การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการบริการด้วยระบบ SERVQUALของหน่วยจ่ายกลางโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

Main Article Content

เปรมฤดี ศิริคุปต์
พัชรา สิริวัฒนเกตุ
ประวิทย์ ทองไชย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริการด้วยระบบ SERVQUAL ของหน่วยจ่ายกลางโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพการบริการด้วยระบบ SERVQUAL ของหน่วย               จ่ายกลางของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ประกอบด้วยคาดหวังของผู้ใช้บริการ (customer expectation) และการรับรู้บริการของผู้ใช้บริการ (customer perception) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล


วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลในหน่วยผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ทันตกรรม และเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ที่ต้องติดต่อกับหน่วยจ่ายกลาง จำนวน 223 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิแบ่งตามสัดส่วนประชากร คำนวณขนาดตัวอย่างตามสูตรของ Krejcie and Morgan


ผลการวิจัย: ปรากฎว่า 1) ระดับคุณภาพการบริการด้วยระบบ SERVQUAL ของหน่วยจ่ายกลางโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ความคาดหวังต่อคุณภาพการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด และการรับรู้ต่อคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับมาก และ 2) ความคาดหวังของคุณภาพการให้บริการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลไม่ต่างกัน แต่การรับรู้คุณภาพการให้บริการของเพศชายและเพศหญิงต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


สรุป:  คุณภาพการบริการของหน่วยกลางโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์จากผู้ใช้บริการพบว่า ค่าช่องว่าง                         ติดลบมากที่สุด คือ ด้านการตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ รองลงมาเป็นด้านความเชื่อถือไว้วางใจและด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ การที่ช่องว่างติดลบหมายความว่าผู้ใช้บริการรับรู้ถึงคุณภาพการให้บริการน้อยกว่าความคาดหวัง


คำสำคัญ: หน่วยจ่ายกลาง   ระบบ SERVQUAL  โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ คุณภาพการบริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาหน่วยจ่ายกลาง. 2556. หน้า 1-2.
2. กนกพร ลีลาเทพินทร, พัชญา มาลือศรี, ปรารถนา ปุณณกิติเกษม. การประเมินระดับคุณภาพการบริการของ
โรงพยาบาลรัฐบาลในกรุงเทพฯด้วยแบบจำลอง SERVQUAL. วารสารวิจัยและพัฒนามจธ 2554; 34 (4):
443-5.
3. Parasuraman A, Zeithaml VA, Berry LL. A conceptual model of service quality and its implications for
future research. Journal of Marketing 1985; 49(4): 41-50.
4. Seth N, Deshmukh SG, Vrat P. Service quality models: a review. International Journal of Quality &
Reliability Management 2005; 22(9): 913-49.
5. สุทิน รินสาร. คุณภาพการบริการด้วยระบบ SERVQUAL ของบริษัท ABC [สารนิพนธ์ สาขาการจัดการโลจิสติก].
ชลบุรี: คณะโลจิสติก มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.
6. พัฒนะ ธนกฤตพุฒิเมธ. การประเมินคุณภาพการให้บริการของโรงแรมระดับ 4 ดาว บริเวณชายหาด 4 หาด
ในเมืองพัทยาโดยการประยุกต์ใช้ SERVQUAL Model. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และ
นานาชาติ ครั้งที่ 7; 23 มิถุนายน 2559; มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา. หน้า 383-95.