ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นุศริน โกสีย์วงศานนท์
สุคนธ์ ไข่แก้ว
เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเวรตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามวัดความรู้ในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร K-R20 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.74 และแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงานตามการรับรู้ของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สัดส่วน ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (paired t-test)


ผลการวิจัย: ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการมีความรู้ระดับสูง (=14.25, S.D.=1.74) และทักษะระดับปานกลาง (=3.29, S.D.=0.53) หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการมีความรู้ระดับสูง (=15.94, S.D.=2.34) และทักษะระดับดี (=3.54, S.D.=0.51) ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


สรุปผลการวิจัย:โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ สามารถพัฒนาความรู้และทักษะในการการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการได้ การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารทางการพยาบาล จึงควรนำการดำเนินการในโปรแกรมการมีส่วนร่วมในด้านการฝึกเชิงปฏิบัติการ ด้วยการใช้กรณีศึกษามาพัฒนาเพิ่มความรู้การนิเทศและทักษะด้านการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราการได้อย่างมีประสิทธิผล


คำสำคัญ: โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ

Article Details

บท
Original Article

References

1. อารี ชีวเกษมสุข. สมรรถนะผู้นำทางการพยาบาล แนวคิดและการพัฒนา. กรุงเทพ:บริษัทเฮ้าส์ ออฟ
เคอร์มิสท์ จำกัด; 2559.

2. ชูชัย สมิทธิไกร. การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย; 2558.

3. พิกุลโกวิทพัฒนา. หลักสูตรการเตรียมผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ กลุ่มภารกิจ
ด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.[พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].สาขาวิชาการบริหาร
การพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์,ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

4. Knowles MS, Holton EF, Swanson RA. The adult learner. Burlingto: Elsevier:2005.

5. สุภณิตา ปุสุรินทร์คำ. หลักการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก
http://opalnida.blogspot.com/2008/06/blog-post_13.html.

6. ชมพูนุท ทิพย์ฝั้น. การพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวร.
พยาบาลสาร. 2557;41(1):145-57.

7. นุชดา บุญซื่อ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการโรงพยาบาลคอนสาร
จังหวัดชัยภูมิ. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์,
ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

8. วารี วณิชปัญจพล. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้นิเทศการพยาบาล ใน
โรงพยาบาลสาธารณสุข. [ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์,กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2557.

9. ณรุทธ์ สุทธจิตต์. การวัดและการประเมินผลและการวิเคราะห์ข้อสอบ.[เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม2560]
เข้าถึงได้จาก http://www.air.or.th/AIR/doc/Lectures27062557_01.pdf

10. บุญชม ศรีสอาด. วิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น; 2553.

11. จงกลนี อุตตมะ. ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และสมรรถนะแห่งตนของพยาบาลในการดูแล
เด็กป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีอาการอ่อนเปลี้ยจากเคมีบำบัด. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].สาขาวิชา
การพยาบาลกุมารเวชศาสตร์,เชียงใหม่:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

12. Draganov PB, Andrade AC, Neves VR,Sanna MC. Andragogy in nursing: a literature review. Invest
Educ Enfer. 2013;31(1):86-94.

13. อุรา แสงเงิน, สุพัตรา อุปนิสากร, ทิพมาส ชิณวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทักษะใน
การช่วยฟื้นคืนชีพของพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์.
2555;32(1):1-9.

14. นภาพิไล ลัทธศักดิ์ศิริ. การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการ
ตัดสินใจสำหรับพนักงานระดับหัวหน้างานของศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจยานยนต์อีซูซุ ในภาคตะวันออก
ประเทศไทย. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม.2558;11(2): 235-46.