ผลของโปรแกรมการนิเทศทางคลินิก สำหรับผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

สุพัตรา สงฆรักษ์
สุคนธ์ ไข่แก้ว
เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการนิเทศทางคลินิก สำหรับผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น จำนวน 28 คน เลือกแบบเจาะจง และพยาบาลวิชาชีพผู้รับการนิเทศ จำนวน 206 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการนิเทศทางคลินิกตามแนวคิดของพรอคเตอร์และโมเดลโกลว์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการนิเทศทางคลินิก ทักษะการนิเทศทางคลินิก เจตคติต่อการนิเทศทางคลินิกของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น และแบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการนิเทศทางคลินิก ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน                 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ 0.81, 0.93, 0.86 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (paired t-test)


ผลการวิจัย: พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศทางคลินิกของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นหลังเข้าร่วมโปรแกรมการนิเทศทางคลินิกสูงกว่าความรู้ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ทักษะการนิเทศทางคลินิกและเจตคติต่อการนิเทศทางคลินิกของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการนิเทศทางคลินิกกับหลังเข้าร่วมโปรแกรมไม่แตกต่างกัน ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อการนิเทศทางคลินิกอยู่ในระดับมาก (= 3.83, S.D. = 0.42)


สรุปผลการวิจัย: โปรแกรมการนิเทศทางคลินิกมีผลทำให้ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศทางคลินิกของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นสูงขึ้น ผู้บริหารการพยาบาลระดับสูงควรสนับสนุนให้นำโปรแกรมการนิเทศทางคลินิกไปใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพด้านการนิเทศทางคลินิกแก่ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น


คำสำคัญ: โปรแกรมการนิเทศทางคลินิก ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น

Article Details

บท
Original Article

References

1. สภาการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลและการผดุงครรภ์. เข้าถึงได้จาก http://www.tnc.or.th. เข้าถึงเมื่อ
วันที่ 18 กันยายน 2559.

2. นิตยา ศรีญาณลักษณ์. การบริหารการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส; 2557.

3. รัชนี อยู่ศิริ และคณะ. การบริหารการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์การพิมพ์; 2551.

4. Wu T, Hu C. Dispositional antecedents and boundaries abusive supervision and employee emotional
exhaustion. National Chengchi University Group and Organization Management 2009; 34(2): 143-69.

5. เรวดี ศิรินคร. การนิเทศทางคลินิก. เข้าถึงได้จาก http://www1.si.mahidol.ac.th. เข้าถึงเมื่อวันที่ 23
กันยายน 2559.

6. พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์. คุณภาพการบริหารการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: วีพริ้น; 2551.

7. Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention in fundamental themes in
clinical supervision. London: Routledge; 2001.

8. สุเดือนเพ็ญ คงคะจันทร์ และคณะ. Coaching and Mentoring. เข้าถึงได้จาก http://www.edu.nrru.ac.th.
เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2559.

9 Alexander G. Behavioural coaching-the GROW model In Passmore, Jonathan. Excellence in coaching:
The industry guide 2nded. Philadelphia: Kogan; 2001.

10. สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกฯ; 2551.

11. Robinson J. Improving practice through a system of clinical supervision. Nursing Time 2005; 109(9):
30-2.

12. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาล และบริการสุขภาพ
ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. นนทบุรี: หนังสือดีวัน; 2558.

13. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย คุณสมบัติการวัด เชิงจิตวิทยา.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

14. นุชจรีย์ ชุมพินิจ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาล
ภูมิพลอดุลยเดช. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย,
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

15. วันทนีย์ ตันติสุข. การพัฒนาแบบแผนการนิเทศทางคลินิกแบบมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพ
โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหาร
การพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

16. รังสิยา ไผ่เจริญ. ผลของการนิเทศทางคลินิกตามแนวคิดของพรอคเตอร์ ต่อความรู้ความสามารถในการ
ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และความพึงพอใจในการนิเทศของพยาบาล. [พยาบาล
ศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการจัดการการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต;
2555.

17. สุนิภา ชินวุฒิ และคณะ. ผลของการใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนต่อการปฏิบัติการ
พยาบาลตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในวิชาปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาล. วารสาร
พยาบาลสงขลานครินทร์ 2556; 32(1): 27-38.

18. ผ่องศรี สุวรรณพายัพ, พรทิพย์ สุขอดิศัย และกรรณิกา อำพน. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการ
พยาบาล กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2556; 6(1):
12-26

19. อนันต์ พันนึก. การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [ศึกษา
ศาสตรดุษฎีบัณฑิต], สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, ขอนแก่น:
มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

20. อดาวัน ชมศิริ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศการพยาบาลในคลินิก ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาล
สมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์. [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิต
วิทยาลัย, ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.

21. วิภาพร วรหาญ และคณะ. การบริหารการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 5. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2552.

22. กัลยาณี ธูปแก้ว. ผลของการนิเทศทางคลินิกต่อความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ
ป้องกันปอดอักเสบจากการใส่เครื่องช่วยหายใจ และความพึงพอใจต่อการนิเทศทางคลินิกของพยาบาล
วิชาชีพ [พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการจัดการการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย,
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2558.