ประสิทธิผลของการใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

Main Article Content

เรณู วัฒนเหลืองอรุณ
วันชัย จันทราพิทักษ์
นุชนาถ กระจ่าง
รุ่งทิพย์ อ่อนละออ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปริมาณเลือดที่สูญเสียและอัตราการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกระหว่างผู้คลอดที่ใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีแบบดั้งเดิมกับผู้คลอดที่ใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีแบบใหม่ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรพยาบาลห้องคลอดต่อแบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีแบบใหม่


วิธีการดำเนินการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ ชนิดศึกษาย้อนหลังและไปข้างหน้า ก่อนและหลังการใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกแบบใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้คลอดอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป และคลอดทางช่องคลอดที่ห้องคลอดโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จำนวน 1,170 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกแบบดั้งเดิม เป็นผู้คลอดที่มาคลอดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2559 จำนวน 585 ราย โดยศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียน ส่วนกลุ่มทดลองใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกแบบใหม่ เป็นผู้คลอดที่มาคลอดตั้งแต่เดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2559 จำนวน 585 ราย และพยาบาลวิชาชีพประจำห้องคลอดจำนวน 17 ราย เปรียบเทียบความแตกต่างของปริมาณเลือดที่สูญเสียหลังคลอดระหว่าง 2 กลุ่ม  ใช้สถิติ student’s t test และเปรียบเทียบอัตราการตกเลือดหลังคลอดของทั้ง 2 กลุ่ม ใช้สถิติ chi-square หรือ fisher exact test กำหนดให้มีความแตกต่างทางสถิติเมื่อ p < 0.05 ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก ใช้ค่าเฉลี่ย  ()  และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัย: ผู้คลอดในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีปริมาณเลือดที่สูญเสียทางช่องคลอด 196.43 + 123.04 มิลลิลิตร และ 188.51 + 108.63 มิลลิลิตร ตามลำดับ (p = 0.26) กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีอัตราการตกเลือดหลังคลอดร้อยละ 2.7 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ ( p = 0.18) ด้านความพึงพอใจโดยรวมของพยาบาลวิชาชีพต่อแบบประเมินความเสี่ยงและแนวปฏิบัติทางการพยาบาลแบบใหม่ (= 4.53 S.D. = 0.51,               = 4.59 S.D. = 0.51 ตามลำดับ)


สรุป: การป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดโดยการใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด และแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดจากภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่ดีแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ทำให้พยาบาลวิชาชีพสามารถประเมินความเสี่ยงของผู้คลอดและให้การดูแลผู้คลอดตามระดับความเสี่ยง สามารถลดอัตราการตกเลือดหลังคลอดลงได้ และทำให้ไม่เพิ่มภาระงานพยาบาลวิชาชีพมากเกินความจำเป็น 


คำสำคัญ: ภาวะตกเลือดหลังคลอด แนวปฏิบัติทางการพยาบาล การประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด

Article Details

บท
Original Article

References

1. World Health Organization. Recommendation for the prevention of postpartum Haemorrhage (summary of
results from a WHO technical consultation,October 2006; 2007.

2. United Nations. The milliennium development goal report 2014. New York; 2014.

3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. หนังสือสรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ.2556. กรุงเทพ: โรงพิมพ์
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

4. วันชัย จันทราพิทักษ์, วิสุทธิ์ อนันต์สกุลวัฒน์, สุกิจ ศรีทิพยวรรณ, สงวน โล่ห์จินดารัตน์, กมล ศรีจันทึก, เรณู
วัฒนเหลืองอรุณ. นวัตกรรมเพื่อการรักษาและป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุง-
ประชารักษ์. 2557; 10 (1): 45 - 52.

5. Prendiville WJ, Elbourne D, McDonald S. Active versus expectant management in the third stage of labour (Review).
Cochrane Database Syst review (4); 2007.

6. Bingham D, Melsop K, Main E. CMQCC obstetric hemorrhage hospital level implementation guide. The California
Maternal Quality Care Collaborative (CMQCC). Stanford University, Palo Alto, CA; 2010.

7. Dilla AJ, Water JH, Yazer MH. Clinical Validation of Risk Stratification Criteria for Peripartum Hemorrhage.
Obstet Gynecol. 2013; 22(1): 120 - 6.

8. Chantrapitak W, Srijuntuek K, Wattanaluangarun R. The Efficacy of Lower Uterine Segment Compression for
Prevention of Early Postpartum Hemorrhage after Vaginal Delivery. J Med Assoc Thai. 2011; 94(6): 649 - 56.

