ความต้องการข้อมูลด้านยาของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ

Main Article Content

สุภาพร หอมดี
ณัฏฐิญา ค้าผล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความต้องการข้อมูลด้านยาและความสัมพันธ์ของลักษณะพื้นฐานของกลุ่มผู้ป่วยกับความต้องการข้อมูลด้านยาของกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์   ชุตินฺธโร อุทิศ


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างตามแบบสัมภาษณ์รายบุคคล โดยผู้วิจัย ใช้การสุ่มแบบบังเอิญ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 198 ราย ช่วงเดือน กันยายน - ธันวาคม 2562 วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ และ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Pearson chi-square


ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยร้อยละ 81.82 มีอายุอยู่ในช่วงวัยทำงาน 31 -60 ปี   ร้อยละ 42.93 มีการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา มีอาชีพที่สัมพันธ์กับระดับการศึกษา ได้แก่ รับจ้าง           ร้อยละ 28.28  และไม่มีอาชีพ ร้อยละ 13.13  พบร้อยละ 34.34 มีระยะเวลาเป็นโรค 6-10 ปี ความต้องการข้อมูลด้านยาด้านเนื้อหา พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการข้อมูลระดับสูงมากที่สุด ด้านรูปแบบการให้ข้อมูล ส่วนมาก พบว่า ร้อยละ 46.97 ต้องการการให้ข้อมูลโดยวาจาอย่างเดียว ร้อยละ 42.43 ต้องการข้อมูลด้านยาทุกครั้งที่มาพบแพทย์ ร้อยละ 31.31 ต้องการได้ข้อมูลเมื่อเริ่มการรักษาหรือเมื่อมีการปรับเปลี่ยนยา                ร้อยละ 48.99 ไม่จำกัดเวลาในการให้ข้อมูล ส่วนช่องทางในการหาข้อมูลที่สะดวกที่สุดได้จาก พยาบาล                 ผู้ประสานงานผู้ป่วยเอชไอวี อินเทอร์เน็ต/สื่อสังคมออนไลน์ และเภสัชกรที่โรงพยาบาล ตามลำดับ เลือกเชื่อถือข้อมูลจากพยาบาลผู้ประสานงานผู้ป่วยเอชไอวีมากที่สุด พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ของความต้องการข้อมูลด้านยากับเพศ อายุและการศึกษา


