การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ประพิมพรรณ เกรียงวัฒนศิริ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ 8 โรงพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โรงพยาบาล             เวชการุณย์รัศมิ์ และโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ร่างแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร 2) แบบวัดความรู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร  3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย:  พบว่า 1) แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการฯ มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการบุคลากร ด้านการบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยใน ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริการทั่วไป และด้านการประสานงานและการรายงาน 2) ผลการใช้แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร พบว่า พยาบาลเวรตรวจการมีความรู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (= 0.63, SD = 0.44) และมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (= 3.81, SD = 0.90)


สรุป:  แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เป็นแนวทางที่ช่วยให้พยาบาลเวรตรวจการ มีความรู้ในการบริหารจัดการและการประสานงานขณะปฏิบัติงาน ตลอดจนสร้างความพึงพอใจให้แก่พยาบาลเวรตรวจการในการปฏิบัติงานได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สภาการพยาบาล. สมรรถนะผู้บริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: สภาการพยาบาล; 2556.
2. สุดารัตน์ วรรณสาร, รัตนาวดี ชอนตะวัน, สมใจ ศิระกมล. การพัฒนาการนิเทศการพยาบาลของ
ผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร 2556;
40(ฉบับพิเศษ): 57-68.
3. Monster. Nurse Supervisor Job Responsibilities [Internet]. 2019[cited 2019 May 1]. Available from
https://hiring.monster.com/employer-resources/job-description-templates/nurse-supervisor-job-
description/.
4. วารี วณิชปัญจพล, สุพิศ กิตติรัชดา. การบริหารการพยาบาลสู่คุณภาพ การนิเทศการพยาบาล.
กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์; 2551.
5. อำไพย์ ขอพึ่ง. ตัวประกอบของสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการในโรงพยาบาลทั่วไป
[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.
6. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ
ฉบับที่ 4. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2561.
7. โรงพยาบาลกลาง. รายงานสรุปโครงการการพัฒนาภาวะผู้นำของพยาบาลเวรตรวจการ โรงพยาบาลสังกัด
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร; 2561.
8. อัจฉราวรรณ งามญาณ. อันเนื่องมาแต่สูตรของยามาเน่. วารสารบริหารธุรกิจ, 2554; 32(121): 41-60.
9. สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ. สมรรถนะผู้บริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง; 2556.
10. นุศริน โกสีย์วงศานนท์, สุคนธ์ ไก่แก้ว, เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วน
ร่วมต่อความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ ที่โรงพยาบาล
ตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
2561; 14(1): 25-39.
11. กุลดา พฤติวรรธ์น, รัชนี วงค์แสน, สิทธิพันธ์ ถนอมพันธ์, สมรรถเนตร ตะริโย. การเพิ่มประสิทธิผลการ
ดูแลผู้ป่วยเพื่อลดการติดเชื้อดื้อยา แผนกอายุรกรรมและศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารกอง
การพยาบาล, 2560; 44(4): 10-33.
12. Charat P. learning by doing [Internet]. 2010[cited 2020 January 20]. Available from https://
www.gotoknow.org/posts/231204.
13. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, รจกร กัลยางกรู, อารีย์ ฟองเพชร, สิริเกต สวัสดิวัฒนากุล, รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย.
การจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์; 2549.
14. Goleman D. Working with Emotion Intelligence. New York: Bantam Book; 1998.
15. ภัคพร กอบผึ้ง, ชนกพร อุตตมะ. สมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการตามการรับรู้ของ
ตนเองและพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารกองการพยาบาล 2553; 37(2): 27-37.
16. Vestal KW. Nursing Management: Concepts and Issues. 2nded. Philadephia: J.B.Lippincott; 1995.
17. อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา. การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย Routine to Research (R2R) เทคนิคและวิธีการ
จัดทำคู่มือปฏิบัติการ. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 23 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://
science.swu.ac.th/Portals/22/QA/KM/2019/R2R_1_04062562.pdf.
18. สังวาล สกะมณี, สัญญา โพธิ์งาม, พิชา คนกาญจน์. ผลการพัฒนาสมรรถนะผู้ตรวจการพยาบาลนอก
เวลาราชการ ด้านการนิเทศกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารพยาบาลทหารบก
2560; 18(ฉบับพิเศษ): 248-56.