ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้ ทักษะ และเจตคติของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยพยาบาลวิชาชีพ ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

สาลี่ แซ่เบ๊
สมพันธ์ หิญชีระนันทน์
สุคนธ์ ไข่แก้ว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทักษะและเจตคติของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม และวิเคราะห์ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการสอนงาน และดูแลการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น


วิธีดำเนินการวิจัย: โดยนำโปรแกรมใช้กับประชากรผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องเฉพาะกลุ่มเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งหมดเท่านั้น ได้แก่ งานการพยาบาลสูติศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอนและคู่มือการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความรู้ ทักษะและเจตคติสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ดำเนินการโดยจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ประเมินผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นก่อนและหลังเข้าโปรแกรม สอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการสอนงานการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมทั้งการทดสอบสมมติฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย: พบว่า 1) ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นมีคะแนนความรู้ ทักษะ และเจตคติในการสอนงาน และดูแลการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมในทุกด้าน โดยความรู้อยู่ในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.35 (D = 2.35) คิดเป็นร้อยละ 10.46 ทักษะอยู่ในระดับสูงมาก มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.48 (D = 0.48) คิดเป็นร้อยละ 11.45 และเจตคติ อยู่ในระดับสูงที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.53 (D = 0.53) คิดเป็นร้อยละ 12.26 สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย 2) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการสอนงานการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ในระดับมากที่สุด (μ = 4.75, σ = 0.35) สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย


สรุปผลการวิจัย: โปรแกรมการพัฒนาความรู้ ทักษะ และเจตคติของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยพยาบาลวิชาชีพ นำรูปแบบการสอนงานตามแบบจำลองโกรว์ มาใช้ร่วมโปรแกรม ทำให้ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นมีความรู้ ทักษะ และเจตคติในการสอนงาน และดูแลการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยรวมสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมในทุกด้าน และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการสอนงานและดูแลการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระดับมากที่สุด


คำสำคัญ: โปรแกรม ความรู้ ทักษะ เจตคติ ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Article Details

บท
Original Article

References

1. WHO/UNICEF. Global Strategy for Infant and Young Child Feeding. Geneva; 2003.

2. สำนักการพยาบาล. เกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
สามเจริญพานิชย์; 2551.

3. นิตยา ศรีญาณลักษณ์. การบริหารการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ
สถาบันพระบรมราชชนก; 2554.

4. อนันต์ พันนึก. การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
[ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, ขอนแก่น:
มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

5. Alexander G. Behavioral coaching-the GROW model in Passmore, Jonathan. Excellence in
coaching: The industry guide 2nd ed. Philadelphia: Kogan; 2010.

6. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมแปล ไทย-อังกฤษ ราชบัณฑิตยสถาน ม.ป.ท.; ม.ป.ป. เข้าถึงได้จาก
https://dictionary.sanook.com/search. เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560.

7. ดนยา โรจนชีวะ. ผลของการจัดการรูปแบบการให้ความรู้แก่มารดาหลังคลอดครรภ์แรกต่อการรับรู้
ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดสุพรรณบุรี. [พยาบาล
ศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการจัดการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน;
2555.

8. Hong TM, Callister LC, Schwartz R. First-time mother’ views of breast feeding support from
nurses. MCN Am J Matern Child Nurs. 2003; 28: 10-5.

9. Mc Innes RJ, Chambers JA. Supporting breastfeeding mothers: Qualitative synthesis. J Adv Nurs.
2008; 62(4): 407-27.

10. Moran VH, Bramwell R, Dykes F, Dinwoodie K. An Evaluation of skills acquisition on The
WHO/UNICEF breastfeeding management course using the pre-validated breastfeeding support
skills tool BeSST. Midwifery. 2000; 16: 197-203.

11. Patricia Carvalho de Jesus, Maria Ines Couto de Oliveira, Sandra Costa Fonseca. "Impact of Health
Professional Training in Breastfeeding on their Knowledge, Skills, and Hospital Practices: A
systematic review." Journal de Pediatria. 2016; 92(5): 436-50.

12. จิราภรณ์ รัตติกาลสุขะ และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. การบริหารงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับรางวัล
ดีเด่น. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 5(2): 179-86.

13. สถาบันฝึกอบรมเทรนนิ่ง. คน Gen Y คืออะไร ทำไมองค์กรต่าง ๆ ควรต้องเจียระไนคน Gen Y.
ม.ป.ท.; 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.entraining.net. เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2560.

14. สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และบุญทิพย์ สิริธรังศรี. สู่กระบวนทัศน์ใหม่ของผู้บริหารการพยาบาล.
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.

15. ปวรมนต์ ทัศนอนันชัย. ลักษณะการบริหารพยาบาลวิชาชีพ Generation Y. วารสารเกื้อการุณย์. 2557;
21(2): 126-38.

16. สุสัณหา ยิ้มแย้ม และคณะ. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร. 2558; 42(พิเศษ 1): 129-40.

17. จุฬารัตน์ ห้าวหาญ และอรชร อินทองปาน. การวิจัยและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนา
ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2558;
25(1): 167-77.