สรุป: ความต้องการด้านยาตามผลการศึกษานี้ สะท้อนถึงช่องว่างการให้บริการด้านยาของโรงพยาบาล ตามความเห็นของบุคลากรทางการแพทย์กับความต้องการของผู้ป่วย การปรับการให้บริการตามผลการศึกษาจะทำให้ลดช่องว่างดังกล่าวได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Graham JD, Kwok YS. What consumers want to know about medicines. Australian Prescriber
1995; 18: 10-1.
2. Mills ME, Sullivan K. The importance of information giving for patients newly diagnosed with
cancer: a review of the literature. J Clin Nurs 1999; 8: 631-42.
3. Lenz ER. Information seeking: a component of client decisions and health behavior. ANS Adv
Nurs Sci 1984; 6: 59-72.
4. Koo MM, Krass I, Aslani P. Factors influencing consumer use of written drug information. Annals of Pharmacotherapy 2003; 37: 259-67.
5. Dwyer FR. An experimental study of consumer use of supplemental drug information. (Dissertation). Minneapolis MN: University of Minnesota; 1978.
6. Dwyer FR, Hammel R. The impact of patient package inserts on essential hypertension.
Proceeding of the National Conference on High Blood Pressure Control. Los Angeles; CA: 1979.
7. เพลินตา ศิริปการ. การนำโมเดลการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนในผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ไปใช้ในพื้นที่. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2556; 29(2): 50-9.
8. วรรณชาติ ตาเลิศ, สุวรรณา บุญยะลีพรรณ. พฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงานที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีใโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557; 32(1): 59-68.
9. Martin SL, McGoey ST, BeboJr BF, Feldman SR. Patients' educational needs about topical
treatments for psoriasis. J Am Acad Dermatol 2013; 68(6): e163-8.
10. Pharmaceutical Society of Australia: Guidelines for pharmacists on providing medicines
information to patients. In Pharmacy Practice Handbook. PSA; 2000.
11. Society of Hospital Pharmacists of Australia. SHPA standards of practice for the provision of
consumer medicines information by pharmacists in hospitals. J Pharm Prac Res 2007; 37: 56-8.
12. National Health and Medical Research Council: General guidelines for medical practitioners on
providing information to patients. Edited by Australian Government. Canberra; Australia: 2004.
13. Aslani P. The use of consumer medicine information by community pharmacists.[PhD]. Sydney: The University of Sydney; 1999.
14. O’Donoghue AC, Sullivan HW, Aikin KJ, Chowdhury D, Moultrie RR, Rupert DJ. Presenting
efficacy information in direct-to-consumer prescription drug advertisements. Patient education and counseling 2014; 95(2): 271-80.
15. Wolf MS, Davis TC, Curtis LM, Bailey SC, Knox JP, Bergeron A, et al. A patient-centered prescription drug label to promote appropriate medication use and adherence. J Gen intern Med 2016; 31(12): 1482-9.
16. Hamrosi KK, Raynor DK, Aslani P. Enhancing provision of written medicine information in
Australia: pharmacist, general practitioner and consumer perceptions of the barriers and facilitators. BMC health services research 2014; 14(1): 183.
17. Hamrosi KK, Raynor DK, Aslani P. Pharmacist and general practitioner ambivalence about
providing written medicine information to patients-A qualitative study. Res Social Adm Pharm 2013; 9(5): 517-30.
18. Sundar RP, Becker MW, Bello NM, Bix L. Quantifying age-related differences in information
Processing behaviors when viewing prescription drug labels. PLoS One 2012; 7(6): e38819.
19. Mohan A, Riley MB, Boyington D, Johnston P, Trochez K, Jennings C, et al. Development of a patient-centered bilingual prescription drug label. J Health Commun 2013; 18(suppl 1): s49-61.
20. Morris LA, Halperin JA. Effects of written drug information on patient knowledge and
compliance: A literature review. AJPH 1979; 69: 47-52.
21. Lima J, Nazarian L, Charney E, Lahti C. Compliance with short-term antimicrobial therapy.
Pediatrics 1976; 57: 383-6.
22. Linkewich JA, Catalano RB, Flack HL. The effect of packaging and instruction on outpatient
compliance with medication regimens. Drug Intel and Clin Pharm 1974; 8: 10-5.
23. McKenney JM, Slining JM, Henderson HR, et al. The effect of clinical pharmacy services on
patients with essential hypertension. Circulation 1973; 48: 1104-11.
24. ศิริพร กฤตธรรมากุล, ประภาพักตร์ ศิลปโชติ, จุราพร พงศ์เวชรักษ์, อุมาพร วงษ์สถิต. Effects of
pharmacist counseling on outpatients receiving warfarin at Songklanagarind Hospital. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549; 24(2): 93-9.
25. Beardsley RS, Johnson CA, Wise G. Privacy as a factor inpatient counseling. J Am Pharm Assoc 1977; 17: 366-8.
26. Frost JH, Massagli MP. Social uses of personal health information within patients like me, an
online patient community: what can happen when patients have access to one another's data.
