาก http://www.Med.cmu.sc.th/hospital/nis.

8. นิตยา ศรีญาณลักษณ์. การบริหารการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2557.

9. รัชตวรรณ ศรีตระกูล . กลยุทธ์การนิเทศทางการพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น แนวคิด หลักการ และ
ทฤษฎีการนิเทศทางการพยาบาล. 2556 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2559] เข้าถึงได้จาก
www.nurse.kku.ac.th/index.php/download/.../20-10-17-58?...6..

10. Page, S., Wosket, V. Supervising the counsellor. A cyclical model. London: Routledege; 2001.

11. ญาณนี รัตนไพศาลกิจ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล โรงพยาบาลเชียงคำจังหวัด
เชียงราย [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล]. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2553.

12. อุษา วีรเดชกำพล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการนิเทศงานของของหัวหน้างานพยาบาลในโรงพยาบาล
กำแพงแสนจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ
พยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช; 2556.

13. สิริกาญจน์ โชคสิทธิเกียรติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการจัดการฝึกอบรมและ
สมรรถนะของพนักงานบริษัทในเขตสวนอุตสาหกรรมโรจนะ อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
[วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ]. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
พระนครศรีอยุธยา; 2553.

14. รัชนีกร ศิริรักษ์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.