ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาการปวดคอบ่าไหล่ในบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

Main Article Content

อรัญญา นัยเนตร์

บทคัดย่อ

   


วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาการปวดคอบ่าไหล่ในบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยด้านการออกกำลังกาย และปัจจัยด้านจิตสังคม


วิธีดำเนินการวิจัย:รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาการปวดคอบ่าไหล่ในบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์จำนวน 188 คน มีประสบการณ์ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 1ปีดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงมกราคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถามแบบให้ตอบด้วยตนเอง (self-administered questionnaire) ประกอบด้วย 5 ส่วนได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปัจจัยด้านการออกกำลังกาย ปัจจัยด้านจิตสังคม และแบบประเมินอาการปวดคอบ่าไหล่ทดสอบความเที่ยงตรง (reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับได้เท่ากับ 0.821 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ chi-square และmultiple logistic regression


ผลการวิจัย:ความชุกของอาการปวดคอ บ่าไหล่ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เท่ากับร้อยละ 94.7 โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 70.4 ปวดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดคอบ่าไหล่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคลด้านชั่วโมงการใช้คอมพิวเตอร์ใน 1 วัน (p-value =0.004) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน(p-value =0.048)  และปัจจัยด้านจิตสังคม(p-value =0.001) เมื่อวิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอยพหุคูณพบว่าตัวแปรที่สามารถทำนายการเกิดอาการปวดคอบ่าไหล่ในบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ ปัจจัยด้านจิตสังคม(p-value


=0.001) และปัจจัยส่วนบุคคลด้านชั่วโมงการใช้คอมพิวเตอร์5 ชั่วโมงขึ้นไปใน 1 วัน(p-value =0.036)  (R2=0.103)


สรุป:ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาการปวดคอบ่าไหล่ และมีอำนาจในการทำนายอาการปวดคอบ่าไหล่ในบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ได้แก่ ปัจจัยด้านจิตสังคม และปัจจัยส่วนบุคคลด้านชั่วโมงการใช้คอมพิวเตอร์ 5 ชั่วโมงขึ้นไปใน 1 วันผลจากการศึกษาสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อหามาตรการในการป้องกัน สร้างเสริมสุขภาพ  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรต่อไป


คำสำคัญ:อาการปวดคอบ่าไหล่ คอมพิวเตอร์ ปัจจัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. รายงานการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน 2561(ไตรมาสที่ 1). กรุงเทพฯ:สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2561.

Widanarko E, Legg S, Devereux J, Stevenson M. The combined effect of physical, psychosocial

organizational and/or environmental factors on the presence of work-related musculoskeletal

symptoms and its consequences. Appl Ergon2014; 45: 1610-21.

ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, สกุนตลา แซ่เตียว. พฤติกรรมการป้องกันและการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของบุคลากรสายสนับสนุน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2561; 19: 69-83.

นรากร พลหาญ, สมสมร เรืองวรบูรณ์, โกมล บุญแก้ว, อนุพงษ์ ศรีวิรัตน์. กลุ่มอาการที่เกิดต่อร่างกายจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2557; 6: 26-38.

ดวงเดือน ฤทธิเดช, ฌาน ปัทมะ พลยง, มริสสา กองสมบัติสุข. ปัจจัยทำนายความรู้สึกไม่สบายบริเวณคอ ไหล่ และหลังของพนักงานในสำนักงานบริษัทเอกชนที่ใช้คอมพิวเตอร์ ในจังหวัดระยอง. วารสารกรมการแพทย์2561; 43: 57-63.

Bernal D, Campos-Serna J, Tobias A, Vargus-Prada S, Benavides FG, Serra C. Work-related psychosocial risk factors and musculoskeletal disorders in hospital nurses and nursing aides. A systemic review and meta-analysis. Int J Nurs Stud2015; 52: 635-48.

Dianat I, Bazazan A, Azad MAS, Salimi SS. Work-related physical, psychosocial and individual factors associated with musculoskeletal symptoms among surgeons: Implications for ergonomic interventions. Appl Ergon2018; 67: 115-24.

พรรัชนี วีระพงศ์, วิราภรณ์ แพบัว, สุภาณี ชวนเชย. ผลของการออกกำลังกายโดยใช้โปรแกรม

คอมพิวเตอร์และการพักต่ออาการปวดคอและไหล่ในผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน. วารสาร

สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี 2559; 5: 79-89.

จารุวรรณ ปันวารี, จักรกริช กล้าผจญ, อภิชนา โฆวินทะ. อาการปวดคอที่เกิดกับบุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์: การศึกษาปัจจัยทางการยศาสตร์. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร2552; 19: 30-5.

Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 3rded. New York: Harper and Row; 1973.

ธวัชชัย ศรีพรงาม. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานอย่างปลอดภัยชองพนักงาน

โรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและปั่นด้าย[ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิต

พัฒนบริหารศาสตร์; 2547.

คุณทรัพย์ สารถ้อย. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเป็นพนักงานที่ดีของหน่วยงาน

[การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2558.

Ranasinghe P, Perera YS, Lamabadusuriya DA, Kulatunga S, Jayawardana N, Rajapakse S, et al.

Work related complaints of neck, shoulder and arm among computer office workers: a cross-sectional

evaluation of prevalence and risk factors in a developing country. Environ Health 2011; 10:70.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ เบญจา มุกตะพันธ์. การประเมินภาวะเสี่ยงของการปวดไหล่จากการทำงานของบุคลากรในสำนักงานมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[อินเทอร์เน็ต]. 2553.[เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2563];.3: 1-10.เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118803.

Ehsani F, Mosallanezhad Z, Vahedi G. The prevalence, risk factors and consequences of neck pain in office employees. Middle East J Rehabil Health Stud.V [Internet]. 2017 [cited 2020 Apr 30]; 4:e42031. Available from: http://www.dx.doi.org/10.5812/mejrh.42031.

Bento TPF, Genebra CVDS, Cornélio GP, Biancon RDB, Simeão SFAP, Vitta AD. Prevalence and factors associated with shoulder pain in the general population: a cross-sectional study. Fisioter Pesqui [Internet]. 2019 [cited 2020 Apr 30]; 26: 401-6. Available from: http://www.scielo.br/scielo.php?script=sci_arttext&pid=S1809-29502019000400401&lng=en.

สิวลี รัตนปัญญา, สามารถ ใจเตี้ย, สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี, การต์ชัญญา แก้วแดง, จิติมา กตัญญู. ปัจจัยที่

สัมพันธ์กับการบาดเจ็บของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของบุคลากร

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2559; 9: 20-9.

เมธินี ครุสันธิ์, สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุก ความรู้สึกไม่สบายบริเวณคอ ไหล่และหลังของพนักงาน

สำนักงานของมหาวิทยาลัยที่ใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน. Graduate Research

Conference [อินเทอร์เน็ต]. 2014 [เข้าถึงเมื่อ 13กันยายน2562]. เข้าถึงได้จาก:https://www.gsbooks.

gs.kku.ac.th>grc15>files>mmp72.pdf.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, รัชติญา นิธิธรรมธาดา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดคอ ไหล่ของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2559;46:42-56.