การเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยใช้โปรแกรมการฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ

Main Article Content

พัชรา สิริวัฒนเกตุ
กนก พานทอง
ภัทราวดี มากมี

บทคัดย่อ

บทนำ: ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ เป็นทักษะและความสามารถในการรับรู้ภาพ เป็นทักษะที่สำคัญและความสามารถพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และช่วยในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ของนักเรียนอาชีวศึกษา ดังนั้นจึงเป็นบทบาทหน้าที่ของครู และผู้เกี่ยวข้องจึงควรพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมในการเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เพื่อเตรียมพร้อมในการเรียนในระดับที่สูงขึ้นหรือและการประกอบอาชีพ


วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณสำหรับการเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ และเพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมโดยพิจารณาจากคะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์หลังใช้โปรแกรม


วิธีการดำเนินการวิจัย: ใช้แบบแผนการทดลองแบบ pretest and posttest control group designโปรแกรมการฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมแบบกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอาชีวศึกษา สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี. เทค) จังหวัดชลบุรี จำนวน  2 ห้องเรียน ๆ ละ 45 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มแบบขั้นตอนเดียว แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ และแบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และสถิติทดสอบที


ผลการศึกษา:


  1. 1. โปรแกรมการฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดในการเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนอาชีวศึกษา

  2. 2. คะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในกลุ่มทดลองหลังได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนได้รับการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  3. 3. คะแนนความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในกลุ่มทดลองหลังได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุป: โปรแกรมการฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม สามารถเพิ่มความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนอาชีวศึกษาได้


คำสำคัญ: ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ โปรแกรมการฝึกทักษะทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ

Article Details

บท
Original Article

References

1. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. แผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) งบประมาณ พ.ศ. 2557-2559. กรุงเทพฯ:สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อม; 2557.

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำรวจความต้องการแรงงานของสถานประกอบการ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ:
สำนักสถิติพยากรณ์; 2557.

3. Allam YS. Enhancing spatial visualization skills in first-year engineering students (Doctoral
dissertation, The Ohio State University); 2009.

4. Baddeley AD. Is working memory still working?. European Psychologist. 2002; 7(2):85.

5. Uttal DH, O’Doherty K, Newland R, Hand LL, DeLoache J. Dual representation and the linking of
concrete and symbolic representations. Child Development Perspectives.2009; 3(3): 156-9.

6. World Health Organization. Life skills education in schools (revised edition). Geneva: World Health
Organization-Program on Mental Health. 1997; 1-7.

7. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช
2556 เล่มที่ 1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม 3-4. กรุงเทพฯ: สำนักสถิติพยากรณ์; 2556.

8. King FJ, Goodson L, Rohani F. Higher order thinking skills. Retrieved January 31, 2011.

9. Jacobs EE, Masson RL, Harvill RL, Schimmel CJ. Group counseling: Strategies and skills. Cengage
Learning. Brooks/ Cole: Belmont;2011.

10. Dodick J, Orion N. Cognitive factors affecting student understanding of geologic time. Journal of
Research in Science Teaching.2003; 40(4): 415-42.

11. Edmonds WA, Kennedy TD. An applied reference guide to research designs: Quantitative, qualitative,
and mixed methods. London: SAGE Publications;2017.

12. Guilford JP. The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill; 1967.

13. Samsudin KA, Ismail A. The improvement of mental rotation through computer based multimedia
tutor. Malaysian Online Journal of Instructional Technology (MOJIT). 2004; 1(2): 24-34.

14. Legon W, Dionne JK, Meehan SK, Staines WR. Non-dominant hand movement facilitates the frontal
N30 somatosensory evoked potential. BMC Neuroscience.2010; 11(1): 112.

15. Lewis A, Smith D. Defining higher order thinking. Theory into Practice.1993; 32 (3): 131-7.


16. Bartels DM, Bauman CW, Cushman F, Pizarro DA, McGraw AP. Moral judgment and decision
making. In G. Keren & G. Wu (Eds.) The Wiley Blackwell Handbook of Judgment and Decision
Making. Chichester, UK: Wiley; 2014.

17. Batchelder WH, Alexander GE. Insight problem solving: A critical examination of the possibility of
formal theory. The Journal of Problem Solving. 2012; 5(1): 6.

18. มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร. Dialogue สุนทรียสนทนา: ศาสตร์แห่งการสร้างสรรค์สติปัญญาร่วมกันของ
มนุษย์. กรุงเทพฯ: โมโนธีม คอนซัลติ้ง; 2552.

19. Strickland OL, Lenz ER, Waltz C. Instrumentation and data collection. In Measurement in nursing and
health research (4th ed.). New York: Springer Publishing; 2010.

20. Ekstrom RB, French JW, Harman HH, Dermen D. Manual for kit of factor-referenced cognitive tests.
Princeton, NJ: Educational testing service;1976.

21. Pallrand GJ, Seeber F. Spatial ability and achievement in introductory physics. Journal of Research in
Science Teaching. 1984; 21(5): 507-16.