การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ
สุมนา จรณะสมบูรณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ และ 2) เพื่อประเมินคุณภาพโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยและพัฒนา ตามแนวคิดของ Moskowitz 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ โดยถามจากพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร 2) สร้างโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ ที่ผ่านการประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร 3) ทดลองใช้โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ กับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ฯ และ 4) ประเมินผลการใช้โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ ด้วยการเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่แสดงถึงสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ ก่อน - หลัง และหลังการทดลองใช้โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ 12 สัปดาห์


ผลการวิจัย: พบว่า 1) โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ฯ  มี 6 หน่วยการเรียน ได้แก่ สมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลฯ คุณลักษณะของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่พึงประสงค์ คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ด้วยแนวคิดการบริหารการพยาบาลยุคใหม่ การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรนวัตกรรม และการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2) การประเมินคุณภาพของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ฯ ดังนี้ 2.1) พฤติกรรมการปฏิบัติงานตามสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ หลังสิ้นสุดการใช้โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับสังกัดผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ฯ สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับสังกัดผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  2.2) พฤติกรรมการปฏิบัติงานตามสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ หลังการใช้โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ 12 สัปดาห์ สูงกว่าหลังสิ้นสุดการใช้โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


สรุป: โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ พัฒนาตามแนวคิดของ Moskowitz ที่กำหนดหน่วยการเรียนสอดคล้องกับสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ   จึงส่งผลให้ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นฯ มีสมรรถนะสูงขึ้นและสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมายขององค์กร


คำสำคัญ: การบริหารทางการพยาบาล สมรรถนะ ผู้บริหารทางการพยาบาลทางการพยาบาลระดับต้น

Article Details

บท
Original Article

References

1. Royal Collage of Nursing. Frontline nurse leadership: an international perspective: Case Studies from Australia, New Zealand and the United States. Available at
https://www.rcn.org.uk/-/media/royal-college...nursing/.../br-0216.pdf. Retrieved January 10, 2018.

2. Gaesawasong R. A Review of Nurses’ Turnover Rate: Does Increased Income Solve the Problem of Nurses Leaving Regular Jobs. Available at http://submit.bangkokmedjournal.com/index.php/bangkok-medical-journal/article/viewFile/271/227 Retrieved January 18, 2018.

3. Hassan S. Impact of HRM Practices on Employee’ s Performance. Available at http://hrmars.com/hrmars_papers/Article_03_Impact_of_HRM_Practices_on_Employees_Performance.pdf Retrieved January 18, 2018.

4. กรุงเทพมหานคร สำนักยุทธศาสตร์ กองสารสนเทศภูมิศาสตร์. โครงสร้างการบริหารงานกรุงเทพมหานคร. เข้าถึงได้จากhttp://203.155.220.230/m.info/ department/. เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560.

5. Knowles MS. The adult learner: A neglected species. 4th ed. Houston: Gulf; 1990.

6. Knowles MS, Holton EF, III, Swanson R A. The adult learner: The definitive classic in adult education and human resource development. 7th ed. Amsterdam: Elsevier; 2011.

7. ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ. สมรรถนะสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2559; 12(2): 16 - 26.

8. Moskowitz M. A practical guide to training and development: Assess, design, deliver, and evaluate. San Francisco: Pfeiffer; 2008.

9. สุวิมล ติรกานันท์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

10. Baxter C. The Effect of Coaching on Nurse Manager Leadership of Unit Based Performance Improvement: Exploratory Case Studies. Available at https://uknowledge.uky.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1002&context=dnp_etds. Retrieved January 10, 2018.

11. Civiello CMB. An examination of the content, methodology, and effectiveness of first-line manager orientation programs in nonprofit hospitals. Available at https://elibrary.ru/item.asp?id= 5388095 Retrieved January 10, 2015.