บทบาทของเภสัชกรในการประเมินการใช้ยาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

Main Article Content

เพลินตา สิริมานุวัฒน์
อุษาศิริ ศรีสกุล
วราวุธ อัมพรวิโรจน์กิจ
สุภาพร พัฒนสาร
อภิโชติ โซ่เงิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินอัตราการรักษาด้วยยามาตรฐานตามแนวทางเวชปฏิบัติในผู้ป่วยแต่ละรายที่สมควรจะได้รับและประเมินปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากยา


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน (Retrospective analysis of quasi-experimental data)ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลวชนิดที่มีแรงบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง และได้รับการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวและโรคร่วม ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ ข้อมูลการรักษาด้วยยา บันทึกของเภสัชกรในการประเมินปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากยาการแก้ไขปัญหา และการติดตามผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2560 จากนั้น นำมาวิเคราะห์เพื่อประเมินและเปรียบเทียบอัตราการรักษาด้วยยามาตรฐานตามแนวทางเวชปฏิบัติ (guideline adherence indicator; GAI) และรายงานการประเมินปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากยา


ผลการวิจัย: ผู้ป่วยทั้งหมด 97 คน มีอายุเฉลี่ย 63.04 + 13.26 ปี และร้อยละ 58.8 เป็นเพศชาย โรคร่วมที่พบบ่อยได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (ร้อยละ 82.47) โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 78.4) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ร้อยละ 49.5) โรคไตวายเรื้อรัง (ร้อยละ 40.21) และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว (ร้อยละ 22.7)
หลังจากผู้ป่วยได้รับการดูแลจากคลินิกสหสาขาวิชาชีพ พบว่า อัตรา GAI สมบูรณ์ (ได้รับยาครบ 3 รายการ)
มีจำนวน 83 คน (ร้อยละ 85.6) ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากยา
พบทั้งหมด 401 ครั้ง ปัญหาที่พบบ่อย ได้แก่ ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา หรือการรักษา (ร้อยละ 38.4) การได้รับยาในขนาดต่ำเกินไป (ร้อยละ 23.7) และการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา (ร้อยละ 20.2) เภสัชกรมีบทบาทในการจัดการปัญหาโดยให้คำแนะนำผู้ป่วยร่วมกับแพทย์ปรับยา (ร้อยละ 53.6) การให้คำแนะนำ
แก่ผู้ป่วย (ร้อยละ 42.6) และแจ้งแพทย์ปรับยา (ร้อยละ 3.0) ส่งผลให้ปัญหาส่วนมาก (ร้อยละ 86.03)ได้รับ
การแก้ไขโดยสมบูรณ์ ยาที่เป็นสาเหตุพบว่าร้อยละ 43.27 เกิดจากยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว และร้อยละ 56.73 จากยารักษาโรคร่วม


สรุป: เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการประเมินการใช้ยา เพื่อส่งเสริมความเหมาะสมในการรักษาตามแนวทาง
เวชปฏิบัติ และเภสัชกรยังมีบทบาทในการจัดการปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากยา ด้วยการประเมิน แก้ไขปัญหา และติดตามปัญหาจากการใช้ยา ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเท่านั้น จะต้องครอบคลุมการรักษาโรคร่วมด้วย จึงจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับประสิทธิผลการรักษาด้วยยาได้อย่างเต็มที่ และมีความปลอดภัยจากการใช้ยา


 


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Go AS, Mozaffarian D, Roger VL, Benjamin EJ, Berry JD, Blaha MJ, et al. Executive summary: heart disease and stroke statistics--2014 update: a report from the American Heart Association. Circulation. 2014; 129:399–410.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข 2558 (Public health statistics A.D.2015). [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 30 มกราคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://bps.moph.go.th/new_bps

Jencks SF, Williams MV, Coleman EA. Rehospitalizations among patients in the Medicare fee-for-service program. New Engl J Med. 2009; 360:1418–28.

Barasa A, Schaufelberger M, Lappas G, Swedberg K, Dellborg M, Rosengren A. Heart failure in young adults: 20-year trends in hospitalization, aetiology, and case fatality in Sweden. Eur Heart J. 2014;

:25–32.

Levy D, Kenchaiah S, Larson MG, Benjamin EJ, Kupka MJ, Ho KK, et al. Long-term trends in the incidence of and survival with heart failure. New Engl J Med. 2002; 347:1397–402.

Roger VL, Weston SA, Redfield MM, Hellermann-Homan JP, Killian J, Yawn BP, et al. Trends in heart failure incidence and survival in a community-based population. JAMA. 2004; 292:344–50.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและ

การดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เอ-พลัส พริ้น; 2557.

