ผลของโปรแกรมการจัดการอาการปวด โดยใช้สุวคนธบำบัดร่วมกับดนตรีบำบัด ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกขา

Main Article Content

กนกวรรณ ใจภักดี
ดร.กนกพร นทีธนสมบัติ
พรศิริ พันธสี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการปวด โดยใช้สุวคนธบำบัดร่วมกับดนตรีบำบัด เพื่อลดความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกขา


 


วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกขา เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 40 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติและโปรแกรมการจัดการอาการปวดโดยใช้สุวคนธบำบัดร่วมกับดนตรีบำบัด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ


 


ผลการศึกษา: พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรงกระดูกขา หลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการปวดด้วยสุวคนธบำบัดร่วมกับดนตรีบำบัด น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกขา ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการปวดโดยใช้สุวคนธบำบัดร่วมกับดนตรีบำบัด กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติไม่แตกต่างกันทางสถิติ สำหรับค่าเฉลี่ยอัตราเต้นชีพจรและความดันโลหิต ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการอาการปวดด้วยสุวคนธบำบัดและดนตรีบำบัด ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนค่าเฉลี่ยอัตราเต้นชีพจรและความดันโลหิตในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรงกระดูกขา ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการปวดโดยใช้สุวคนธบำบัดร่วมกับดนตรีบำบัด กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ไม่แตกต่างทางสถิติ (p < 0.05)


 


สรุป: การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอผลการวิจัยเป็นภาพรวมของผู้ป่วยผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกขา ซึ่งไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความปวดอาทิ เช่น ปัจจัยด้านสรีระ ปัจจัยด้านจิตใจ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้ทั้งหมด ซึ่งอาจจะเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการวิจัย อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าการพยาบาลตามปกติ ซึ่งเป็นการให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานของโรงพยาบาลนั้น การนำเอาโปรแกรมการจัดการอาการปวด โดยใช้สุวคนธบำบัดร่วมกับดนตรีบำบัดมาใช้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย จะเห็นได้จากผู้ป่วยมีแนวโน้มคะแนนเฉลี่ยความปวดลดลง การใช้ยาแก้ปวดน้อยลง รวมไปถึงผู้ป่วยสามารถจัดการกับความปวดด้วยตนเองได้ดีมากขึ้น


คำสำคัญ: อาการปวด ผู้ป่วยหลังผ่าตัด การผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกขา สุวคนธบำบัด ดนตรีบำบัด โปรแกรมการจัดการความปวดโดยใช้สุวคนธบำบัดร่วมกับดนตรีบำบัด

Article Details

บท
Original Article

References

1. World Health Organization. สถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนในภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก.
2013; 1- 8.

2. Braganza RJ. Pain of trauma in warfield CA, Fausett HJ, editors. Manual of
Pain Management. Philadelphia: Lippincott Williams&Wilking; 2002. p.231- 4.

3. Sivak M, Schoettle B. Mortrality From Road Crashes in 193 Countries: A Comparison with Other
Leading Causes of Death. Transportation Research Institute, Michigan: University of Michigan; 2014.

4. Kataria H, Sharma N, Kanojia RK. Small wire external fixation for high-energy tibial plateau fractures.
J Orthop Surg 2007; 15(2): 137-43.

5. ธีรชัย อภิวรรธกุล. Orthopedic Trauma. พิมพ์ครั้งที่ 5. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์; 2555. หน้า 1-146.

6. Hoffmann MF, Jones CB, Sietsema DL, Tornetta P, Koenig S. Clinical outcomes of locked plating of
distal femoral fractures retrospective cohort. J Orthop Surg Res 2013; 8(43): 1-9.

7. Craig KD. Emotions and psychobiology. in McMaho SB, Koltzenburg M, editors. Textbook of pain.
London: China; 2006: p. 231-239.

8. สมาคมศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด.
กรุงเทพฯ : บียอนด์เอ็นเตอร์ไพรซ์; 2554.

9. นิตยา ธีรวิโรจน์ และคณะ. การศึกษาสถานการณ์การประเมินความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด
ทางออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารพยาบาลภาคตระวันออกเฉียงเหนือ 2554; 29(4): 33-8.

10.พงศ์ภารดี เจาฑะเกษตริน. การบริหารความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด. ใน: เบญจมาศ ปรีชาคุณ,
บรรณาธิการ.การพยาบาลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2551. หน้า 94-116.

11.Boni F. Pain Management after Major Surgery. in Kopf A, Patel NB, editors. Guide to Pain
Management in Low- Res0ource Setting. International Association for the Study of Pain; 2009.
p.103-13.

12.เจือกุล อโนธารมณ์. บทบาทของพยาบาลในการป้องกันอาการปวดจากการผ่าตัด. วารสารการ
พยาบาลศาสตร์ 2550; 25(1): 14-23.

