ผลของโปรแกรมการส่งเวรด้วยการจัดการแบบลีนของพยาบาลวิชาชีพ ในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นิตยา ศักดิ์สุภา
กรรณิการ์ สุวรรณโคต
สุคนธ์ ไข่แก้ว

บทคัดย่อ

บทนำ: การส่งเวรเป็นกิจกรรมของหลายหน่วยงาน แต่ยังพบปัญหา เช่น ใช้ระยะเวลานาน แนวทางการส่งเวรไม่ชัดเจน มีสิ่งรบกวนระหว่างการส่งเวร ส่งผลให้การเริ่มปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้ป่วยในแต่ละผลัดล่าช้า การศึกษาครั้งนี้ จึงนำแนวคิดแบบลีนมาปรับรูปแบบการส่งเวร


วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเวรด้วยการจัดการแบบลีน ของพยาบาลวิชาชีพในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง  กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาลวิชาชีพในหออภิบาลผู้ป่วยหนักกุมารโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จำนวน 14 คน เลือกแบบเจาะจง  ระยะเวลาในการศึกษา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 1-15 เมษายน พ.ศ. 2558 โดยศึกษาก่อนใช้โปรแกรม 1 สัปดาห์และหลังใช้โปรแกรม 1 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่โปรแกรมการส่งเวรด้วยการจัดการแบบลีนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้แนวคิดลีนของวอแม็กและโจนส์ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการทำงาน5ขั้นตอนคือ 1) การระบุคุณค่า  2) การสร้างสายธารแห่งคุณค่า   3) การไหล  4) การดึงและ 5) การสร้างความสมบูรณ์แบบ  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ นาฬิกาจับเวลา และแบบบันทึกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ หาค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบบันทึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนได้ค่าเท่ากับ 0.92   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปโดยข้อมูลทั่วไปใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   เปรียบเทียบระยะเวลาในการส่งเวรก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการส่งเวรด้วยการจัดการแบบลีนของพยาบาลวิชาชีพวิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test


ผลการวิจัย: พบว่าเวลาที่ใช้โดยเฉลี่ยพยาบาลวิชาชีพ 14 คน ใช้เวลาคนละ 5.16 นาที (SD =1.94) หลังใช้โปรแกรมโดยเฉลี่ยพยาบาลวิชาชีพ 14 คน ใช้เวลาคนละ 4.70 นาที (SD =1.49 ) ก่อนการใช้โปรแกรมการส่งเวรด้วยการจัดการแบบลีนมีเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เกิดขึ้น 4 เหตุการณ์แต่ภายหลังการใช้โปรแกรมการส่งเวรด้วยการจัดการแบบลีน ไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น


สรุปผลการวิจัย: พบว่าระยะเวลาก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการส่งเวรด้วยการจัดการแบบลีนของพยาบาลวิชาชีพในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ไม่แตกต่างกัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


คำสำคัญ: การส่งเวร / การจัดการแบบลีน

Article Details

บท
Original Article

References

1. Athwal, P., Field, W., & Wagnell, E. Standardization of change of shift report [Electronic Version]. Journal of Nursing Care Quality, 24(2); 2009. 143-7.

2. พิมประพรรณ สถาพรพัฒน์. การพัฒนารูปแบบการรับ-ส่งเวรทางการพยาบาล ในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตศัลยกรรมทั่วไป 2 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. รายงานอิสระพยาบาลศาสตรมหาบันฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2553.

3. Silvia, C.G. Nursing handovers at the bedside: How frequent and what are the sources of interruptions?. Retrieved April 12,2015, from http://www.esicm.org/news-article/article-Review-NAHP-handover-ICU-interruptions-Mar-2015-Gunther#sthash.Kdevndpp.dpuf.

4. Haig, K. M., Sulton, S., & Whittington, J. SBAR: A share mental model for improve communication between clinician: National Patient Safety Goals. Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organization, 32(3); 2006. 167-175.

5. McFetridge, B., Gillespie, M., Goode, D., & Melby, V. An exploration of the hand over process of critically ill patients betwwen nursing staff from the emergency department and the intensive care unit. Journal Complication British Association of Critical Care Nurses, 12(6); 2007. 262-9.

6. สายทิพย์ ไชยรา. การพัฒนารูปแบบรายงานการส่งเวรด้วยกระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสกลนคร. รายงานการศึกษาอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาลสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554.

7. Bernadette, S., & Patricia, O. Can technology improve intershift report? What the research reveals [Electronic Version]. Journal of Professional Nursing, 22(3); 2006. 197-204.

8. สถิติข้อมูลคุณภาพของหออภิบาลผู้ป่วยหนักกุมาร. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร; 2557.

9. เกียรติขจร โฆมานะสิน. Lean: วิถีการสร้างคุณค่าสู่องค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2550.

10. Womack, J.P., & Jones, D.T. Lean thinking: Banish waste and create wealth in your corporation. New York: Simon & Schuster; 2003.

11. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. LEAN & seamless healthcare. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2552.

12. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. เส้นทางสู่การพยาบาลยอดเยี่ยม. กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิทการพิมพ์; 2549.

13. วิทยา สุหฤทดำรง. Lean concept and application to service sector. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ 10th HA national forum “lean and seamless healthcare” (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: หนังสือดีวัน; 2552.

14. เกตนิภา สนมวัฒนะวงศ์. การพัฒนารูปแบบการจัดการการรับใหม่ผู้ป่วยอายุรกรรม งานผู้ป่วยใน 2 โรงพยาบาลท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์. รายงานอิสระพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.