Fonarow GC, Yancy CW, Hernandez AF, Peterson ED, Spertus JA, Heidenreich PA, et al. Potential impact of optimal implementation of evidence-based heart failure therapies on mortality. Am Heart J. 2011; 161:1024–30.

Yancy CW, Jessup M, Bozkurt B, Butler J, Casey Jr DE, Colvin MM, et al. 2017 ACC/AHA/HFSA Focused update of the 2013 ACCF/AHA guideline for the management of heart failure. J Am Coll Cardiol 2017; 8:776-803.

Ponikowski P, Anker SD, Coats AJ, Falk V, Jankowska EA , Jessup M, et al. ESC Guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure. Eur Hear J. 2016; 37(27):2129-200.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://drug.fda.moph.go.th

Smith WE. Role of a pharmacist in improving rational drug therapy as part of the patient care team. Ann Pharmacother 2007;2(41):330-5.

Dempsey JT, Matta LS, Carter DM, Stevens CA, Stevenson LW, Desai AS, et al. Assessment of Drug Therapy-Related Issues in an Outpatient Heart Failure Population and the Potential Impact of Pharmacist-Driven Intervention. J Pharm Pract 2017; 30(3):318-323.

Kanoksilp A, Hengrussamee K and Wuthiwaropas P. A Comparison of One- Year Outcome in Adult Patients with Heart Failure in Two Medical Setting: Heart Failure Clinic and Daily Physician Practice.

J Med Assoc Thai. 2009; 92(4):466-470.

Komajda M, Lapuerta P, Hermans N, Gonzalez-Juanatey JR, van Veldhuisen DJ, Erdmann E, et al. Adherence to guidelines is a predictor of outcome in chronic heart failure: the MAHLER survey. Eur Heart J 2005;26:1653–9.

Stork S, Hense HW, Zentgraf C, Uebelacker I, Jahns R, Ertlet G, et al. Pharmacotherapy according to treatment guidelines is associated with lower mortality in a community-based sample of patients with chronic heart failure: a prospective cohort study. Eur J Heart Fail 2008; 10:1236–45.

Poelzl G, Altenberger J, Pacher R, Ebner CH, Wieser M, Winter A, et al. Dose matters! Optimisation of guideline adherence is associated with lower mortality in stable patients with chronic heart failure. Int J Cardiol. 2014 Jul 15;175(1):83-9.

Frankenstein L, Remppis A, Fluegel A, Doesch A, Katus HA, Senges J, et al. The association between long-term longitudinal trends in guideline adherence and mortality in relation to age and sex. Eur J Heart Fail 2010; 12:574–80.

Strand LM, Morley PC, Cipolle RJ, Ramsey R, Lamsam G. Drug related problem: their structure and function. DICP Pharmacother 1990; 24:1093-7.

American Society of Health-System Pharmacists. ASHP statement on pharmaceutical care. Am J Hosp Pharm 1993; 50:1720-3.

Pharmaceutical Care Network Europe (PCNE). Classification for drug related problems V 8.01. 2017 [internet]. 2017 [cited 2017 June 30]. Available from: https://www.pcne.org/working-groups/2/drug-related-problem-classification

สิทธิลักษณ์ วงษ์วันทนีย์, สำอางค์ เกียรติเจริญสิน, ปราณี ดาวมณี, ชลลดา จรัสพัฒนวงษ์, และทักษิณา กัมติ. การดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพในคลินิกโรคหัวใจล้มเหลวโรงพยาบาลระยอง.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2553; 27(4):222-233.

Murray MD, Young J, Hoke S, Tu W, Weiner M, Morrow D, et al. Pharmacist intervention to improve medication adherence in heart failure. Ann Intern Med. 2007; 146:714-725.

Davis EM, Packard KA, and Jackevicius CA. The Pharmacist Role in predicting and improving medication adherence in heart failure patients. J Manag Care Pharm. 2014; 20(7):741-55.

Hsu WT, Shen LJ, and Lee CM. Drug-related problems vary with medication category and treatment duration inTaiwanese heart failure outpatients receiving case management. J Formos Med Assoc. 2016;115(5):335-42.

Lowrie R, Mair FS, Greenlaw N, Forsyth P,Jhund PS, McConnachie A, et al. Pharmacist intervention in primary care to improve outcomes in patients with left ventricular systolic dysfunction. European Heart Journal (2012) 33, 314–324.

Koshman SL, Charrois TL, Simpson SH, McAlister FA, Tsuyuki RT. Pharmacist care of patients with heart failure: asystematic review of randomized trials. Arch Intern Med. 2008;168(7):687-694.