ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยวัณโรคที่ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: เนื่องจากวัณโรคถือเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่ร้ายแรงและปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน คือ วัณโรคดื้อยา ซึ่งพบว่ามีรายงานการพบวัณโรคดื้อยาเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการรายงานถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาความชุกของเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยวัณโรคที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และหาความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
วิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบพรรณนา ศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) โดยตรวจสอบ เวชระเบียนและผลการตรวจเสมหะเพาะเชื้อวัณโรคย้อนหลัง 7 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 ถึง 31 ธันวาคม 2557 ณ แผนกผู้ป่วยนอก กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โดยใช้ข้อมูลพื้นฐาน ประวัติการได้รับการรักษาวัณโรคมาก่อน โรคร่วมของผู้ป่วย มาวิเคราะห์หาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ด้วย parametric t-test และ non parametric chi-square test หรือ fisher exact test
ผลการวิจัย: ในการศึกษานี้มีจำนวนผู้ป่วยเป็นวัณโรคทั้งสิ้น 1,173 คน เป็นชาย 802 คน และเป็นหญิง จำนวน 371 คน อายุเฉลี่ยของผู้ป่วย มีค่าเท่ากับ 42.9 ± 16.2 ปี พบว่า ความชุกของวัณโรคดื้อยาหลายขนานแบบปฐมภูมิ เท่ากับ ร้อยละ 3.13 และความชุกของวัณโรคดื้อยาหลายขนานแบบทุติยภูมิ เท่ากับ ร้อยละ 12.62 นอกจากนี้ ประวัติการได้รับการรักษาวัณโรคมาก่อนนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนาน โดยมีค่า Odds ratio (OR) เท่ากับ 22.8 ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 [CI]: 4.1 - 125.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเพศหญิง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานมากกว่าเพศชาย โดยมีค่า Odds ratio (OR) เท่ากับ 10 ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 [CI]: 0.01 - 0.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การเกิดเชื้อวัณโรคดื้อยาเป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานครไม่น้อยไปกว่าภาพรวมของประเทศ ประวัติการได้รับการรักษาวัณโรคยังคงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนาน นอกจากนี้ปัจจัยเรื่องเพศยังเป็นตัวแปรที่สำคัญอีกประการหนึ่ง การทราบถึงความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการป้องกันและช่วยการวางแผนการรักษาโรคต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ: ความชุก ปัจจัยเสี่ยง วัณโรคดื้อยาหลายขนาน
Article Details
References
http://www.who.int/tb/publications/global_report/en/, Retrieved June 1, 2016.
2. Jittimanee S, Vorasingha J, Mad-asin W, et al. Tuberculosis in Thailand: epidemiology and program
performance, 2001-2005. Int J Infect Dis 2009; 13: 436-42.
3. Faustini A, Hall AJ, Perucci CA. Risk factors for multidrug resistant tuberculosis in Europe: a systematic
review. Thorax 2006; 61(2): 158-63.
4. Suárez-García I, Rodríguez-Blanco A, Vidal-Pérez JL, et al. Risk factors for multidrug-resistant tuberculosis
in a tuberculosis unit in Madrid, Spain. Eur J Clin Microbiol Infect Dis 2009; 28(4): 325-30.
5. Biadglegne F, Rodloff AC, Sack U. Review of the prevalence and drug resistance of tuberculosis in prisons:
a hidden epidemic. Epidemiol Infect 2015; 143(5): 887-900.
6. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.
7. American Diabetes Association. Classification and diagnosis of diabetes. Diabetes Care 2015; 38
(Suppl. 1): S8–S16.
8. Ministry of Health Thailand. Fourth tuberculosis prevalence survey in Thailand, 2012.
9. Menzies D, Benedetti A, Paydar A, Martin I, Royce S, Pai M, Vernon A, Lienhardt C, Burman W. Effect of
duration and intermittency of rifampin on tuberculosis treatment outcomes: a systematic review and meta-
analysis. PLoS Med 2009; 6(9): e1000146.
10. Workicho A, Kassahun W, Alemseged F, et al. Risk factors for multidrug-resistant tuberculosis among
tuberculosis patients: a case-control study. Infect Drug Resist 2017; 10: 91-6.
11. Ricks PM, Mavhunga F, Modi S, et al. Characteristics of multidrug-resistant tuberculosis in Namibia. BMC
Infect Dis 2012; 12: 385-92.
12. Aguiar F, Vieira MA, Staviack A, et al. Prevalence of anti-tuberculosis drug resistance in an HIV/AIDS
reference hospital in Rio de Janeiro, Brazil. Int J Tuberc Lung Dis 2009; 13(1): 54-61.
13. Yang Y, Zhou C, Shi L, et al. Prevalence and characterization of drug-resistant tuberculosis in a local
hospital of Northeast China. Int J Infect Dis 2014; 22: 83-6.
14. Daniel O, Osman E. Prevalence and risk factors associated with drug resistant TB in South West, Nigeria.
Asian Pac J Trop Med. 2011; 4(2): 148-51.
15. Günther G, van Leth F, Alexandru S, et al. Multidrug-Resistant Tuberculosis in Europe, 2010-2011. Emerg
Infect Dis 2015; 21(3): 409-16.
16. Restrepo BI, Schlesinger LS. Impact of diabetes on the natural history of tuberculosis. Diabetes Res Clin
Pract 2014; 106(2): 191-9.
17. Law WS1, Yew WW, Chiu Leung C, et al. Risk factors for multidrug-resistant tuberculosis in Hong Kong.
Int J Tuberc Lung Dis 2008; 12(9): 1065-70.
18. Faustini A, Hall AJ, Perucci CA. Risk factors for multidrug resistant tuberculosis in Europe: a systematic
review. Thorax 2006; 61(2): 158-63.
19. Biadglegne F, Rodloff AC, Sack U. Review of the prevalence and drug resistance of tuberculosis in prisons: a
hidden epidemic. Epidemiol Infect 2015; 143(5): 887-900.