J Med Internet Res 2008; 10: e15.
27. Khoo CS. Issues in information behavior on social media. LIBRES: Library and Information
Science Research Electronic Journal 2014; 24(2): 75.
28. Sadah SA, Shahbazi M, Wiley MT, Hristidis V. A study of the demographics of web-based
health-related social media users. J Med Internet Res 2015; 17(8): e194.
29. Schwartz LM, Woloshin S. The drug facts box: Improving the communication of prescription
drug information. Proceedings of the National Academy of Sciences 2013; 110 (sup3): 14069-74.
30. Tyrawski J, DeAndrea DC. Pharmaceutical companies and their drugs on social media: a content
analysis of drug information on popular social media sites. J Med Internet Res 2015; 17(6): e130.
31. Or CK, Karsh BT. A systematic review of patient acceptance of consumer health information
technology. J Am Med Inform Assoc 2009; 16(4): 550-60.
32. ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์, พรทิพย์ ยุกตานนท์, ศรีลัย เรืองชัย. ผลการรักษาของผู้เข้าโครงการการ
ปรับปรุงการเข้าถึงระบบบริการการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์และการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ในประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค 2560; 28; 43(2): 158-71.
33. ทิพย์นราภรณ์ สังข์ศรีแก้ว, จินตนา วัชรสินธุ์, วรรณี เดียวอิศเรศ. ผลของโปรแกรมการสนทนา
บำบัดสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์และครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัส. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36(2): 141-8.
34. อุไรวัลย์ โกเสนตอ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อ
HIV ณ โรงพยาบาลดารารัศมีเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2558; 11(1) :1-11.
35. Tantawut S, Tinapa W, Chaousirikul C. Effects of a program on correction and persistence of
antiretroviral treatment to improve adherence and drug safety in HIV/AIDs patients at
Uthumpornphisai Hospital, Sisaket Province, Thailand. Journal of Health Science 2017;
25(4): 696-703.
36. Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. London: John Weather Hill, Inc; 1973.
37. Kusch MK, Haefeli WE, Seidling HM. How to meet patients’ individual needs for drug
Information-a scoping review. Patient preference and adherence 2018; 12: 2339.
38. Huber M, Kullak Ublick GA, Kirch W. Drug information for patients an update of longterm
results: type of enquiries and patient characteristics. Pharmacoepidemiology and drug safety 2009
;18(2): 111-9.
39. Raynor DK, Savage I, Knapp P, Henley J. We are the experts: people with asthma talk about their medicine information needs. Patient education and counseling 2004; 53(2): 167-74.
40. Dickinson R, Raynor DK, Knapp P, MacDonald J. How much information about the benefits of medicines is included in patient leaflets in the European Union?-A survey. IJPP 2017; 25(2): 147-58.
41. สุภาวิณี พงษ์พันนา, นฤมล เจริญศิริพรกุล, ธงชัย ประฏิภาณวัตร. ทัศนคติของผู้ป่วยนอกต่อประโยชน์ของเอกสารกำกับยาสำหรับผู้ป่วย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561; 33(4) :351-8.
42. วีระโชติ ลาภผลอำไพ, พีรยศ ภมรศิลปธรรม. การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนมือถือระบบ แอนดรอยด์ ในการจัดการยาต้านไวรัสเอชไอวีด้วยตนเอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2562;18: 738-50.
43. พรรัตติกาล พลหาญ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจ ไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล. ผลของโปรแกรมการให้
ความรู้และทักษะการใช้ยาสูดโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด.
วารสารพยาบาลทหารบก 2562; 29; 20(3): 93-103.
44. Tariman JD, Doorenbos A, Schepp KG, Singhal S, Berry DL. Top information need priorities of
older adults newly diagnosed with active myeloma. J Adv Pract Oncol 2015; 6(1): 14.
45. Houser SH, Au DW, Miller MJ, Chen L, Outman RC, Ray MN, et al. Socio-demographic differences in risk information seeking sources for non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDS). Int J Med Inform 2016; 94: 222-7.
46. พรชิตา อุปถัมภ์. พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ 2559; 29(2): 71-87.
47. Neame R, Hammond A, Deighton C. Need for information and for involvement in decision making among patients with rheumatoid arthritis: a questionnaire survey. Arthritis Rheum 2005; 53(2): 249-55.
48. สุวรรณา บุญยะลีพรรณ, เจียมจิต แสงสุวรรณ, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อารี วรรณกลั่นกลิ่น, วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์, จิตภินันท์ ศรีจักโครต,และคณะ. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงานที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35(1): 128-36.
49. Inmor S, Sukprasert S. Factors affecting health-related information seeking among Thai patients. International Journal of Applied Computer Technology and Information Systems 2561; 7(2): 7-13.