ผลของการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยและการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: รูปแบบการคัดกรองที่มีความละเอียดในการแบ่งระดับความรุนแรง สามารถคัดแยกผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มตามระดับความรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ การจัดลำดับที่ถูกต้อง และระยะเวลารอคอยเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยตามลำดับความเร่งด่วน และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน (ESI) ต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย และการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ
วิธีดำเนินการวิจัย : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินจำนวน 19 คน เวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินจำนวน 150 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือ ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในพัฒนารูปแบบการคัดกรอง 4 ชุด คือ 1) โปรแกรมพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ ESI 2) คู่มือการคัดกรอง 3) เกณฑ์ ESI และ 4) แบบสังเกตการจำแนกผู้ป่วยโดยใช้ ESI ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย และแบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือทุกชุดผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และได้ค่าสัมประสิทธิแอลฟาครอนบาคของแบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ เท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ t-test
ผลการวิจัย: 1) รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ ESI ประกอบด้วยการคัดกรองผู้ป่วย 5 ประเภท ได้แก่ วิกฤต เจ็บป่วยรุนแรง เจ็บป่วยปานกลาง เจ็บป่วยเล็กน้อย และเจ็บป่วยทั่วไป 2) ประสิทธิผลของการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ ESI ได้แก่ ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยวิกฤตไม่แตกต่างกับเกณฑ์มาตรฐานของออสเตรเลีย แต่ผู้ป่วยประเภทอื่น ๆ ใช้เวลารอคอยแพทย์ตรวจ น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานของออสเตรเลีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 10.51, p < 0.01)
สรุปผลการวิจัย: การใช้รูปแบบการคัดกรองโดยใช้ ESI ส่งผลให้การปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลสูงขึ้น และผู้ป่วยในแต่ละประเภทใช้เวลารอคอยแพทย์ตรวจน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ยกเว้นผู้ป่วยวิกฤตที่สอดคล้องตามเกณฑ์ อย่างไรก็ตามการทดลองนี้ใช้เวลาในการทดลองใช้รูปแบบการคัดกรองโดยใช้ ESIเพียง 1 เดือน ดังนั้น จึงควรติดตามระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยแต่ละประเภทต่อไป เพื่อกำหนดระยะเวลารอคอยที่เหมาะสมกับลำดับความเร่งด่วนของผู้ป่วย ให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานของแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินต่อไป
คำสำคัญ: การคัดกรอง ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน ระยะเวลารอคอย การปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาล
Article Details
References
งานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน. กรุงเทพ. 2547; 9-14.
2. Christ M, Grossmann F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern Triage in the Emergency
Department. Dtsch Arztebl Int. 2010; 107(50): 892-902.
3. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้อง
ฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนด (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2556. กรุงเทพ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.
2547; 3-4.
4. Gilboy N, Tanabe P, Travers D, Rosenau AM. Emergency Severity Index (ESI): A Triage Tool
for Emergency Department Care, Version 4. Implementation Handbook 2012 Edition. AHRQ
Publication No.12-0014. Rockville, MD. Agency for Healthcare Research and Quality. 2011.
5. จันทรา จินดา. ผลของการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน ต่อความพึงพอใจของ
ผู้ใช้บริการและความพึงพอใจในงาน ของพยาบาลหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน วิทยาลัยแพทยศาสตร์
กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล].
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
6. Chan TC, Killeen JP, Kelly D, Guss DA. Impact of Rapid Entry and Accelerated Care at
Triage on Reducing Emergency Department Patient Wait Times, Lengths of Stay and Rate of Left
Without Being Seen. Ann Emerg Med. 2005; 46 (6): 491-7.
7. กงทอง ไพศาล. การพัฒนาเครื่องมือจำแนกประเภทผู้ป่วย งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพล
จังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2554; 34 (3): 57-64.
8. Croskerry P, Cosby KS, Schenkel SM, Wears RL. Patient Safety in Emergency Medicine.
U.S.A: Lippincott Williams & Wilkins. 2009.
9. Emergency Excellence. Intuitive and rapid emergency department intake increases safety. 2010.
Available at http://www.emergencyexcellence.com/newsletter/march _2010.htm. Retrieved Dec 15, 2014.
10. Pennsynvania Patient Safety Advisory. Managing Patient Access and Flow in the Emergency
Department to Improve Patient Safety. Pennsynvania Patient Safety Advisory. 2010; 7 (4): 123-34.
11. Gerdtz MF, Bucknall TK. Why we do the things we do: applying clinical decision making
frameworks to triage practice. Dtsch Arztebl Int. 1999; 7: 50-7.
12. สุมาลี จักรไพศาล, ชฎาภรณ์ เปรมปรามอมร, ณัฐนันท์ มาลา. ผลของการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนี
ความรุนแรงฉุกเฉินสระบุรีต่อความสอดคล้องของการจำแนกระดับความรุนแรงของผู้ป่วย ระยะเวลารอ
คอยแพทย์ตรวจ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและความพึงพอใจในงานของพยาบาล หน่วยงาน
อุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสระบุรี. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 2558 กุมภาพันธ์ 10]. เข้าถึงได้จาก
http://www. niems.go.th/main/upload/file/ 20110405024108.pdf
13. Chung JYM. Exploration of accident and emergency nurse experiences of triage decision making in
Hong Kong. Accid Emerg Nurs. 2005; 13: 206-13.
14. Jelinek L, Fahje C, Immermann C, Elsbernd T. The trauma report nurse: A trauma triage
process improvement project. Int Emerg Nurs. 2014; 40 (5): 111-7.
15. Maas M, Jacox AK. Guideline for nurse autonomy / patient welfare. New York: Appleton-
Century-Crofts. 1977.
16. Singer RF, Infante AA, Oppenheimer CC, West C, Siegel B. The use of and satisfaction with
The Emergency Severity Index. J Emerg Nurs. 2012; 28 (2): 120-6.
17. Grossmann FF, Zumbrunn T, Frauchiger A, Delport K, Bingisser R, Nickel CH. At Risk of
Undertriage? Testing the Performance and Accuracy of the Emergency Severity Index in Older
Emergency Department Patients. Ann Emerg Med. 2012; 60 (3): 317-25.