แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมใน กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สุปราณี แตงวงษ์
มนต์ทิพา เทพเทียมทัศน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบแผนการดำเนินชีวิตระหว่างกลุ่มที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมกับกลุ่มที่ไม่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม


วิธีการดำเนินการวิจัย : การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytic study) แบบมีกลุ่มควบคุม (Population-based case control study)  โดยศึกษาจากประชากรที่ได้รับการตรวจประเมินความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่มีภาวะดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ จำนวนทั้งสิ้น 160 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษาที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม 80 คน และกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม 80 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม    พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) แบบสอบถามแบบแผนการดำเนินชีวิต ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดัดแปลงจากคู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ 2558 ของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ผู้วิจัยทำการหาคุณภาพของเครื่องมือ ซึ่งแบบสอบถามแบบแผนการดำเนินชีวิตมีค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) = 0.82 และค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Alpha Cronbach’s Coefficient) = 0.79


ผลการวิจัย :  กลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มศึกษาที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมและกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กลุ่มศึกษาส่วนใหญ่มีภาวะอ้วน คิดเป็นร้อยละ 73.75 ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบมีภาวะอ้วนเพียงร้อยละ 36.25 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าแบบแผนการดำเนินชีวิตด้านการบริโภคอาหาร และด้านการออกแรงเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย ระหว่างกลุ่มศึกษากับกลุ่มเปรียบเทียบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ส่วนแบบแผนการดำเนินชีวิตด้านอื่นได้แก่ ด้านสุขภาพจิต ด้านการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และด้านการสูบบุหรี่ ไม่มีความแตกต่างกัน


 


สรุปผลการวิจัย : ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรวางแผนป้องกันการเกิดภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของประชาชนในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี โดยเน้นการบริโภคอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพดีและการเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกาย และควรพัฒนารูปแบบการดูแลผู้มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในชุมชนนี้เพื่อป้องกันการเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต ด้วยการปรับแบบแผนการดำเนินชีวิตให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านการรับประทานอาหาร และการเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกาย


 


