ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของผู้สูงอายุที่มาใช้บริการในคลินิกเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภาพร คล่องกิจเจริญ
วศินา จันทรศิริ
ศริศักดิ์ สุนทรไชย
ภารดี เต็มเจริญ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่ออธิบายปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามโภชนบัญญัติสำหรับผู้สูงอายุ 2) เพื่อประเมินภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามโภชนบัญญัติสำหรับผู้สูงอายุ ระหว่างผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการปกติและภาวะโภชนาการเกิน


วิธีการดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังที่มาใช้บริการในคลินิกเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 240 คน ใช้วิธีการสุ่มรายชื่อผู้ป่วยและสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเพียร์สันไคสแควร์ และฟิชเชอร์ เอกแซค


ผลการวิจัย: 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 70 - 79 ปี นับถือศาสนาพุทธ มีสถานภาพสมรสและหม้ายเท่ากัน จบระดับประถมศึกษา มีรายได้พอใช้จ่ายแต่ไม่เหลือเก็บ ออกกำลังกายทุกวันด้วยวิธีการเดิน อาศัยอยู่กับบุตรหลาน มีโรคความดันโลหิตสูง รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการจากบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ได้เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ มีความรู้เกี่ยวกับโภชนบัญญัติสำหรับผู้สูงอายุในระดับสูง มีทัศนคติที่ดีต่อโภชนบัญญัติสำหรับผู้สูงอายุ และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามโภชนบัญญัติสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในระดับดี  2) การประเมินภาวะโภชนาการ พบว่า ผู้สูงอายุมีภาวะโภชนาการเกิน  ร้อยละ 72.1 ปกติ ร้อยละ 22.5 และผอม ร้อยละ 5.4 และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน พบว่า อายุ (p < 0.001) โรคกระดูกพรุน (p = 0.024) โรคสมองเสื่อม (p = 0.043) และการเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ (p = 0.044) มีความสัมพันธ์ในเชิงผกผันกับภาวะโภชนาการเกินในผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


สรุป: กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการเกินมีจำนวนคนที่มีอายุ 80 ปี ขึ้นไป มีโรคกระดูกพรุน โรคสมองเสื่อม และเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุน้อยกว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (สทส.); 2553.
2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. เผยผลสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย 2560; 2561. เข้าถึงได้จาก
http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N10-07-61.aspx. เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2561.
3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร:
บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2557.
4. สุชญา พ้นภัย, ทวีศักดิ์ เตชะเกรียงไกร, ทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ. ภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม
ติดบ้าน และติดเตียง ในอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง. วารสารคหเศรษฐศาสตร์. 2559; 59(3): 48-60.
5. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. สถิติ 2559 กรุงเทพมหานคร; 2560. เข้าถึงได้จาก
http://203.155.220.230 /m.info/bkkstat/. เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562
6. กลุ่มงานอนามัยชุมชน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. รายงานผลการดำเนินงาน โครงการผู้สูงวัย ใส่
ใจสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์; 2559.
7. กลุ่มงานอนามัยชุมชน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. รายงานผลการดำเนินงาน โครงการผู้สูงวัย ใส่
ใจสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์; 2560.
8. กลุ่มงานอนามัยชุมชน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. รายงานผลการดำเนินงาน โครงการผู้สูงวัย ใส่
ใจสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์; 2561.
9. Fauziana R, Jeyagurunathan A, Abdin E, Vaingankar J, Sagayadevan V, Shafie S, et al. Body mass
index, waist-hip ratio and risk of chronic medical condition in the elderly population: results from the
Well-being of the Singapore Elderly (WiSE) Study. BMC Geriatrics. 2016; 16(125): 1-9.
10. Kalish VB. Obesity in Older Adults. Available at http://primarycare.theclinics.com.2016. Retrieved
October 31, 2018.
11. ธัญญานี สอนบุตรนาค. จำนวนและสถิติโรคที่พบบ่อยของผู้สูงอายุที่มารับบริการโรงพยาบาลเจริญกรุง
ประชารักษ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์; 2560.
12. เกณิกา จันชะนะกิจ. อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ Food and Nutrition for the Older adults.
วารสาร Mahidol R2R e-Journal 2559; 3(2): 1-11.
13. ประไพศรี ศิริจักรวาล. ข้อแนะนำการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุไทย. การประชุม
วิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 11 เรื่อง อาหารสุขภาพเพื่อชีวิต; ศูนย์นิทรรศการและการประชุม
ไบเทค บางนา; กรุงเทพมหานคร: ปัญญามิตรการพิมพ์; 2560: 82-9.
14. วรรณวิมล เมฆวิมล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ จังหวัด
สมุทรสงคราม; 2555. เข้าถึงได้จาก http:// www.ssru.ac.th. เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561.
15. วิจิตรา ศรีชะนนท์ และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ
ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสมบูรณ์; 2558. เข้าถึงได้จาก
https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=2&ved=2ahUKEwjy0v_
33fbeAhXMuo8KHVBxCDsQFjABegQIBhAC&url=http s%3A%2F%2Ftci- thaijo.org%2Findex.
php%2FJHR%2Farticle%2Fdownload%2F18341%2F16137%2F&usg= AOvVaw2 Qf5ewPvycge
6JxarRQjV0. เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2560.
16. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ; 2560. เข้าถึงได้จาก
http://www.thaihealth.or.th/Content/35234-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%
AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%
B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9C%
E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%
B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8.html. เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561
17. สุพรรณี พฤกษา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ;
2559. เข้าถึงได้จาก http://www.fhpprogram.org/media/pdfs/reports/7bf0742 a4c9f889a1e9e29e5ae
9211a9.pdf. เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561.
18. กฤติน ชุมแก้ว, ชีพสุมน รังสยาธร. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุใน
จังหวัดสงขลา. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม). 2557; 35(1): 16-29.
19. สมจิตร มาตยารักษ์, ผ่องพรรณ อรุณแสง. ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการใน
ผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรังที่มารับบริการที่คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารการ
พยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557; 32(4): 152-61.
20. วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, กนิษฐา ไทยกล้า, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพ
ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิค
แอนด์ดีไซน์; 2559.
21. Porter Starr KN, Bales CW. Excessive Body Weight in Older Adults: Concerns and
Recommendations. Available at https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4510467/.2015.
Retrieved January 28, 2019.