การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานความสมบูรณ์ของการสรุปเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จตุพร กลมปั่น
อรรถพล กาญจนพงษ์พร
อุดมสิทธิ์ จีรสิทธิ์กุล
ฐิตารีย์ ศิริศรีษรชัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการระบบสารสนเทศสำหรับนำไปพัฒนาเป็นต้นแบบระบบสารสนเทศ  เพื่อการรายงานความสมบูรณ์ของการสรุปเวชระเบียนผู้ป่วยในตามกระบวนการ พัฒนาระบบ SDLC และการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ และผู้ใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศ ในการรายงานผลความสมบูรณ์ของการสรุปเวชระเบียนผู้ป่วยในที่พัฒนาขึ้น


วิธีการดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ใช้วิธีสัมภาษณ์จากแบบสัมภาษณ์ความต้องการระบบสารสนเทศจากประชากร 3 กลุ่ม คือ กลุ่มประชากรระดับผู้บริหาร จำนวน 5 คน กลุ่มประชากรผู้ใช้ระบบสารสนเทศ (เจ้าหน้าที่เวชสถิติ) จำนวน 13 คน  กลุ่มประชากรที่เป็นคณะกรรมการเวชระเบียนของโรงพยาบาลซึ่งเป็นแพทย์ จำนวน 9 คน เพื่อนำมาจัดทำระบบสารสนเทศ ตามกระบวนการ SDLC โดยในการวิจัยเชิงปริมาณนั้นใช้วิธีศึกษาระดับความพึงพอใจจากแบบสอบถามจากประชากร 3 กลุ่ม คือ กลุ่มประชากรระดับบริหาร จำนวน 5 คนกลุ่มประชากรผู้ใช้ระบบสารสนเทศ (เจ้าหน้าที่เวชสถิติ ) จำนวน 13 คน กลุ่มประชากรแพทย์ผู้ใช้ข้อมูล         จากระบบสารสนเทศ จำนวน 126 คน


ผลการวิจัย: จากผลการวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้พบว่า ผู้ใช้ต้นแบบระบบสารสนเทศเพื่อการรายงานความสมบูรณ์ของการสรุปเวชระเบียนผู้ป่วยใน เชื่อว่าระบบต้นแบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยแก้ปัญหาความไม่สมบูรณ์ของการสรุปเวชระเบียนผู้ป่วยใน จากระบบรายงานที่ได้จากต้นแบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น และระบบสารสนเทศใช้งานได้ง่าย ไม่มีความซับซ้อนใช้เวลาไม่นานในการบันทึกข้อมูล รวมถึงมีการประมวลผลที่ถูกต้อง ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศมีความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศต้นแบบที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมของระบบสารสนเทศที่มีคุณภาพในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งได้แก่  ด้านความเชื่อถือได้ ด้านความทันต่อเวลา และความง่ายต่อการใช้งาน ผู้ใช้ข้อมูลจากระบบสารสนเทศความพึงพอใจต่อระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพในระดับความพึงพอใจมาก ซึ่งได้แก่ ด้านความสมบูรณ์ด้านความเข้าใจง่ายและด้านความเกี่ยวข้องกัน


 


สรุป: จากการวิจัยในครั้งนี้ คือ อนาคตควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศในการรายผลความสมบูรณ์ของการสรุปเวชระเบียนผู้ป่วยในเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของของโรงพยาบาลใช้งานผ่านระบบเครือข่าย นอกจากนี้ควรมีการศึกษาความต้องการของประชากรในกลุ่มแพทย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการตรวจสอบหลักฐานในเวชระเบียนของสำนักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: 2557.
2. โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2555.
3. DeLone WH, McLean ER. Information System Success. Journal of Management Information System
2003; 19: 9-30.
4. ชัยรัตน์ รอดเคราะห์. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานปริญญานิพนธ์[วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ; 2555.
5. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพข้อมูลในระบบบริการสุขภาพด้านการ
บันทึกข้อมูลผู้มารับบริการและการให้รหัส ICD. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทสามเจริญพาณิชย์; 2558.
6. ไพบูลย์ เกียรติโกมล, ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น;
2556.
7. ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, เจษฏาพร ยุทธนาวิบูลย์ชัย. ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้.
กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2549.