คำสำคัญ : เมตาบอกลิกซินโดรม, แบบแผนการดำเนินชีวิต, ภาวะอ้วน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
1. World health Organization. Noncommunicable diseases. [Internet]. 2017[cited 2017 April 14] Available from http://www.who.int/mediacentre/ factsheets/fs355/en/.
2. ธนพันธ์ สุขสะอาด และคณะ. รายงาน
สถานการณ์โรค NCDs ฉบับที่ 2 Kick off to the
goals/ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่าง
ประเทศ นนทบุรี; 2559.
3. ศรีเพ็ญ สวัสดิมงคล. รายงานประจำปี 2558.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวง
สาธารณสุข: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การ
สงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์;
2559.
4. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ. รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่
และภาพรวมปี 2558. [อินเทอร์เน็ต]. 2559
[เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก
http://social. nesdb.go.th/.
5. สายศิริ ด่านวัฒนะ. รายงานการประชุม
โครงการประชุมวิชาการบริการปฐมภูมิ เรื่องการ
จัดการเบาหวานแบบบูรณาการ.[อินเทอร์เน็ต]. 2552
[เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก
http://kb. hsri.or.th/.
6. ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. (2549). Metabolic
Syndrome (โรคอ้วนลงพุง). สารราชวิทยาลัยอายุร-
แพทย์, 23(1), 5-17. [อินเทอร์เน็ต]. 2549. [เข้าถึงเมื่อ
10 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก
https://doc-0o-2kapps-viewer.googleusercontent. com.
7. วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพ
ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5
พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
[อินเทอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2560].
เข้าถึงได้จาก https://www.hsri.com/.
8. กลุ่มพัฒนาวิชาการและเครือข่ายลดโรคไม่ติดต่อ
ในวิถีชีวิต. KMNCD สำนักโรคไม่ติดต่อ
กรมควบคุมโรค 2555; 4(3): 14-15.
9. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
สุขภาพคนไทย 2558: 11 ตัวชี้วัด โรคอ้วน.
[อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2560].
เข้าถึงได้จาก http://suchons.wordpress.com/
10. สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล. วิกฤติ NCDs
ภาระโรควาระชาติ 2557; 3(1): 2-6.
11. มธุรส บุญแสน และคณะ. ปัจจัยทำนาย
พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออก
กำลังกายของกำลังพลที่มีภาวะอ้วนลงพุง
ค่ายนวมินทราชินี จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาล
ทหารบก 2557; 15(2): 312-319.
12. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
สุขภาพคนไทย 2558: 11 ตัวชี้วัดโรคอ้วน.
[อินเทอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2560]
เข้าถึงได้จาก http://suchons.wordpress.com/
13. ไพบูลย์ พิทยาเธียรอนันต์ และคณะ.
ผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากภาวะ
น้ำหนักเกินและโรคอ้วนในประเทศไทย.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต].
2554. [เข้าถึงเมื่อ 11 มีนาคม 2560] เข้าถึงได้จาก
http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3374?locale-attribute=th
14. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์. รายงานสถานการณ์
โรค NCDs ฉบับที่ 2. สำนักงานพัฒนานโยบาย
สุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข;
2559.
15. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัย
มหิดล. ตายดี : วิถีที่เลือกได้. รายงาน
สุขภาพ คนไทย 2559, [อินเทอร์เน็ต]. 2559.
[เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560] เข้าถึงได้จาก
http://www.hiso.or.th/hiso5/ report/
report2016T.php.
16.Verma, P., Srivastava, R.K. and Jain, D. Association of Lifestyle Risk Factors with Metabolic Syndrome Components: A Cross-sectional Study in Eastern India. International Journal of Preventive Medicine 2018; 9(6): 1-8 [Internet]. 2018. [cited 2019 April 23] Available from DOI: 10.4103/ijpvm.IJPVM_236_17.
17. Al-Qawasmeh, R.H. and Tayyem, R.F. (2018).
Dietary and Lifestyle Risk Factors and Metabolic
Syndrome: Literature Review. Food and nutrition
Journal 2018; 6(3): 594-608. [Internet]. 2018.
[cited 2019 April 23] Available from Doi:
doi.org/10.12944/CRNFSJ.6.3.03.
18. อมรา ทองหงส์ และคณะ. รายงานการเฝ้าระวัง
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. 2555. สำนักระบาดวิทยา
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
19. กระทรวงสาธารณสุข. แผนการตรวจ
ราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2560; 2560.
20.ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. คู่มือโปรแกรมการ
ควบคุมน้ำหนักตัว. [อินเทอร์เน็ต]. 2552. [เข้าถึง
เมื่อ 10 มีนาคม 2560] เข้าถึงได้จาก
www.hpc.go.th/director/data/ncd/ManualForWtCo
ntrolProgram.pdf
21. แหลมทอง แก้วตระกูลพงษ์. อัตราความชุกของ
ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม: ข้อมูลประชาชน
ที่มารับการตรวจสุขภาพประจำปี ที่โรงพยาบาลศรี
เชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยสาธารณสุข-
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2551; 1(2): 1-10.
22.นิติกร ภู่สุวรรณ. ปัจจัยทางวิถีชีวิตที่มี
ผลต่อโรคอ้วนลงพุงในประชาชนอําเภอบ้านแพ้ว
จังหวัด สมุทรสาคร. เอกสารประกอบ 20th National
Grad Research Conference, [อินเทอร์เน็ต]. 2554.
[เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2560] เข้าถึงได้จาก
http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/conference/
23. บุปผาชาติ ทีงาม เยาวภา ติอัชสุวรรณ และ
ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการ
ปฏิบัติในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความ
ดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยง ในเขตพื้นที่
รับผิดชอบ ของสถานีอนามัยบ้านโพนม่วง อำเภอ
ชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนา
ระบบสุขภาพ 2555; 5(3): 127-134.
24. ชยาภัสร์ รัตนหิรัญศักดิ์ น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และ
วารินทร์ บินโฮเซ็น. ความสัมพันธ์ระหว่าง
พฤติกรรมสุขภาพกับการเกิดเมตาบอลิกซินโดรม
ของพนักงานโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสาร
สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยใน
พระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมาร 2558; 4(2): 64-74.
25. Faul, F., et al. G*Power 3: A flexible
statistical power analysis program for the social,
behavioral, and biomedical sciences. Behavior
Research Methods. 39, 175-191. [Internet]. 2007.
[cited 2017 April 10] Available from
http://www.gpower.hhu.de/.
26. อรุณ จิรวัฒน์กุล. การปรับขนาดของ
กลุ่มตัวอย่างเพิ่มสำหรับผู้ไม่ตอบแบบสำรวจ.
วารสารวิชาการสาธารณสุข 2553; 19(5), (กันยายน-
ตุลาคม): 675-676.
27. กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. สถานการณ์
การมีกิจกรรมทางกาย/ออกกำลังกายของคนไทย.
[อินเทอร์เน็ต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2560]
เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/
28. จุรีพร คงประเสริฐ และธิดารัตน์ อภิญญา.
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD
คุณภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. [อินเทอร์เน็ต].
2558. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2560] เข้าถึงได้จาก
http://thaincd.com/
29. เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล ปางก์เพ็ญ เหลือง
เอกทิน และศิริลักษณ์ วงษ์วิจิตสุข. การประเมิน
โครงการรณรงค์เลิกบุหรี่ของบุคคลากร
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
แห่งประเทศไทย (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
2558; 4(1): 46-57.
30. มยุรี หอมสนิท. รู้ได้อย่างไรว่า...อ้วน
ลงพุง. [อินเทอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน
2560] เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/
31. ณิชารีย์ ใจคําวัง. พฤติกรรมเสี่ยงของ
กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง:
กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้าน
ปากคะยาง จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพัฒนา ชุมชน
และคุณภาพชีวิต 2558; 3(2): 173-184.
32. Sekgala, M.D. et al. The risk of metabolic syndrome as a result of lifestyle among Ellisras rural young adults. Journal of Human Hypertension 2018; 32: 572–584. [Internet]. 2018. [cited 2019 April 23] Available from https://doi.org/10.1038/s41371-018-0076-8.
33. ปฏิพันธ์ เสริมศักดิ์. ความชุกและปัจจัย
เสี่ยงภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของพนักงาน
โรงงาน ที่เข้ากะในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิก
ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลกระทรวง
สาธารณสุข 2558; 25(2): 157-165.
34. Perez-Martinez, P. et al. Lifestyle recommendations for the prevention and management of metabolic syndrome: an international panel recommendation. Nutrition Review 2017; 75(5): 307-326.[Internet] 2017. [cited 2019 April 23] Available from doi: 10.1093/nutrit/nux014.
35. Garralda-Del-Villar, M. et al. Healthy Lifestyle and Incidence of Metabolic Syndrome in the SUN Cohort. Nutrients 2019; 11: 65; [Internet]. 2019. [cited 2019 April 23] Available from www.mdpi.com/journal/nutrients,
doi:10.3390/nu11010065.
36. Bhanushali, C., Kumar, K., Wutoh, A.K.,
Karavatas, S., Habib, M.J. Daniel, M. and Lee, E.
Association between Lifestyle Factors
and Metabolic Syndrome among African Americans
in the United States. Journal of Nutrition and
Metabolism 2013. [Internet]. 2013 [cited 2019
April 23] Available from http://dx.doi.
org/10.1155/2013/516475.