การพัฒนาและทดสอบสื่อแผ่นพับเรื่องการตรวจโรคฟันผุและเหงือกอักเสบด้วยตนเอง ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: ปัญหาเรื่องโรคฟันผุและสภาวะเหงือกอักเสบในกลุ่มเด็กประถมศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วโรคในช่องปากอีกทั้งสภาวะฟันผุและเหงือกอักเสบเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ โดยการตรวจฟันด้วยตนเองอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นพฤติกรรมอนามัยเบื้องต้นที่มีกระบวนการไม่ยุ่งยาก และเป็นวิธีที่ช่วยในการส่งเสริมสภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนได้
วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแผ่นพับเรื่องโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ และการดูแลสุขอนามัยช่องปาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยเปรียบเทียบจากคะแนนการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้สื่อ
วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้ทำการศึกษาในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งหมด 97 คน โดยใช้สื่อแผ่นพับเรื่องการตรวจฟันผุและโรคเหงือกอักเสบด้วยตนเอง และแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการใช้สื่อ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปสรุปและวิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการวิจัย: เปรียบเทียบจากคะแนนการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้สื่อพบว่า คะแนนทดสอบหลังการใช้สื่อสูงกว่าก่อนการใช้สื่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05
สรุปผลการวิจัย: สื่อแผ่นพับที่พัฒนาขึ้นเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กล่าวคือ สามารถทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05)
คำสำคัญ: สื่อแผ่นพับ การตรวจฟันด้วยตนเอง ทดสอบประสิทธิภาพสื่อ
บทนำ: ปัญหาเรื่องโรคฟันผุและสภาวะเหงือกอักเสบในกลุ่มเด็กประถมศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วโรคในช่องปากอีกทั้งสภาวะฟันผุและเหงือกอักเสบเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ โดยการตรวจฟันด้วยตนเองอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นพฤติกรรมอนามัยเบื้องต้นที่มีกระบวนการไม่ยุ่งยาก และเป็นวิธีที่ช่วยในการส่งเสริมสภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนได้
วัตถุประสงค์: เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแผ่นพับเรื่องโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ และการดูแลสุขอนามัยช่องปาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยเปรียบเทียบจากคะแนนการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้สื่อ
วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้ทำการศึกษาในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งหมด 97 คน โดยใช้สื่อแผ่นพับเรื่องการตรวจฟันผุและโรคเหงือกอักเสบด้วยตนเอง และแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการใช้สื่อ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปสรุปและวิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการวิจัย: เปรียบเทียบจากคะแนนการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้สื่อพบว่า คะแนนทดสอบหลังการใช้สื่อสูงกว่าก่อนการใช้สื่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05
สรุปผลการวิจัย: สื่อแผ่นพับที่พัฒนาขึ้นเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กล่าวคือ สามารถทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05)
คำสำคัญ: สื่อแผ่นพับ การตรวจฟันด้วยตนเอง ทดสอบประสิทธิภาพสื่อ
Article Details
References
BMJ 2004; 329:1398-401.
2. กรมอนามัย. กองทันตสาธารณสุข. ผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ปี 2543-
2544. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2545.
3. ศรีสุดา ลีละศิธร, ปิยะดา ประเสริฐสม, อังศนา ฤทธิ์อยู่, ขนิษฐ์ รัตนรังสิมา. สภาวะโรคฟันผุ
ของประชาชนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้องระหว่าง พ.ศ.2526-2540. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์.
2544; 6(2): 8-24.
4. วารีวรรณ ศิริวาณิชย์. พัฒนาการของแนวคิด นโยบาย ยุทธศาสตร์ และการปฏิบัติการสร้างเสริม
สุขภาพ. สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2549.
5. บุญเอื้อ ยงวานิชากร, ดาวเรือง แก้วขันตี, วราภรณ์ จิระพงษา, ผุสดี จันทร์บาง. สถานการณ์การ
ดูแลสุขภาพช่องปากและการใช้บริการทันตกรรมของประชาชน. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์.
2544; 6(2): 105-18.
6. Nutbeam D, Aar L, Catford J. Understanding childrens’ health behavior: the implications for
health promotion for young people. Soc Sci Med.1989; 29(3): 317-25.
7. Cinar AB, Kosku N, Sandalli N, Murtomaa H. Individual and maternal determinants of self-
reported dental health among Turkish school children aged 10-12 years. Community Dental
Health.2008; 25: 84-8.
8. Helen V, Kirsty B, Jeanette M, Fiona A, Anthony S. A Cluster Randomized Controlled Trial of
a Dental Health Education Program for 10-year-old Children. Journal of Public Health
Dentistry. 2001; 61(1): 22-7.
9. Choo A, Delac DM, Messer LB. Oral hygiene measures and promotion: Review and
considerations.Aust Dent J. 2001; 46(3): 166-73.
10. กิดานันท์ มลิทอง: เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อรุณ
การพิมพ์. 2548; 123-30.
11. สุพรรณี ศรีวิริยกุล, พวงทอง เล็กเฟื่องฟู. การประเมินคู่มือการดูแลทันตสุขภาพด้วยตนเอง.
รายงานการวิจัย กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2538.
12. Sawyer-Morse MK, Evans A.Understanding Human Motivation. Primary Preventative
Dentistry. 6thed. London: Prentice Hall. 2003; 449-66.
13. ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2.
อุบลราชธานี:วิทยาการพิมพ์. 2544; 23-35.
14. Sgan-Cohen HD, HorevT,Zusman SP,Katz J, Eldad A. The prevalence and treatment of dental
caries among Israeli permanent force military personnel.Mil.Med.1999;164: 562-5.
15. Frazier PJ. School-based instruction for improving oral health: closing the knowledge gap. Int
Dent J.1980; 30(3): 257-68.