ผลของการฝึกหายใจต่อค่าความจุปอดในผู้ป่วยโรคหัวใจ

Main Article Content

อรชุมา หุตะโกวิท
กมลมาศ เบญจพลสิทธิ์
ธีรนันท์ อังคณานาฏ

บทคัดย่อ

บทนำ: ในหลายทศวรรษที่ผ่านมามีผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มากมายอธิบายถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางกายกับความสมบูรณ์ของระบบหัวใจและหลอดเลือด อย่างไรก็ดีการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจนั้นจะต้องเลือกระดับความหนักเบาที่เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์ การฝึกหายใจเป็นการ
ออกกำลังกายที่มีความปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจทำให้ร่างกายได้รับ


อากาศในปริมาตรมากขึ้นและใช้แรงน้อยลง


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการฝึกหายใจ โดยเปรียบเทียบค่าความจุปอดก่อนและหลังการฝึกหายใจ


วิธีดำเนินการวิจัย: รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ cross-sectional research ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกฟื้นฟูสภาพหัวใจ โดยผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจตามโปรแกรมมาตรฐานร่วมกับการฝึกหายใจ แล้ววัดค่าความจุปอดก่อนและหลังการฝึก นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์หาความแตกต่าง และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ


ผลการวิจัย: มีผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งสิ้น 43 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ อายุ 62 + 14.87 ปี ความสูง 164 + 8.73 เซนติเมตร น้ำหนัก 68 + 17.35 กิโลกรัม ดัชนีมวลกาย 25.17 + 6.08 ค่าความจุปอด FVC ก่อนการฝึกหายใจ 2.06 + 0.57 ลิตร  FVC หลังฝึกหายใจ 2.23 + 0.6 ลิตร ค่า FEV1 ก่อนการฝึกหายใจ 1.92 + 0.55 1.92 ลิตร  FEV1 หลังการฝึกหายใจ 2.06 + 0.53 ลิตร นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ โปรแกรม SPSS เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการฝึกหายใจโดยใช้ paired t-test พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของค่าความจุปอดภายหลังการฝึกหายใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งค่า FVC และ FEV1 ที่ค่า p < 0.05


สรุป: การฝึกหายใจมีผลเพิ่มค่าความจุปอดในผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


คำสำคัญ: การฝึกหายใจ โรคหัวใจ  ค่าความจุปอด การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจ

Article Details

บท
Original Article

References

1. สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรค หัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557. 2557[เข้าถึงเมื่อ16มิถุนายน2560].เข้าถึงได้จาก http://www.thaiheart.org.

2. เรวัตร พันธุ์กิ่งทองคำ. Etiology and Pathogenesis Part1: Chronic Ischemic Heart Disease. หน้า 1-5 ใน ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน, รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์, เรวัตร พันธุ์กิ่งทองคำ. Practical cardiology. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2556.

3. สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการปฏิบัติมาตรฐานเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 6 มีนาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaiheart.org.

4. Jonathan Myers. Exercise and Cardio vascular Health. Circulation 2003; 107: e2-e5 Jan 2003. Available at http://circ.ahajournals.org/content/107/1/e2.short. Retrieved May 2, 2017.

5. ACSM Guideline for exercise testing and prescriptions 9th edition 2014. Available at http://www.guideline.gov/content.aspx?id=3185. Retrieved March 6, 2015.

6. Wasserman K, et al. Lung Function and Exercise Gas Exchange in Chronic Heart Failure. Circulation 1997; 96 : 2221-7.

7. กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ. 6-Min Walk Test. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557; 24(1): 1-4.

8. National Heart Foundation of Australia & Australian Cardiac Rehabilitation 2004. Recommended Framework for cardiac rehabilitation. Available at www.heartfoundation.com.au. Retrieved March 6, 2015.

9. ECRI National Guideline Clearing House. Cardiac rehabilitation 2012. Available at http://www.guideline.gov/content.aspx?id=3185. Retrieved March 6, 2015.

