การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของศูนย์วารินรักษ์ โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

นายอานนท์ เอียดปราบ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทนำ: ศูนย์วารินรักษ์ โรงพยาบาลวารินชำราบ คือศูนย์ให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังซึ่งได้รับการการดูแลแบบประคับประคองร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ศูนย์วารินรักษ์ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในด้านต่างๆ เช่น ด้านโครงสร้าง ด้านการประสานงาน ด้านการสนับสนุน ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการประเมินผล โดยการ ประยุกต์ใช้กระบวนการ A-I-C เพื่อออกแบบ และวางแผนพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้มาตรฐาน และทีมสหวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อไป


 วัตถุประสงค์: 1.เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในของศูนย์วารินรักษ์ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลของการพัฒนาและความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของศูนย์วารินรักษ์ ก่อนและหลังการพัฒนา


 


วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประชากรที่ศึกษาคือ ทีมสหวิชาชีพประจำ ศูนย์วารินรักษ์ เดือน เมษายน 2562 ถึง มิถุนายน 2562 การพัฒนารูปแบบโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบ A-I-C  วิเคราะห์หาค่าทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่อิสระ


 


ผลการศึกษา: ทีมสหวิชาชีพของศูนย์วารินรักษ์ จำนวน 54 คน พบว่าหลังปฏิบัติงานด้านโครงสร้างอยู่ระดับปานกลาง (ร้อยละ 57.1) ด้านการสนับสนุนอยู่ระดับปานกลาง (ร้อยละ 64.7) ด้านการประสานงานอยู่ระดับดี (ร้อยละ 63.1) ด้านการปฏิบัติงานอยู่ระดับดี (ร้อยละ 66.7) ด้านการประเมินผลอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 55.0) ผลการปฏิบัติงานโดยรวม โดยรวมก่อนการศึกษาการพัฒนารูปแบบส่วนใหญ่อยู่ในระดับปรับปรุง (ร้อยละ 98.1) หลังการศึกษาพัฒนารูปแบบส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 57.1) และความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพต่อการพัฒนารูปแบบก่อนการศึกษาพบว่าอยู่ในระดับปรับปรุง (ร้อยละ 70.3) หลังการพัฒนารูปแบบพบว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 55.4)


 


สรุป: ผลการพัฒนาและความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพภายหลังการพัฒนารูปแบบอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยภายหลังมากกว่าก่อนการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


 


ความสำคัญ: ทีมสหวิชาชีพ, การบวนการ A-I-C, รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย, ศูนย์วารินรักษ์


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. Palliative care. [internet].2019[cited 2019 June 30].Available from

https://www.who.int.

งานสถิติผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย.ศูนย์วารินรักษ์ โรงพยาบาลวารินชำราบ.อุบลราชธานี: โรงพยาบาล

วารินชำราบ; 2562.

สิริญาฉิมพาลี. การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยหลังคลอดเครือข่ายบริการโรงพยาบาลท่ายาง จังหวัด

เพชรบุรี[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;

อรพินท์ สพโชคชัย. คู่มือการจัดประชุมเพื่อระดมความคิดในการพัฒนาหมู่บ้าน การพัฒนาหมู่บ้านโดย

พลังประชาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย; 2537. หน้า1-89.

จิระประภา ศิริสูงเนิน, มาลินันท์ พิมพ์พิสุทธิพงศ์, วุฒิพงศ์ ภักดีกุล. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบ

ประคับประคอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2561;

:317-35.

สุมานี ศรีกำเนิด. การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์

มหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ;2552.

ฐิติมา โพธิศรี. การดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตจากโรงพยาบาลสู่บ้าน

[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

ชีวรัตน์ วิภักดิ์. การสร้างรูปแบบการจัดการรายกรณีผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โรงพยาบาลกรุงเทพ

ราชสีมา[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

สุปรียา ดียิ่ง. ผลการใช้รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย

[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

มุกดา ยิ้มย่อง. การพัฒนาจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในโรงพยาบาล

ตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเพชรบุรี[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม:

มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

วีรยา อินทร์คง. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบบูรนาการ โรงพยาบาล

สมเด็จพระยุพราชเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต].

นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.

ฐิติพร จตุพรพิพัฒน์. รูปแบบการจัดการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม

โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี:มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.