สมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้เทคนิคเดลฟาย(Delphi technique) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร เพื่อนำสาระมากำหนดแนวคิดสมรรถนะ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทางการพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาทางการพยาบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 20 คน ระบุระดับความจำเป็นของสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ขั้นตอนที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญยืนยันระดับความจำเป็นของสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น คัดเลือกสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาจากค่ามัธยฐาน ตั้งแต่ระดับมากขึ้นไปและเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันของผู้เชี่ยวชาญ (Md > 3.50, IR < 1.50)
ผลการวิจัย: พบว่า สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำแนกได้ 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการบริหารทางการพยาบาล 2) ด้านเทคนิคเชิงวิชาชีพ 3) ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 4) ด้านวิชาการและการวิจัยทางการพยาบาล และ5) ด้านการปฏิบัติงานตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร
สรุป: ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ควรนำผลการวิจัยมาใช้เป็นกรอบในการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ: การบริหารทางการพยาบาล สมรรถนะ ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น กรุงเทพมหานคร
Article Details
References
2. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, บรรณาธิการ. การพัฒนาที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน. การประชุมวิชาการประจำปี การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ครั้งที่ 11 วันที่ 9-12 มีนาคม 2553; ศูนย์ประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี; ปทุมธานี: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2553.
3. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
4. น้ำฝน โดมกลาง และสุชาดา รัชชุกุล. บทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์ที่พึงประสงค์ในศตวรรษหน้า (พ.ศ. 2551-2560). วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551; 20(3): 16-28.
5. อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม. การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะพยาบาลศาสตร์; 2553.
6. Spencer, L. M., & Spencer, S. M. Competence at work: Models for superior performance. New York: Wiley; 1993.
7. Nishiyama, M., Wold, J. L., & Partskhladze, N. Building competencies for nurse administrators in the Republic of Georgia. International Nursing Review 2008; 55(2): 179-86.
8.Chase, L. K. Nurse manager competencies. Dissertation Abstracts International 2010; 73(5), 169-B. (UMI No. 3494013)
9.Hsu, H-Y., Lee, L-L.,Fu, C-Y., & Tang, C-C. Evaluation of a leadership orientation program in Taiwan:
Perceptorship and leader competencies of the new nurse manager. Nurse Education Today. 2011; 31: 809-14.
10. Rosenfeld. P. S., Rosati, R. J., & Marren, J. M. Developing a Competency Tool for Home
Health Care Nurse Manager 2012; 24(10):5-12.
11. Office for Health Management. Front-Line Competencies for Nurse and Midwife.
Available at http://www.officeforhealthmanagement.ie Retrived March2. 2013.
12. Swart, J., Mann, C., Brown, S., & Price, A. Human Resource Development
strategy and tactics. England: Elsevier;2008.
13. สุวดี สุขีนิตย์. การรับรู้อุปสรรคและสิ่งเอื้ออำนวยต่อการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรในโรงพยาบาลกลาง. การสัมมนาวิชาการประจำปี ครั้งที่ 10 วันที่ 30 สิงหาคม 2555;โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค, กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์; 2555.
14. Huston, C. Preparing nurse leaders for 2020. The Journal of Nursing Management, 2008; 16(8): 905-11.
15. สภาการพยาบาล. สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. กรุงเทพมหานคร: ศิริยอดการพิมพ์; 2553.