คุณภาพบริการที่คาดหวังและตามการรับรู้ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์กรณีศึกษา คลินิกพิเศษเอชไอวี ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปานหทัย มนต์สุวรรณ
นิตยา เพ็ญศิรินภา
สมโภช รติโอฬาร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) วัดระดับคุณภาพบริการตามความคาดหวัง และตามการรับรู้ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์คลินิกพิเศษเอชไอวี ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร  2) เปรียบเทียบคุณภาพบริการตามความคาดหวังกับตามการรับรู้ 3) เปรียบเทียบคุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะเรื่องการให้บริการคลินิกพิเศษเอชไอวี สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ผู้มีทะเบียนประวัติเป็นผู้เข้ารับบริการคลินิกพิเศษเอชไอวี ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ปี 2558 อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 120 คน โดยศึกษาทุกหน่วยประชากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบวัดคุณภาพบริการ SERVQUAL ที่มีความตรงเชิงเนื้อหาไม่ต่ำกว่า 0.66 และความเที่ยงเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ การทดสอบทีแบบจับคู่ และการทดสอบทีแบบอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว 


ผลการวิจัย: พบว่า 1)  การรับรู้ต่อคุณภาพบริการอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าความคาดหวังต่อคุณภาพบริการที่อยู่ในระดับมาก 2)  ค่าเฉลี่ยความคาดหวังและการรับรู้ต่อคุณภาพบริการของผู้รับบริการทั้งโดยรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่มีระดับการศึกษา และความถี่ในการรับบริการต่างกันมีความคาดหวังต่อคุณภาพบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่มี เพศ อายุ อาชีพ รายได้ และประเภทผู้รับบริการต่างกัน มีความคาดหวังต่อคุณภาพบริการไม่แตกต่างกัน ส่วนการรับรู้ต่อคุณภาพบริการของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลต่างกัน ไม่พบความแตกต่างกัน  และ 4) ผู้รับบริการให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ ต้องการให้มีระบบการติดตามการนัดหมายโดยตรงกับตัวผู้รับบริการ ต้องการยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาให้หายขาดได้ 


สรุปผลการวิจัย: การรับรู้ต่อคุณภาพบริการสูงกว่าความคาดหวังต่อคุณภาพบริการ โดยความคาดหวังอยู่ในระดับมาก ส่วนการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่า ในการให้บริการคลินิกพิเศษเอชไอวี ของโรงพยาบาลที่ทำการศึกษานี้ มีคุณภาพสูงกว่าที่ผู้รับบริการความคาดหวัง ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจที่ได้รับมีคุณภาพมากกว่าที่คาดหวัง แต่อย่างไรก็ตามควรมีการพัฒนาระบบบริการให้มีคุณภาพในมุมมองของผู้รับบริการอยู่เสมอเพื่อรักษาคุณภาพบริการไว้ ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนผู้รับบริการประทับใจ และเข้ามารับบริการการรักษาที่คลินิกพิเศษแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหัวใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้


คำสำคัญ: ความคาดหวัง การรับรู้ คุณภาพบริการ คลินิกพิเศษเอชไอวี โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร
 

Article Details

บท
Original Article

References

1. กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กรมควบคุมโรค ปี 2559 - 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2559. [เข้าถึงเมื่อ 7 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://plan.ddc.moph.go.th/.

2. กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2557. นนทบุรี:กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข;2557.

3. Parasuraman A, Zeithaml VA, BerryLL. A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing 1985; 49 (4): 41-50.

4. ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. แนวคิดทางการธุรกิจและการตลาดบริการของแหล่งสารสนเทศในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้.วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2548; 12: 30-40.

5. วรรณาพร ศรีอริยนันท์. ความคาดหวังและการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการบริการโรงพยาบาลปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2556.

6. หัทยา แก้วกิ้ม. ความคาดหวังและการรับรู้ของประชาชนต่อคุณภาพบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554.

7. วิเชียร เกตุสิงห์. ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมายเรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัยการศึกษา 2538; 18(3): 8-11.

8. Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 1951; 16: 297-334.

9. โชษิตา แก้วเกษ. คุณภาพบริการตามความคาดหวังและที่ได้รับจริงของผู้รับบริการแพทย์แผนจีน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2552.

10. อัจฉรา ขันใจ. ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการของผู้ประกันตนโรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่: 2558.

11. โสรยา พูลเกษ. ความคาดหวังของผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการของโรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2550.