การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบด้านการรักษาที่เภสัชกรชุมชนไทยนำเสนอคุณค่าต่อผู้มารับบริการร้านยา

Main Article Content

เบ็ญจลักษณ์ มนต์สุวรรณ
อรรถไกร พันธุ์ภักดี
ชื่นจิตร กองแก้ว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการบริการด้านการรักษาของเภสัชกรชุมชนไทย  และรูปแบบการบริการในร้านยา โดยวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบธุรกิจร้านยา


วิธีการดำเนินการวิจัย: การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบโดยสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเลคทอนิก PubMed, Scopus, MEDLINE, TIC และCochrane CENTRAL สืบค้นด้วยมือ (ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2548 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2561) ทำการประเมินคุณภาพงานวิจัย ด้วยเครื่องมือ Risk of Bias, JADAD score และ Downs and Black  การวิเคราะห์การบริการภายใต้กรอบแนวคิดรูปแบบจำลองธุรกิจ (business model canvas) ภายใต้กรอบแผนผังรูปแบบจำลองธุรกิจ Alexander J ด้านคุณค่าการบริการ (value proposition)


 ผลการวิจัย: พบงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์ 69 ฉบับ งานวิจัยที่สามารถวิเคราะห์เชิงปริมาณ 12 ฉบับ และผลลัพธ์ของการให้บริการ เช่น การบริการการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ (refill prescription service) การวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบจำลองธุรกิจ (business model canvas) พบว่า จากทั้งหมด 9 องค์ประกอบ มีข้อมูลเพียง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณค่าที่นำเสนอต่อลูกค้า (value propositions) 2) กลุ่มลูกค้าหลักของร้านยา (customer segments) 3) ช่องทางการสื่อสาร (channels) 4) ทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจร้านยา (key resources) และ 5) กิจกรรมหลักในร้านยา (key activities) โดย 4 องค์ประกอบที่ไม่พบ ได้แก่ 1) สายสัมพันธ์ระหว่างร้านยากับกลุ่มผู้มารับบริการ (customer relationships) 2) เงินสดที่ธุรกิจจะได้รับหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว (revenue streams) 3) เครือข่ายที่ร่วมให้บริการ (key partnership) และ 4)โครงสร้างต้นทุน (cost structure)


สรุป: การบริการด้านการรักษาของเภสัชกรชุมชนดังกล่าว สามารถนำมาเป็นข้อมูลประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทการบริการของร้านยาคุณภาพที่มีเภสัชกรประจำร้าน เพื่อเป็นการบริการที่มีคุณค่าให้แก่ผู้มารับบริการ ต่อการให้บริการประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Knowlton BJ. Category learning in amnesia. In Emotion, Memory and Behavior:Study of Human and Non-human Primates. (T. Nakajima & T. Ono, eds.) Boca Raton,FL; CRC Press 1995.
2. เฉลิมศรี ภุมมางกูร, ปิยวัฒน์ ประภูชะกา, พยอม สุขเอนกนันท์, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์, พีรยา สมสะอาด, หนึ่งฤทัย สุกใส และคณะ. การทบทวนงานวิจัยด้านเภสัชกรรมชุมชนอย่างเป็นระบบ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2555; 8(2): 76-93.
3. Golboo Pourabdollahian. Proposal of an Innovative Business Model for Customized Production in Healthcare Scientfic Research; 1147-1160; 2014.
4. Higgins J, Altman D, Sterne J. Assessing risk of bias in included studies. In: Higgins J,Green S, editors. Cochrane Handbook for Systematic Reviews of Interventions: The Cochrane Collaboration. 2009.
5. Jadad AR, Moore RA, Carroll D, Jenkinson C, Reynolds DJ, Gavaghan DJ, et al. Assessing the quality of reports of randomized clinical trials: is blinding necessary Control Clin Trials 1996; 17(1): 1-2.
6. Downs SH, Black N. The feasibility of creating a checklist for the assessment of the methodological quality both of randomized and non-randomized studies of health care interventions; 1996.
7. Joyce A, Paquin RL. The triple layered business model canvas-a tool to design more sustainable business models SBM. 2015.
8. ฐปกรณ์ ศรีโสภา. การคัดกรองและติดตามผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ณ ร้านยาคุณภาพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.
9. พิราญาณ์ วงศ์พัฒนาธนเดช, พีรยา สมสะอาด และพรชนก ศรีมงคล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการคัดกรองและให้คำแนะนำส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในร้านยามหาวิทยาลัย สาขาเทศบาล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2554; 5(3): 344-54.
10. สุพรรณภา ธนาสูรย์. ผลการคัดกรองและการให้คำแนะนำในการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในร้านยาคุณภาพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
11. ดวงนภา บุตรเรืองศักดิ์. ผลการคัดกรอง และการให้โปรแกรมทางสุขภาพในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ร้านยามหาวิทยาลัย สาขาท่ายาง. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
12. ภัทรพงศ์ อุตรินทร์. ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยอาหารไม่ย่อยในร้านยา ณ ร้านยาเภสัชชูศักดิ์ จังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2552.
13. วสันต์ บึงลี. การเพิ่มความเหมาะสมของการซักประวัติ การให้คำแนะนำและการให้การรักษาของเภสัชกรชุมชนสำหรับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยผู้ใหญ่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
14. เอกรัฐ เหาะเหิน. ผลของการกระตุ้นเตือนเรื่องการจ่ายยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนแก่ร้านยาในเขตอำเภอรอบนอก จังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.
15. ผกามาส คำนวนศิลป์. การจ่ายยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนในร้านยาแผนปัจจุบันเขตอำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.
16. สุภัทราพร ระภักดี. การเพิ่มความเหมาะสมในการซักประวัติให้คำแนะนำ และการจ่ายยาของเภสัชกรชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ด้วยแนวทางการคัดกรองโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนในผู้ป่วยผู้ใหญ่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
17. ศิริรักษณ์ กันยะกาญจน์. ผลการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยอาการอาหารไม่ย่อยโดยนิสิตเภสัชศาสตร์ ในร้านยามหาวิทยาลัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
18. ระพีพรรณ ฉลองสุข, สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย, และวิชัย สันติมาลีวรกุล. การศึกษาเปรียบเทียบระบบบริการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่โรงพยาบาลกับที่ร้านยาคุณภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550; 1(3-4): 249-61.
19. อุกฤษฎ์ สนหอม. การบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 และความดันโลหิตสูงที่มารับยาต่อเนื่องที่ร้านยาคุณภาพในจังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
20. Osterwalder A, PigneurY. In Clark T,& Smith A. Business model generation:A handbook for visionaries, game changers and challengers. 2010.