10. Curtis M. Rimmerman. Coronary Artery Disease. Cleveland Clinic Center for Continuing education Feb 2013. Available at
http://www.clevelandclinicmeded.com/medicalpubs/diseasemanagement/cardiology/coronary-artery-disease/. Retrieved June 16, 2016.

11. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ.2553สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

12. Cahalin LP, Arena RA. Breathing exercises and inspiratory muscle training in heart failure
Heart failure clin. 2015; 11(1):149-72.

13. Christine E, Whitten MD. The airway Jedi. Available at https://airwayjedi.com/2017/01/06/
ventilation-perfusion-mismatch. Retrieved August 10, 2017.

14. Barrett KE, Barman SM, Boitano S, et al. Respiratory physiology. Ganong's Review of Medical Physiology, 23rdedition. New york, Sanfrancisco, Milan 2010; 599-650.

15. Novotny S, Kravitz L. The science of breathing. Available at https://www.unm.edu/ ~lkravitz/Article%20folder/Breathing.html. Retrieved March 6, 2015.

16. Cooper BG. An update on contraindications for lung function testing. August 2011; 66:714-23.

17. Westerdahl E, et al. Deep-Breathing Exercise Reduce Atelectasis and Improve Pulmonary Function after Coronary Artery Bypass Graft Surgery. Chest 2005; 128(5): 3482-8.

18. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการตรวจสมรรถภาพปอด (Guidelines for Pulmonary Function Tests). [เข้าถึงเมื่อ 16 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก http://thaichest.net/images/
article/guideline/GuidelinePFT.pdf.

19. Lutfi MF. The Physiological basis and clinical significance of lung volume measurement.
Available at https://mrmjournal.biomedcentral.com/articles/10.1186/s40248-017-0084-5
Retrieved March 6, 2015.

20. Behm DG, Blazevich AJ, Kay AD, McHugh M. Acute effects of muscle stretching on physical performance range of motion, and injury incidence in healthy active individuals: a systematic review. Centre for Exercise and Sports Science Research, Edith Cowan University, Sport, Exercise and Life Sciences, School of Health, The University of Northampton, Northampton NN2 7AL, UK.Nicholas Institute of Sports Medicine and Athletic Trauma, Lenox Hill Hospital, New York, NY 10075, USA. 2016; 41(1): 1-11.

21. Yadav RK. Effect of yoga regimen on lung functions including diffusion capacity in coronary artery disease patients Int J Yoga. 2015 Jan-Jun; 8(1): 68–69. Available at https://www.ncbi. nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4278138/.

22. Glidea TR, McCarthy K. Pulmonary function testing. Available at
http://www.clevelandclinicmeded.com/medicalpubs/ disease management/pulmonary/ pulmonary-function-testing. Retrieved August 10, 2017.

23. คณะกรรมการชมรมฟื้นฟูหัวใจ. แนวทางการฟื้นฟูสภาพในผู้ป่วยโรคหัวใจ (Cardiac Rehabilitation Guideline). [เข้าถึงเมื่อ6มีนาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaiheart.org.

24. Franklin BA, Balady GJ, Berra K, et al. The benefit of physical activity on heart disease. American College of Sports Medicine. Available at https://www.acsm.org/docs/current-comments/exercise-for-persons-with-cardiovascular-disease. Retrieved March 6, 2015.

25. Sietsema KE, Phongphibool S. International Seminar in Clinical Application in
Cardiopulmonary Exercise Testing and Interpretation for Health Practitioners; June 29-30, 2017.
Novotel Bangkok. Faculty of Sports Science et al Chulalongkorn University; 2017.

26. Pellegrino R, Viegi G, Brusasco V, et al. Interpretative strategies for lung function test. Eur Respir J2005; 26: 948-68.

27. Miller MR, Crapo R, Hankinson J, et al. General consideration for lung function testing. Eur Respir J 2005; 26: 153-61.

28. Varga J. Mechanisms to dyspnoea and dynamic hyperinflation related exercise intolerance in
COPD. Acta Physiol Hung. 2015; 102(2): 163-75.