แนวทางการส่งเสริมการวิจัยของบุคลากรทางการพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเจริญประชารักษ์

Main Article Content

นิลาวรรณ มัศยาอานนท์
พัชรา สิริวัฒนเกตุ
ประวิทย์ ทองไชย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาประเด็นปัญหาและทิศทางสู่อนาคตในการวิจัยของบุคลากรทางการพยาบาลของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการวิจัยของบุคลากรทางการพยาบาลฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงจำนวน 2 คน ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล จำนวน 5 คน หัวหน้าหอผู้ป่วยและหน่วยงาน จำนวน 10 คน และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 คนดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม


ผลการวิจัย: แนวทางในการส่งเสริมการวิจัยของบุคลากรทางการพยาบาล ได้แก่ การพัฒนาระบบการส่งเสริมการวิจัยของฝ่ายการพยาบาล โดยเน้นในประเด็นปัญหา และทิศทางสู่อนาคตในการวิจัยของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โดยมี 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ประเด็นปัญหาด้านระบบการดำเนินการวิจัยและขอพิจารณาจริยธรรม ควรมีการจัดหาที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงด้านการดำเนินการวิจัย รวมทั้งการจัดการอบรมด้านการขอจริยธรรมและขั้นตอนการขอทุนและ 2) ประเด็นในด้านบุคลากรที่ขาดความรู้ความเข้าใจและแรงบันดาลใจในการทำวิจัย ควรเสริมพลังการทำวิจัยให้กับบุคลากรทางการพยาบาลโดยจัดเวทีเพื่อนำเสนอผลงานและสนับสนุนผู้ที่มีผลงานการวิจัย การให้รางวัล การจัดอบรมพื้นฐานการวิจัยอย่างต่อเนื่องให้แก่บุคลากรทางการพยาบาลทุกคน


สรุป:  ประเด็นปัญหาในการส่งเสริมการวิจัยมี 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ประเด็นปัญหาด้านระบบการดำเนินการวิจัยและขอพิจารณาจริยธรรม และ 2) ประเด็นในด้านบุคลากรที่ขาดความรู้ความเข้าใจและแรงบันดาลใจในการทำวิจัย โดยการส่งเสริมให้หน่วยงานเกิดการพัฒนาการวิจัยและทิศทางสู่อนาคตของการวิจัยนั้น สามารถนำมากำหนดเป็นแนวทาง 7 แนวทาง ได้แก่ 1) การกำหนดเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์ในหน่วยงานหรือองค์กร 2) จัดชั่วโมงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การวิจัย  3) ตั้งทีมพี่เลี้ยง 4) ใช้รางวัลล่อปัญญา  5) ขับเคลื่อนด้วยวารสาร 6) สร้างเครือข่ายระดับชาติ เน้นความร่วมมือกับภาคี และ7)  ยกระดับโจทย์วิจัย


คำสำคัญ: บุคลากรทางการพยาบาล นโยบายการส่งเสริมการวิจัย

Article Details

บท
Original Article

References

1. กองบริหารงานวิจัยสำนักงานอธิการบดี. ยุทธศาสตร์การวิจัยพ.ศ. 2559-2562. มหาวิทยาลัยมหิดล.
กรุงเทพมหานคร. 2559, 1-28.

2. เอื้อมพร ทองกระจาย. การวิจัยทางการพยาบาลในสังคมไทย: ทบทวนอดีตและทิศทางอนาคต. วารสาร
พยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2558, 38(1): 122-131.

3. ฝ่ายการพยาบาล สถิติการทำวิจัยของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์,
2560.

4. Gentles SJ, Charles C, Ploeg J, McKibbon KA. Sampling in qualitative research: Insights from
an overview of the methods literature. The Qualitative Report. 2015; 20(11): 1772.

5. Stewart DW, Shamdasai P. Focus groups: Theory and research. Newbury Park, CA: SAGE.1990.

6. Kathryn MB, David CM. Management (2nd ed.). New York: McGraw-Hill. 1991.

7. Von Bertalanffy L. General system theory. The Science of Synthesis: Exploring the Social
Implications of General. New York. 1968; 41973(1968): 40.

8. Colaizzi PF. Psychological research as the phenomenologist. Oxford New York: University Press.
1978.

9. Lincoln YS, Guba EG. Naturalistic inquiry (Vol. 75). Sage. 1985; 1-417.

10. วิจารณ์ พานิช. เคล็ดไม่ลับ R2R. โครงการสนับสนุนการพัฒนางานประจําสู่งานวิจัยระดับประเทศสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส). ร่วมกับหน่วยพัฒนางานประจําสู่งานวิจัย
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ยูเนี่ยน ครีเอชั่น จํากัด, 2555.