ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กรรณิกา ธนไพโรจน์
สุคนธ์ ไข่แก้ว
สมพันธ์ หิญชีระนันทน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์ ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการเข้าโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอายุรกรรม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์ 2) แบบบันทึกระยะเวลาในการรับและส่งเวรทางการพยาบาล 3) สมุดบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อโปรแกรม เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.91 และวิเคราะห์ความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและร้อยละความแตกต่าง


ผลการวิจัย: พบว่า ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์ ซึ่งวัดด้วยระยะเวลาเฉลี่ยในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลก่อนการใช้โปรแกรม 62.22 นาที ( = 62.22, S.D. = 10.77) และหลังการใช้โปรแกรม 53.85 นาที ( = 53.85, S.D. = 9.75) และพบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีอุบัติการณ์การเกิดความคลาดเคลื่อนจากการรับและส่งเวรทางการพยาบาลก่อนการใช้โปรแกรมจำนวน 11 ครั้งและหลังการใช้โปรแกรมจำนวน 5 ครั้ง มีความต่างร้อยละ 54.55ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อโปรแกรมอยู่ในระดับสูง ( = 3.67, S.D.= 0.49)


สรุปผลการวิจัย: โปรแกรมการสื่อสารในการรับและส่งเวรทางการพยาบาลด้วยเอสบาร์สามารถลดระยะเวลาในการรับและส่งเวรทางการพยาบาล ลดอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนจากการรับและส่งเวรทางการพยาบาลได้และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมในระดับสูง


คำสำคัญ: ประสิทธิผล โปรแกรมการสื่อสาร เอสบาร์ การรับและส่งเวรทางการพยาบาล

Article Details

บท
Original Article

References

1. กมลรัฐ อินทรทัศน์ และ พรทิพย์ เย็นจะบก. หลักและทฤษฏีการสื่อสาร. เข้าถึงได้จาก
https://pirun.ku.ac.th. เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559.

2. สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย. เครื่องมือในการประชาสัมพันธ์. เข้าถึงได้จาก
http://www.stou.ac.th. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2559.

3. Leonard M, Graham S, Bonacum D. The human factor: the critical importance of effective teamwork
and communication in providing safe care 2004; i85-90.

4. Joint Commission National Patient Safety Goal. Improving handoff communications: Meeting
National Patient Safety Goal 2E. The Joint Perspectives on Patient Safety 2006; 6(8): 9-15.

5. Markley J, Winbery S. Communicating with physicians: how agencies can be heard 2008; 20(2): 161-8.

6. Leonard J. 2009 International Conference. Nursing in Critical Care 2009; 14: 101.

7. ประภัสสร มนต์อ่อน. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการรายงานเปลี่ยนเวรของพยาบาลวิชาชีพ
โรงพยาบาลพุทธโสธร[พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการบริหารการพยาบาล, ชลบุรี: มหาวิทยาลัย
บูรพา; 2554.

8. เดชชัย โพธิ์กลิ่น. ผลของการรายงานเปลี่ยนเวรโดยใช้รูปแบบ SBAR ต่อความพึงพอใจในการสื่อสาร
ของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร[พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชา
การบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558.

9. กุลวรี รักษ์เรืองนาม. ผลของการพัฒนาการรับ-ส่งเวรด้วย SBAR ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ต่อความรู้และความสามารถในการรับ-ส่งเวร ของพยาบาลวิชาชีพ[พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].
สาขาวิชาการจัดการการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต;
2553.

10. The process of communication. Available at http://puvadon.multiply.com .Retrieved October 1, 2016.

11. Schuler RS, Jackson SE. Human Resource Management: International Perspectives. Thompson/
South-Western, United States 2006.

12. SBAR for improvement communication: Quality tool in practice.Available at
http://www.cdha,nshealth.ca/quality/ihiTools.html. Retrieved October 1, 2016.

13. บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. การพัฒนาและและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิง
จิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

14. สุภวรรณ พวงไกรส. ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กรกับ ประสิทธิผลการ
ปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท วิว แอนด์ ซี เอส จำกัด[บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. สาขาการจัดการทั่วไป
บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต; 2550.

15. ธเนศ ขำเกิด. ประเมิน (อย่างได้) ผลด้วย Kirk Patrick. เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org. เข้าถึง
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560.

16. พิมพ์ประพรรณ สถาพรพัฒน์. การพัฒนารูปแบบการรับส่งเวรทางการพยาบาลแบบ SBAR [พยาบาล
ศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย,เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;
2553.

17. เย็นใจ พิมพ์บรรณ, จรัญญา นาคบุตรศรี.พัฒนารูปแบบการรับ-ส่งเวรตึกพุทธรักษา, แผนกผู้ป่วยใน
พุทธรักษา โรงพยาบาลสว่างแดนดิน, สกลนคร; 2556.

18. มณทิพย์ ปฏิทัศน์และคณะ. โครงการพัฒนาระบบสื่อสารและลดความสูญเปล่าในการรับส่งเวร (Lean
Management) โดยใช้เอสบาร์, งานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมชายสามัญ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์
เฉลิมพระเกียรติ, ปทุมธานี; 2556.

19. ยุวดี เกตสัมพันธ์. การปฏิรูปหรือการเปลี่ยนแปลงการดูแลผู้ป่วย ณ ข้างเตียง. กรุงเทพมหานคร: สุขุมวิท
การพิมพ์; 2555.

20. กฤษณา สิงห์ทองวรรณ. การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรกรรม
โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่[พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย, เชียงใหม่:
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.