ผลทันทีของการพันผ้าเทปที่ลูกสะบ้าเข้าด้านในโดยใช้เทคนิคของ McConnell ต่อระดับความเจ็บปวด พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่า และความสามารถในการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม

Main Article Content

สศิมนต์ สกุลไกรพีระ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลทันทีของการพันผ้าเทปที่ลูกสะบ้าเข้าด้านในโดยใช้เทคนิคของ McConnell


ต่อระดับความเจ็บปวด พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่า และความสามารถในการเคลื่อนไหวในผู้ป่วย


ข้อเข่าเสื่อม


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว วัด 2 ครั้ง ก่อนและหลังการพันผ้าเทปที่ลูกสะบ้าเข้าด้านในโดยใช้เทคนิคของ McConnell ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเข้ารับการรักษาที่งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลกลาง จำนวน 60 ราย โดยวัดระดับความเจ็บปวด พิสัยการเคลื่อนไหว ข้อเข่าในทิศทางเหยียด งอ และความสามารถในการเคลื่อนไหว โดยประเมินผลทันทีหลังจากการพันผ้าเทป


ผลการวิจัย: กลุ่มศึกษามีอายุเฉลี่ย 65.22 + 9.08 ปี  มีระดับความเจ็บปวดก่อนการพันผ้าเทป 60.98 + 18.63 มิลลิเมตร หลังการพันผ้าเทป 34.65 + 19.65 มิลลิเมตร พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าในทิศทางงอ ก่อนการพันผ้าเทป 106.34 + 14.48 องศา หลังการพันผ้าเทป 107.35 + 13.71 องศา พิสัยการเคลื่อนไหวข้อเข่าในทิศทางเหยียด ก่อนการพันผ้าเทป  6.11 + 4.65 องศา หลังการพันผ้าเทป 5.80 + 4.22 องศา และความสามารถในการเคลื่อนไหว ก่อนการพันผ้าเทป 15.38 + 6.12 วินาที หลังการพันผ้าเทป 12.64 + 4.97 วินาที และเมื่อวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า กลุ่มตัวอย่างหลังได้รับการพันผ้าเทป มีระดับความเจ็บปวดลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าทั้งในทิศทางเหยียดและงอเพิ่มขึ้น และความสามารถในการเคลื่อนไหวดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพันผ้าเทป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่  p < 0.05


สรุป: การพันผ้าเทปที่ลูกสะบ้าเข้าด้านในโดยใช้เทคนิคของ McConnell เป็นทางเลือกในการรักษาแบบไม่ใช้ยา ร่วมกับวิธีการรักษาอื่นทางกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. นงพิมล นิมิตอานันท์. สถานการณ์การระบาดวิทยาและการประเมินความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมใน
คนไทย: Journal of The Royal Thai Army Nurse.2014; 15(3): 185-94.
2. Agency for Healthcare Research and Quality (AHRQ). American Academy of Orthopedic Clinical
Practice guideline on the treatment of Osteoarthritis of the knee. 2nded.2013; www.hhr.gov/
research/finding/nhqr13/index.html.
3. ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย.แนวปฏิบัติบริการการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม 2553
เข้าถึงได้จาก http://www.rcost.or.th/thai/data/2010/Guidlineknee_Edit_Nov_30_2010.pdf. เข้าถึงเมื่อ
วันที่ 25 สิงหาคม 2560.
4. Kuptniratsaikul V, Tosayanonda O, Nilgamuwong S, Thamalikitkul V. The efficacy of a muscle
exercise program to improve functional performance of knee in patients with osteoarthritis. Journal Med
Assoc Thai. 2002; 85: 33-40.
5. Page Cl, Hinman RS, Bennell KL. Physiotherapy management of knee osteoarthritis.International
journal of rheumatic diseases. 2011; 14(2): 145-51.
6. ภาวิณี เสริมชีพ, พรรณี ปึงสุวรรณ,วิชัย อึงพินิจพงศ์, อุไรวรรณ ชัชวาล, รุ้งทิพย์ พันธ์เมธากุล.โปรแกรม
การดูแลสุขภาพตนเองด้วยการรักษาทางกายภาพบำบัดและแบบแพทย์แผนไทยสำหรับวัยสูงอายุที่มี
ภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน.วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2555; 1: 50-63.
7. พิมพ์ชนก องค์สันติภาพ, อุบล พุรุณสาร, อาทิตย์ พวงมะลิ. ความน่าเชื่อถือได้ของการวัดในตัวแปรที่ใช้
ประเมินภาวะข้อเข่าเสื่อม.Journal of Bull ChiagmaiAssoc Med Sci 2015; 48(2): 107-13.
8. Mouard LA, Drostle MM. A Nursing process in the care of adult orthropedic condition .3rded, Delmar
Publishers, 1993.
9. Moskowitzis RW, Goldberg VM. Osteoarthritis. In H.R. Schmacher, eds. Primer on rheumatic disease.
9thed Atlanta: Arthritis Foundation, 1988.
10. Ding C, Cicuttini F, Blizzard L, Jones G. Genetic mechanisms of knee osteoarthritis: a population-
based longitudinal study. Arthritis Res Ther 2006; 8: R8.
11. Jiang L, Tian W, Wang Y. Body mass index and susceptibility to knee osteoarthritis: A systematic
review and meta-analysis. J Bone Spine 2012; 79(3): 291-7.
12. Dahaghin S, Tehrani-banihashemi A, Faezi ST, Jamshidi AR, Davatchi F. (2009). Squatting, sitting on
the floor, or cycling: Are life-long daily activities risk factors for clinical knee osteoarthritis. Arthritis
and Rheumatism. 2009; 61(10): 1337- 42.
13. Acheson RM, Chan YK, Clemett AR. New Haven survey of joint diseases. XII. Distribution and
symptoms of osteoarthritis in the hand with reference to handedness. Ann Rheum Dis 1970; 29:
275-85.
14. Cushnaghan J, McCarthy C, Dieppe P.Taping the patella medially: A new treatment for osteoarthritis
of the knee joint. Br Med Journal.1994; 308: 753-55.
15. Hinman RS, Bennell k, Prossley K, McConnell J. Immediate effects of adhesive tape on pain and
disability in individuals with knee osteoarthritis. Rheumatology (Oxford, England). 2003; 42(7): 865-
69.
16. Hinman RS, Crossley KM. Patellofemoral joint osteoarthritis: An important subgroup of knee
osteoarthritis. Rheumatology. 2007; 46: 1057-62.
17. Duncan R, Hay E, Saklatvala J, Croft P. Prevalence of radiographic osteoarthritis: It all depends on
your point of view. Rheumatology. 2006; 45: 757-60.
18. Aminaka N, Gribble PA. Systematic Review of the Therapeutic Taping on patellofemoral Pain
Syndrome. Journal of Athletic Training. 2005; 40(4): 341-51.