ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยตามทฤษฏีการควบคุมตนเองต่อ ความวิตกกังวลและระยะเวลาในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

Main Article Content

รัชฎาภรณ์ สีตาล
ผศ.ดร. กนกพร นทีธนสมบัติ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยตามทฤษฎีการควบคุมตนเองต่อความวิตกกังวลและระยะเวลาในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการให้ข้อมูลแบบปกติ 45 คน และกลุ่มทดลองซึ่งได้รับข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยตามทฤษฎีการควบคุมตนเอง 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยตามทฤษฎีการควบคุมตนเอง แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความวิตกกังวล และแบบบันทึกข้อมูลในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่  เครื่องมือวิจัยได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  และทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าแอลฟาครอนบราค 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) การทดสอบไคสแควร์ (chi-square test) การทดสอบวิลคอกซัน (Wilcoxon signed-ranks test) การทดสอบแมนท์วิทนีย์ (Mann whitney U test) และการทดสอบค่าที (dependent t-test and independent t-test)


ผลการวิจัย: พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยตามทฤษฏีการควบคุมตนเองมีคะแนนความวิตกกังวลหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และมีความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนความดันซิสโตลิคและความดันไดแอสโตลิค พบว่า กลุ่มทดลองหลังให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ฯ มีความดันซิสโตลิค และความดันไดแอสโตลิคต่ำกว่าก่อนให้ข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001  และ 0.01 ตามลำดับ  รวมทั้งกลุ่มทดลองมีความดันซิสโตลิคต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 สำหรับอัตราการเต้นของชีพจรพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีอัตราชีพจรน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001  และกลุ่มทดลองมีอัตราชีพจรน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 นอกจากนั้นกลุ่มทดลองมีระยะเวลาในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


สรุปผลการวิจัย: ผลสำเร็จของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยตามทฤษฏีการควบคุมตนเองในผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ มีผลทำให้ความวิตกกังวลลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001  และระยะเวลาในการส่องกล้องลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001


คำสำคัญ : ความวิตกกังวล ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ทฤษฎีการควบคุมตนเอง การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

Article Details

บท
Original Article

References

1. Condon A, Graff L, Elliot L, Ilnyckyj A. Acceptance of colonoscopy requires more than test
tolerance. Can J Gastroenterol 2008 ; 22: 41-7.

2. National center for health statistics. Centers for disease control and prevention . CDC24/7: saving
live.protecting people 2014: 1.

3. สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหาร. สถิติการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ .โรงพยาบาลราชวิถี.
กรุงเทพ ฯ. 2557: 16.

4. สมบัติ ตรีประเสริฐสุข. Practical GI endoscopy 3. กรุงเทพฯ: KR การพิมพ์; 2550. 215-29.

5. สถิติโรงพยาบาลเวชธานี. สถิติหัตถการรวมรายปีของโรงพยาบาลเวชธานี. กรุงเทพฯ. 2556.

6. McLachlan SA, Clements A, Austoker J. Patients’ experiences and reported barriers to
colonoscopy in the screening context-A systematic review of the literature. Oncology
Department, St. Vincent’s Hospital.Melbourne, Australia Department of Medicine.University of
Melbourne, Australia. Patient Education and Counseling 2012; 86: 137-46.

7. Ristvedt SL, McFarland EG, Weinstock LB, Thyssen EP. Patient preferences for CT
colonography, conventional colonoscopy, and bowel preparation . Am J gastroenterol 2003 ;
98: 578-85.

8. สจี ศักดิ์โสภิษฐ์. ผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยส่องกล้องทางเดิน
อาหารส่วนต้นและส่วนปลายในระยะก่อนส่องกล้องโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ .
วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมศาสตร์เมหาวิทยาลัย.2559: 1-6.

9. สุเธียรนุช ศิรินันติกุล. ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ต่อความวิตกกังวลและการ
ให้ความร่วมมือของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น. วารสารโรงพยาบาล
เจริญกรุงประชารักษ์ 2557; 10: 1-12.

10. David L. Managing anxiety before colonoscopy by an ad-hoc video tape Journal of
psychosomatic Research 2014; 76: 495-520.

11. Johnson JE. Self-regulation theory and coping with physical illness Research in Nursing Health.
1999; 22: 435-48.

12. วัลยา ธรรมพนิวัฒน์. ทฤษฎีการควบคุมตนเอง : แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการพยาบาล
เด็กและครอบครัว. วารสารสภาการพยาบาล 2553; (25): 102-3.

13. Hsueh FC, Chen CM, Sun CA , Chou YC, Hsiao SM, Yang TA. Study on the effects
of a health education intervention on anxiety and pain during colonoscopy procedures. The
journal of nursing research: J Nurs Res 2016; 24: 181-9.

14. ธนา นิลชัยโกวิทย์. แบบสอบถาม Thai General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย.
กรุงเทพมหานคร. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. 2545; 1-14.

15. ชลลดา ละม่อม. ผลของการเตรียมมารดาก่อนเข้าเยี่ยมทารกคลอดก่อนกำหนดครั้งแรกโดยการให้
ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ต่อความวิตกกังวลของมารดา. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. พยาบาล
ศาสตร์, นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

16. ปณัฐฑิกา เหล็กแท้. ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ต่อความวิตกกังวลของมารดาที่มีทำ
รกคลอดก่อนกำหนดกลุ่มอาการหายใจลำบาก. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. พยาบาลศาสตร์,
กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

17. โสภา พิศจาร. ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ต่อความวิตกกังวลใน
มารดาที่มีบุตรเข้ารับการสวนหัวใจ. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. พยาบาลศาสตร์, นครปฐม :
มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.

18. Pissajarn S. The effect of concrete-objective information on maternal anxiety of children
undergoing cardiac catheterization.Unpublished mater’s thesis. Mahidol University; 2007.

19. Green AJ. Anxiety Disorder. Adaptation and growth phychiatic - mental health nursing
Philadelphia: J.B.Lippincott 1997: 134-6.