บทบาทของพยาบาลในการดูแลทารกแรกเกิดที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต

Main Article Content

พุทธวรรณ ชูเชิด
เฟื่องสุข ไพศาลกอบฤทธิ์
นิสาพร สลางสิงห์

บทคัดย่อ

บทนำ: ทารกเกิดก่อนกำหนดเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเด็ก โดยร้อยละ 45 ถึง 90 เกิดจากการยุติ ถอดถอนหรือยับยั้งการรักษาหรือเครื่องพยุงชีพ การเตรียมทารกเข้าสู่การตายอย่างสงบในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตจึงมีความสำคัญ รวมไปถึงการให้การสนับสนุนแก่ครอบครัวอย่างเหมาะสมตลอดระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญของพยาบาลวิชาชีพ


วัตถุประสงค์: เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของพยาบาลในการดูแลแบบประคับประคองทารกแรกเกิดในระยะสุดท้ายของชีวิตและการดูแลครอบครัวตามกรอบของกฎหมายและจริยธรรม


วิธีการดำเนินการศึกษา: เป็นการทบทวนวรรณกรรม


ผลการศึกษา: ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่เสียชีวิตภายในโรงพยาบาล พยาบาลวิชาชีพจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้การดูแลแบบประคับประคองเพื่อเตรียมทารกเข้าสู่การตายอย่างสงบในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตตามความต้องการของแต่ละครอบครัว ตลอดจนการรักษาศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ของทารกแรกเกิดในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ โดยการใช้การสื่อสารอย่างง่ายและตรงไปตรงมา การส่งเสริมครอบครัวให้ตัดสินใจที่จะยอมรับหรือปฏิเสธการดูแลแบบประคับประคอง การยอมรับครอบครัวในการตัดสินใจนำเครื่องช่วยหายใจออกและการเตรียมการพิธีศพ ตลอดจนการดูแลภาวะเศร้าโศกของครอบครัวจากการสูญเสียภายหลังทารกแรกเกิดจากไป


สรุป: พยาบาลที่ให้การดูแลแบบประคับประคองควรมีทัศนคติที่ดีในการดูแลทารกแรกเกิดระยะสุดท้าย และปฏิบัติการพยาบาลโดยเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายและจริยธรรม             


คำสำคัญ: ทารกแรกเกิด การดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต การดูแลแบบประคับประคองในทารกแรกเกิด บทบาทพยาบาล

Article Details

บท
บทความฟื้นฟูวิชาการ

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการสรุปสาเหตุการตายของแม่และเด็ก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2560.
2. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2560. [อินเทอร์เน็ต]. 2560[เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/stratistics60.pdf.
3. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย 2560. [อินเทอร์เน็ต]. 2560[เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://wops.moph.go.th/ops/thp/thp/index.php?id=338&group_=01&page=view_doc.
4. ณัฐพงศ์ จันทร์เจริญ. สาเหตุและอัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด อายุ 0 - 28 วัน โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaipediatrics.org/thesis/Chulalongkorn/Nattapong_Chancharoen.pdf.
5. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2554 - 2558. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.
6. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557. [อินเทอร์เน็ต]. 2557[เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner.
7. น้ำทิพย์ อินทับ. Withholding or withdrawing life sustaining treatment. ใน สันติ ปุณณะหิตานนท์, โสภาพรรณ เงินฉ่ำ, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล,บรรณาธิการ. Highlights in neonatal problems. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแอคทีฟพริ้นท์จำกัด; 2561. หน้า 316-33.
8. World health organization. Integrating palliative care and symptom relief into pediatrics: A WHO guide for health care planners, implementers and managers. Geneva: World Health Organization; 2018.
9. ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย, อิศรางค์ นุชประยูร, พรเลิศ ฉัตรแก้ว, ฉันชาย สิทธิพันธุ์, บรรณาธิการ. การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์; 2556.
10. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. [อินเทอร์เน็ต]. 2546 [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/% a493/ %a493-20-2546-a0001.pdf.
11. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. [อินเทอร์เน็ต]. 2550[เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://web.krisdika.go.th/ data/law/law2/% ca71/%ca71-20-9999-update.pdf .
12. วราภรณ์ คงสุวรรณ. การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิตที่ใช้เทคโนโลยี. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2558.
13. แพทยสภา. คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย. [อินเทอร์เน็ต]. 2558[เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://tmc.or.th/index.php/News/News-and-Activities/157.
14. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). คู่มือผู้ให้บริการสาธารณสุข กฎหมายและแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสามดีพริ้นติ้งอีควิปเมนท์จำกัด; 2560.
15. ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์, บรรณาธิการ. คู่มือการพยาบาลแบบประคับประคองฉบับพกพา. เชียงใหม่: Good work media; 2559.
16. Janvier A, Barrington K, Farlow B. Communication with parents concerning withholding or withdrawing of life-sustaining interventions in neonatology. Seminar in Perinatology [Inernet]. 2014 [cited 2019 February 10]; 38(1): 38-46. Available from https://www.ncbi.nlm. nih.gov/ pubmed/24468568 doi: 10.1053/j.semperi.2013.07.007.
17. Brian SC. Pediatric Palliative Care in Infants and Neonates. Children (Basel) [Inernet]. 2018 [cited 2019 January 19]; 5(2): 21. Available from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/ PMC5835990/ doi: 10.3390/children5020021.
18. พรรณพิไล ศรีอาภรณ์, เสาวนีย์ เหลี่ยมไตรรัตน์. ความเศร้าโศกในสตรีที่สูญเสียทารกในครรภ์หรือทารกแรกเกิด. พยาบาลสาร 2557; 41(ฉบับพิเศษ): 134-42.
19. โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ. การดูแลหลังการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในเวชปฏิบัติครอบครัวและปฐมภูมิ. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2561; 1(1): 17-30.
20. ชุติกาญจน์ หฤทัย, อัมราภัสร์ อรรถชียวัจน์, โศภิษฐ์ สุวรรณเกษาวงศ์. ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์ สื่อตะวัน จำกัด; 2559.
21. จินตนา เทพเสาร์, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์, อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทัศนคติและอุปสรรคกับพฤติกรรมของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเด็กแบบประคับประคอง. Journal of Nursing Science 2018; 36(2): 18-29.
22. ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี, ภาวดี เหมทานนท์, สาวิตรี ลิ้มกมลทิพย์. บทบาทพยาบาลในการดูแลแบบประคับประคองในทารกแรกเกิด. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2562; 35(2): 1-12.