ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

สุรศักดิ์ อิ่มเอี่ยม
พัชรา สิริวัฒนเกตุ
วิระญา กิจรัตน์

บทคัดย่อ

บทนำ: ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกสองแบบของมนุษย์ คือ ความรู้สึกทางบวกและความรู้สึกทางลบ ซึ่งความรู้สึกทางบวกเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นแล้วจะทำให้เกิดความสุข ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน


 


วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ และเพื่อสร้างสมการถดถอยพหุคูณทำนาย
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี


 


วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ ใช้เป็นการสำรวจรูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพระปกเกล้า จำนวน  129 คน วิเคราะห์ผลโดยค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


 


ผลการศึกษา: ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการถดถอยพหุคูณทำนายปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรของโรงพยาบาลพระปกเกล้า ด้วยตัวแปรทั้ง 5 ตัว พบว่า ตัวแปรด้านความปลอดภัยและมั่นคง (SN) และด้านความต้องการการยกย่อง เคารพนับถือ (EN) สามารถร่วมกันทำนายความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรของโรงพยาบาลพระปกเกล้า ได้ร้อยละ 66.20 โดยตัวแปรด้านความปลอดภัยและมั่นคง (SN) สามารถทำนายได้มากที่สุดเท่ากับ 2.058 รองลงมาได้แก่ ตัวแปรด้านด้านความต้องการการยกย่อง เคารพนับถือ (EN) สามารถทำนายได้เท่ากับ 1.889 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 


สรุป : จากการศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารของโรงพยาบาลในระดับต่างๆของสถานบริการทางสาธารณสุขควรให้ความสำคัญในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรใน โรงพยาบาลในด้านต่างๆทุกมิติและควรศึกษาปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเพิ่มเติม


 


คำสำคัญ : ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน, ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน


 

Article Details

บท
Original Article

References

1. Sullivan-Havens, D., Aiken, L.H. (1999). Shaping systems to promote desired outcomes: The magnet hospital. Journal of Nursing Administration, 29(2), 14–19.

2. Upenieks, V. (2003a). The interrelationship of organizational characteristics of magnet hospitals, nursing leadership, and nursing job satisfaction. Health Care Manager, 22(2), 83-98.

3. Aiken LH, Havens DS, & Sloane DM. (2000). The Magnet Nursing Services Recognition Program: A Comparison of Two Groups of Magnet Hospitals. American Journal of Nursing: 100(3), 26-36.

4. กระทรวงสาธารณสุข. (2556). สถิติสาธารณสุขปี 2556 วันที่ค้นข้อมูล 14 กุมภาพันธ์ 2558 เข้าถึงได้จากhttp://www.bps.moph .go.th/content/ สถิติสาธารณสุข-ปี-2556
กิติวัฒน์ บัวลอย. (2540). ความพึงพอใจในงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุสาหกรรมพลาสติก.

5. Maslow, A. H. (1954). Motivation and personality. New York: Harper. - See more at:http://personalityspirituality.net/articles/the-hierarchy-of-human-needs-maslows-model-of motivation/#sthash.l5V4KuOT.dp uf

6. ศุลีพร จิตต์เที่ยง. (2553). ความพึงพอใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานน บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

7. Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2001). Using Multivariate Statistics. Boston: Allyn and Bacon.

8. Cohen, J (1988). Statisticcal PowerAnalysis for the behavioval Sciences 2 th edition. Lawrerce Erlbarm Associates Inc Publishes New Jersey USA.

9. อุทุมพร รุ่งเรือง. (2555). ความพึงพอใจในการทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทอุสาหกรรมแปรรูปโครงสร้างเหล็ก. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

10. วิไลวรรณ สุวรรณสิทธิ์. (2554). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

11. จริยา เพ็งมีศรี. (2542). ปัจจัยที่อิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในสถานีอนามัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

12. กิติวัฒน์ บัวลอย. (2540). ความพึงพอใจในงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุสาหกรรมพลาสติก. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรจน์.

13. วินัย โกยอดุลย์. (2537). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของหัวหน้ากาประถมศึกษาอำเภอ.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

14. อุไรรัตน์ ชนะบำรุง. (2539). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษา ในสำนักงานศึกษาธิการอำเภอ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

15. ศศิธร อารีรักษ์. (2549). ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้าจุนที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

16. วุฒิรัตน์ อุ่นจิตติ. (2551). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ไปรษณีย์ จำกัด ที่ทำการเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

17. สมชัย นิพัทธ์เจริญวงศ์. (2551). อิทธิพลของความพึงพอใจในงานต่อความผูกพันต่อองค์การ: ศึกษาเฉพาะกรณี กองพลาธิการและสรรพาวุธ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. สารนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก

18. สมภพ แสงจันทร์. (2555). ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน ที่สัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2 (2)

19. สุทัศน์ ตุรงค์เรือง. (2540). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนสามัญ ในสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเขตการศึกษา 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.