13. ปฏิภาณ ตุ่มทอง.การดูแลระบบทางเดินหายใจ. ใน: เบญจมาศ ปรีชาคุณ, บรรณาธิการ. การพยาบผู้ป่วย
ในห้องพักฟื้น. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2551. หน้า 19-24.

14. เบญจมาศ ตระกูลงามเด่น และสุรีพร ธนศิลป์. ผลของโปรแกรมการจัดการอาการที่เน้นการสวดมนต์ต่อ
อาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก 2555; 5(1):30-42.

15. เพ็ญประภา อิ่มเอิบและคณะ. ผลของดนตรีบรรเลงต่อระดับความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดศัลยกรรม
ทั่วไป. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556; 23(3):52-63.

16. Good M, Anderson GC, Ahn S, Cong X, Hicks MS. Relaxation and Music Reduce Pain Following
intestinal Surgery. Res Nurs Health 2005; 28: 240-51.

17. สุวพร เหลืองอร่ามกุล, ลดาวัลย์ นิชโรจน์, และประคอง อินทรสมบัติ. การทบทวนวรรณกรรม : ผลการ
นวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่อการจัดการความปวด. วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก 2009; 2(2): 9-18.

18. Adams K. The effects of music therapy and deep breathing on pain in patients recovering from
gynecologic surgery in the PACU.Electric (Theses). Music, Florida state University; 2005.

19. จิตชญา บุญนันท์ และปภาภิน ศิริผล. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย
กระดูกต้นขาหักภายหลังใส่โลหะดามกระดูก. วารสารชมรมพยาบาลออร์โธปิดิคส์ 2551; 13(2:): 57-65.

20. รักชนก ชูเขียน และคณะ. ผลของโยคะต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง.
วารสารสภาการพยาบาล 2552; 24(3): 42-54.

21. ดวงดาว ดุลยธรรม. ผลของดนตรีบำบัดต่อการลดความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดยึดตรึง
กระดูกขา (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัญฑิต). สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่,บัณฑิตวิทยาลัย,
สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2544.

22. จวง เผือกคง. ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการปวดร่วมกับการใช้สุวคนธบำบัดต่อความปวดของ
ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัญฑิต). ภาควิชาพยาบาลศาสตร์,
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

23. Cassileth B, Gubili J.Complementary Therapies for Pain Management in Kopf A, Patel NB, editors.
Guide to Pain Management in Low- Resource Setting. International Association for the Study of Pain;
2009. p.59-64.

24. Dodd et al. Advancing the science of symptom management. J Adv Nurs 2001; 33(5): 668-76.

25. ขวัญจิต โอชุม. ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดร่วมกับการฟังดนตรีต่อความปวด หลังผ่าตัดเปิด
ช่องท้องแบบฉุกเฉิน (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัญฑิต). สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่,
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

26.ชนากานต์ บุญนุช และคณะ. ขนาดกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเชิงปริมาณ 2549. เข้าถึงได้จาก http://www1.si.mahidol.ac.th/km/node/1401.เข้าถึงเมื่อ มีนาคม 12 2557.

27. Mandel SE, Hanser SB, Secic M, Davis BA. Effects of Music therapy on health- related outcomes in
cardiac rehabilitation: a randomized control trial. J Music Ther 2007; 44(3): 176-97.

28.Twiss E, Seaver J, McCafferey R, The effect of Music listening on older adults undergoing
cardiovascular surgery. Nusr Crit Care 2006; 11(5): 224-31.

29. บุญแดง บุญฤทธิ์. ผลของดนตรีต่อความวิตกกังวลและความเจ็บปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดทาง
หน้าท้อง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัญฑิต). สาขาวิทยาการให้คำปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย,
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2540.

30. อวยพร นาคเพชร. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลทางสุขภาพและดนตรีเพื่อบำบัดต่อความปวดและคุณภาพ
การนอนหลับของผู้ป่วยหลังผ่าตัดยึดตรึงกระดูกขา (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัญฑิต). สาขาวิชา
การพยาบาลผู้ใหญ่,บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

31. จิดาวรรณ นิ่มงาม. การจัดการความรู้ในการสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวด
หลังผ่าตัดโรงพยาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปราจีนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญา
พยาบาลศาสตรมหาบัญฑิต). ภาควิชาพยาบาลศาสตร์, นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

32. McCaffery M. Nursing management of patient of the patient with pain. (2nd ed.). Philadelphia : J. B.
Lippincott. 1979.

33. Taylor C, Lillis, Lamones P. “Comfort” In Fondamentals of nursing care. (4th ed.). Philadelphia :
Lippincott. 2001.

34. Ledowski T, Reimer M, Chavez V, Kapoor V, Wenk M. Effect of acute postoperative pain on
catecholamine plasma levels, hemodynamic parameter and cardiac autonomic control. J Pain
2012; 153(4): 759-64.