ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองและการรับรู้ประโยชน์ของการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมและการรับรู้ประโยชน์ของการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรม
วิธีการดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มละ 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินพฤติกรรมและการรับรู้ประโยชน์ของการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมและการรับรู้ประโยชน์ของการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ทั้งสองฉบับ และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ
ครอนบาคเท่ากับ 0.83 และ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้สถิติ Independent t-test วิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ของการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้สถิติ Repeated measures ANOVA
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (และค่าเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์ของการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F1,64 =143.78, p<.05)
สรุปผลการวิจัย: โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
Article Details
References
World Stroke Organization (WSO). World stroke organization strategy 2016-2020[Internet].2018
[cited 2019 October 10].Available from:https://www.world stroke.org /images/WSO_strategy_
CONCISE_FINAL.pdf.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำ ปี 2561 สำนักโรคไม่ติดต่อ
กรมควบคุมโรค. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.
ศูนย์วิชาการโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ชุตินฺธโร อุทิศ. สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ:
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ชุตินฺธโร อุทิศ; 2561.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรค
ไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ:บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด; 2560.
Stretcher VJ, Rosenstock IM. The health belief model. In:BaumA, editor. Cambridge handbook
of psychology, health and medicine. Cambridge, UK: Cambridge University Press; 1997. p. 113-7.
สุริยา หล้าก่ำ, ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและ
พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัด
ร้อยเอ็ด.วารสารพยาบาลตำรวจ 2560; 9: 85-94.
กษมา เชียงทอง. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพการรับรู้อาการเตือนและ
พฤติกรรมการจัดการโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงหลอดเลือดสมอง อำเภอดอยสะเก็ดจังหวัด
เชียงใหม่[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่: คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.
Osamor PE, Ojelabi OA. Health belief model and hypertension treatment compliance [Internet].2017
[cited 2018 October 7]. Available from:https://www.ukessays.com/essays/health-and-social-care/
health-belief-model hypertension-treatment.
Khorsandi M, Fekrizadeh Z, Roozbahani N. Investigation of the effect of education based on the health
belief model on the adoption of hypertension-controlling behaviors in the elderly. Clin Interv Aging
; 12:233-40.
กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือความรู้เรื่องอัมพาตสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ:
สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2550.
สุริยา หล้าก่ำ, ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่, อยุทธ์ จินตะรักษ์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรค
หลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารวิจัยและ
พัฒนาระบบสุขภาพ 2560; 10: 282-91.
Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program
for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007; 2:175-91.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. การออกแบบแบบสอบถามสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2556.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม (ฉบับ
สมบูรณ์ 2557).กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2557.
รุจิรา ดวงสงค์, ชลธิรา กาวไธสง. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลชุมพวง อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร
; 29: 295-304.
Yue Z, Li C, Weilin Q,Bin W. Application of the health belief model to improve the understanding of
antihypertensive medication adherence among Chinese patients. Patient Educ Couns 2015;98:669-73.
อรกมล เพ็งกุล, นรลักขณ์ เอื้อกิจ, ปชาณัฏฐ์ ตันติโกสุม. ผลของโปรแกรมการรับรู้ประโยชน์ของการ
รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้น
หัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2557; 25: 34-48.
ธาวินี ช่วยแท่น. ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้การจัดการอุปสรรคต่อ
ความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือด
โคโรนารี่[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ:คณะพยาบาลศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.
Joho AA. Factors affecting treatment compliance among hypertension patients in three district
hospitals - dar es Salaam[Thesis of Master of Nursing Science]. Muhimbili:MuhimbiliUniversity of
Health and Allied Sciences;2012.