ผลของโปรแกรมการดูแลเอื้ออาทรต่อความวิตกกังวลและการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรจากพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว

Main Article Content

ภัทราวดี บุตรคุณ
ทิพา ต่อสกุลแก้ว
วีนัส ลีฬหกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ผลของโปรแกรมการดูแลเอื้ออาทรในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว


วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังทดลอง (two group pre test-post test research design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 25 ราย และกลุ่มทดลอง 25 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการดูแลเอื้ออาทรตั้งแต่วันก่อนผ่าตัด 1 วันจนถึงวันจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย โปรแกรมการดูแลเอื้ออาทร แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลการเจ็บป่วยและการรักษา แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรตามการรับรู้ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ repeated measures ANOVA


ผลการวิจัย: ผู้ป่วยกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการดูแลเอื้ออาทร มีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลขณะรอผ่าตัดและหลังผ่าตัดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) และการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรพบว่า กลุ่มทดลองมีการรับรู้พฤติกรรมการดูแลแบบเอื้ออาทรสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้ง 5 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)


สรุป: การให้การพยาบาลตามโปรแกรมการดูแลเอื้ออาทรสามารถความวิตกกังวลลดลงของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอวทั้งในระยะรอผ่าตัดและระยะหลังผ่าตัด และยังส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรจากพยาบาลผู้ดูแลด้วย


คำสำคัญ: การดูแลเอื้ออาทร  ความวิตกกังวล การรับรู้พฤติกรรมเอื้ออาทร ผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Biglarian A, Seifi B, Bakhshi E, Mohammad K, Rahgozar M, Karimlou M, et,al. Low back pain
prevalence and associated factors in Iranian population: Findings from the national health survey. Pain Res
Treat 2012; Article ID 653060.
2. Hoy D, Brooks P, Blyth F, Buchbinder R. The epidemiology of low back pain. Best Practice & Research
Clinical Rheumatology 2010; 24(6): 769-81.
3. Waterman BR, Belmont PJ, Schoenfeld AJ. Low back pain in the United States: incidence and risk factors
for presentation in the emergency setting. The Spinal Journal 2012; 12(1): 63-70.
4. Alshami AM. Prevalence of spinal disorders and their relationships with age and gender. Saudi Med J
2015; 36(6): 725-30.
5. กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุขสาเหตุการเจ็บป่วยรายภาคต่อประชากร 1,000 คน. [อินเทอร์เน็ต].
2553[เข้าถึงเมื่อ12 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก http://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation
/statistic54/ statistic54.html.
6. งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน. สถิติผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว.
กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน; 2557.
7. งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน. สถิติผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว.
กรุงเทพมหานคร:โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน; 2558.
8. งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน. สถิติผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว.
กรุงเทพมหานคร:โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน; 2559.
9. ต่อพงษ์ บุญมาประเสริฐ. โรคข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม. เอกสารประกอบการบรรยาย ศูนย์โรค
ปวดหลัง โรงพยาบาลลานนา; 2554.
10. ไมตรี ยอดแก้ว, วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, ศรีสุดา วนาลีสิน. การทบทวนวรรณกรรม :แนวทาง ปฏิบัติการ
พยาบาลเพื่อลดความวิตกกงัวลขณะผ่าตัดและระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลัง. วารสารมหาวิทยาลัย
นราธิวาสราชนครินทร์ 2553; 2(3): 50-70.
11. สุภาภรณ์ กวัดแกว่ง. ผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลต่อความวิตกกังวลของสตรีที่
ได้รับการยุติการตั้งครรภ์เพื่อการรักษา. วารสารสภาการพยาบาล 2557; 29: 55-66.
12. นิตยา คชภักดี, สายฤดี วรกิจโภคาทร, มาลี นิสสัยสุข. แบบประเมินความวิตกกังวล. กรุงเทพมหานคร;
2533.
13. Spielberger CD, Sydeman SL. State trait anxiety inventory and state-trait anger expression inventory. In:
Maruish ME, editor. The use of psychological testing for treatment planning and outcome assessment.
Hillsdale: LEA; 1994.
14. สุภาพันธ์ เหมือนวัดไทร. ผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของแสวนสันต่อระดับความ
เศร้าโศกของหญิงที่สูญเสียบุตรจากการแท้งเอง. วารสารการพยาบาล 2553; 4: 86-94.
15. อัญชุลี ไชยวงศ์น้อย. ผลของการดูแลแบบเอื้ออาทรของสแวนสันต่อการทำกิจวัตรประจำวันและความผาสุก
ของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ].
ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.
16. สุภาภรณ์ กวัดแกว่ง. ผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลต่อความวิตกกังวล ของสตรีที่
ได้รับการยุติการตั้งครรภ์เพื่อการรักษา. วารสารสภาการพยาบาล 2557; 29: 55-66.
17. จรินรัตน์ วงษ์สมบัติ. ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสันต่อความเศร้าโศกจากการ
แท้งของสตรีมีบุตรยาก. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ,
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2558.
18. เฉลิมศรี ทรัพย์กอง. ผลการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลของสแวนสันใน
ผู้สูงอายุต่อการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรของผู้ป่วย [การศึกษาอิสระมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร
การพยาบาล]. กรุงเทพมหานคร: คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์; 2550.