9. Lalonde A, Daviss BA, Acosta A, Herschderfer K. Postpartum hemorhage today: ICM/FIGO initiative 2004 -
2006. Int J Gynaecol Obstet. 2006; 94: 243 - 53.

10. Lyndon A, Lagrew D, Shields L, Main E, Cape V. Improving Health Care Response to Obstetric Hemorrhage
Version 2.0. California Maternal Quality Care Collaborative Toolkit to Transform Maternity Care Developed under
contract #11-10006 with the California Department of Public Health. 2015. Available at http://health.utah.gov/
uwnqc/documents/CaliforniaToolkittoTransformMaternityCare.pdf

11. คณะอนุกรรมการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก. แนวทางปฏิบัติทางสูติศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์. การประชุมเชิง
ปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 1; 1-2 กันยายน 2557;
ลำพูน; 2557. 200 - 13.

12. พรปวีณ์ อธิธัญชัยพงษ์, จุฬาลักษณ์ สิงหกลางพล, ดลธวรรณ อุนนะนันทน์, นฤกร ธรรมเกษม. คู่มือเวช
ปฏิบัติการคลอดมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ: กรมการแพทย์; 2558.

13. American Congress of Obstetricians and Gynecologists (ACOG). ACOG Practice Bulletin: Clinical Management
Guidelines for Obstetrician - Gynecologists. Obstet Gynecol. 2006; 108(76): 1039 - 47.

14. Society of Obstetricians and Gynaecologists of Canada (SOGC). SOGC Clinical Practice Guideline: Active
Management of the Third Stage of Labour: Prevention and Treatment of Postpartum Hemorrhage. October 2009;
JOGC(235), 980 - 93.

15. Royal College of Obstetricians and Gynaecologists (RCOG). Prevention and Management of Postpartum
Haemorrhage. RCOG Green-top Guideline No.52. 2011; 1-24.

16. Queensland Maternity and Neonatal Clinical Guideline Program. Primaty Postpartum Haemorrhage. 2013. Available at
https://www.health.qld.gov.au/_data/assets/pdf_file/0015/140136/g - pph.pdf.

17. FIGO Safe Motherhood and Newborn Health (SMNH) Committee / International. FIGO GUIDELINES:
Prevention and treatment of postpartum hemorrhage in low - resource settings. International Journal of Gynecology and
Obstetrics. 2012; (117): 108 - 18.

18. PPH CPG Work group. Associtation of Ontario Midwives. Postpartum Hemorrhage (Clinical Practice Guideline
No.17). 2016. Available at http://www.aom.on.ca/files/Health_Care_Professionals/ Clinical_Practice _Guidelines/cpg_
pph_2016_FINAL.pdf.

19. ฉวีวรรณ ธงชัย, พิกุล นันทชัยพันธ์. แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก. เชียงใหม่: คณะ
พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.

20. สมชาย วรกิจเกษมสกุล. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 2. อุดรธานี: อักษร
ศิลป์การพิมพ์; 2553.

21. ประสพชัย พสุนนท์. การประเมินความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมินโดยใช้สถิติแคปปา. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์
ประยุกต์. 2558; 8 (1): 2 - 20.

22. ณฐนนท์ ศิริมาศ, จีรพร จักษุจินดา, ปิยรัตน์ โสมศรีแพง, สุพางค์พรรณ พาดกลาง. การพัฒนาระบบการดูแลหญิง
ตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.
2557; 32(2): 37 - 46.

23. บุญทิวา เหล็กแก้ว. การจัดระบบการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดโดยใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก โรงพยาบาล
เชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2554; 7(1): 55 - 62.

24. Smit M, Sindram SIC, Woiski M, Middeldorp JM, Roosmalen JV. The development of quality indicators for the
prevention and management of postpartum haemorrhage in primary midwifery carein the Netherlands. BMC
Pregnancy and Childbir. 2013; 13(194).

25. วรรณา ดีมูล. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะที่สามและระยะที่สี่
ของการคลอด โรงพยาบาลคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ รายงานการศึกษาอิสระ [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะ
พยาบาลศาสตร์, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

26. บานเย็น แสนเรียน. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากภาวะ
มดลูกหดรัดตัวไม่ดี (uterine atony) สำหรับบุคลากรพยาบาลในแผนกห้องคลอด โรงพยาบาลขอนแก่น รายงาน
การศึกษาอิสระ [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง]. คณะพยาบาลศาสตร์, ขอนแก่น:
มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.