ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในโรงพยาบาลเอกชน

Main Article Content

กฤติจิรา เตชะรุจิรา
วีนัส ลีฬหกุล
ศากุล ช่างไม้

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในด้านการรับประทานอาหาร และด้านการมีกิจกรรมทางกายในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร


วิธีการดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 ราย  แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 ราย กลุ่มควบคุม 35 ราย  ระยะเวลาศึกษา 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับเอกสารคู่มือการดูแลตนเองตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามโมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมีขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในด้านการรับประทานอาหาร และด้านการมีกิจกรรมทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบด้วย chi-square, t test และ ANCOVA


ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยรวมของพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหลังได้รับโปรแกรมฯ จาก 1.44 (SD=0.19) เป็น 1.65 (SD=0.19) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และ          สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05)  ในด้านพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย Thai CV risk score (%) จาก 5.30 (SD=3.37) เป็น3.76(SD=2.40) ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p <0.05)


สรุปผลการวิจัย: โปรแกรมฯ สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอีก 10 ปีข้างหน้าในคนที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ดังนั้น ควรส่งเสริมให้บุคลากรในโรงพยาบาลและบุคคลที่มีภาวะมีภาวะ      เมตาบอลิกซินโดรมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และมีการติดตามประเมินผลในระยะยาวเพื่อลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อไป


คำสำคัญ: โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บุคลากรที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ละอองดาว คำชาตา, ชดช้อย วัฒนะ และ ธีรนุช ห้านิรัติศัย. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อ
พฤติกรรมการจัดการตนเองเส้นรอบวงเอว ระดับน้ำตาลในเลือดและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและ
หลอดเลือดในผู้ที่มีกลุ่มอาการเมตาโบลิก. วารสารพยาบาลสาร 2560; 44: 65-76.
2. Wong-McClure RA, Gregg EW, Barceló A, Lee K, Abarca-Gómez L, Sanabria-López L, et al. Prevalence
of metabolic syndrome in Central America: a cross-sectional population-based study. Rev Panam Salud
Pu blica 2015; 38: 202–8.
3. วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5
พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.
4. Grundy SM. Pre-diabetes, metabolic syndrome, and cardiovascular risk. J Am Coll Cardiol 2012;
59: 635-43.
5. Jahangiry L, Farhangi MA, Fatemeh R. Framingham risk score for estimation of 10-years of
cardiovascular diseases risk in patients with metabolic syndrome. J Health Popul Nutr 2017;
36: 1-6.
6. Han TS, Lean ME. A clinical perspective of obesity, metabolic syndrome and cardiovascular disease.
JRSM Cardiovascular Disease 2016; 5: 1-13
7. ณัฐธิวรรณ พันธุ์มุง, นิตยา พันธุเวทย์, ลินดา จำปาแก้ว. แนวทางการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด
โรคหัวใจ และหลอดเลือด. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.
8. American Heart Association. 2013 Prevention guidelines tools CV risk calculator [Internet]. 2013
[cited 2019 April 17]. Available from https://professional.heart.org/professional.
9. GoffJr DC, Lloyd-Jones DM, Bennet G, Coady S, D’Agositino RB, Gibbons R, et al. 2013 ACC/AHA
guideline on the Assessment of Cardiovascular Risk. Circulation 2014; 129: S49-73.
10. Mendis F. The contribution of the framingham heart study to the prevention of cardiovascular
disease: A global perspective. Progress in Cardiovascular Diseases 2010; 53: 10-4.
11. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. Thai CV risk score [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ย.
2561] เข้าถึงได้จาก https://med.mahidol.ac.th/cvmc/th/thaicv.
12. อังศินันท์ อินทรกำแหง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์;
2560.
13. ธนิดา โอฬาริกชาติ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมสุขภาพและ
ระดับไขมันในเลือดพนักงานโรงแรมที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต].
สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558.
14. Prochaska J, Norcross JC, DiClemente CC. Changing for good: A revolutionary Six-Stage
Program for overcoming bad habits and moving you, life positively forward. New York:
Haper Collins Publishers Inc; 2010.
15. นิตยา สุขชัยสงค์. การประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการส่งเสริมการออกกำลังกาย
ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร [วิทยาศาสตร
มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.
16. จุรีพร คงประเสริฐ, ธิดารัตน์ อภิญญา, บรรณาธิการ. คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD
คุณภาพ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.
17. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ
อินเตอร์มีเดีย จำกัด; 2553.
18. อรวรรณ ประภาศิลป์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองในผู้ที่มีภาวะเมตา
บอลิกซินโดรม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.
19. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2558.
20. Ramli AS, Daher AM, Nor-Ashikin MK, Mat-Nasir N, Ng NK, Miskan M, et al. JIS definition
identified more Malaysian adults with metabolic syndrome compared to the NCEP-ATP III and
IDF criteria. BioMed Research International 2013; 1: 1-10.
21. Phuaphae J, Jitramontree N, Leelahakul V. Factors predicting self-management behaviors
among older persons with cardiovascular risks. J Nurs Sci 2015; 33: 41-50.
22. ภิษฐ์จีรัชญ์ พัชรกุลธนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคอ้วนในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ เขตเทศบาล ตำบล
บางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลทหารบก 2558; 16: 131-9.
23. ทรัพย์ทวี หิรัญเกิด, พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม, สุรชาติ สิทธิปกรณ์. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ต่อความรู้พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556;
31: 97-104.
24. แจ่มจันทร์ ประทีปมโนวงศ์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมการ
บริโภคอาหารและการอออกกำลังกายของผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีภาวะโภชนาการเกิน.
[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
25. พรศิริ พันธสี. โรคอ้วนลงพุง: ภัยมืดที่ป้องกันได้. วารสาร มฉก.วิชาการ 2556; 33: 151-64.
26. ปุณยวีร์ ประเสริฐไทย. ผลของการออกกำลังกายขนาดความหนักปานกลางที่บ้านในการลดความ
ดันโลหิตของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตเกือบสูง. วารสารสภาการพยาบาล 2553; 25: 80-95.
27. สุพิชญา หวังปิติพาณิชย์, แสงทอง ธีระทองคำ, มะลิวัลย์ ภาคพยัคฆ์. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกาย
แบบแรนสามสิบต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน ดัชนีมวลกายและค่าน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว
ของผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวาน. Rama Nurs J 2560; 23: 358-70.
28. รุสนี วาอายีตา, กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, บุญสิทธิ์ ไชยชนะ, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ.
ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง การกำกับ
ตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการลดน้ำหนักของบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โรงพยาบาล
รามัน จังหวัดยะลา. วารสารกระทรวงสาธารณสุข 2558; 24: 90-104.
29. พรรณิภา บุญเทียร, จงจิต เสน่ห์, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, จงกลวรรณ มุสิกทอง. ผลของโปรแกรม
สนับสนุนการจัดการตนเองต่อดัชนีมวลกาย พฤติกรรมการควบคุมภาวะเมตาบอลิกซินโดรมและ
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรตำรวจ. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18:
346-56.