การพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ประเทศไทย

Main Article Content

ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ
สุวดี สุขีนิตย์
จิราพร เชาว์โพธิ์ทอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:1) เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำประเทศไทย และ 2)เพื่อประเมินความเหมาะสมของตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำประเทศไทย


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยและพัฒนามี 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การหาตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ประเทศไทยและ2) การประเมินความเหมาะสมตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 1 เป็นพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร การปฏิบัติและด้านวิชาการทางการพยาบาล จำนวน 19 คน ขั้นตอนที่ 2 เป็นพยาบาลปฏิบัติงานด้านการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 77 คน


ผลการวิจัย: พบว่า 1) ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำประเทศไทยประกอบด้วยตัวชี้วัดเชิงโครงสร้าง จำนวน 4 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดเชิงกระบวนการ จำนวน 4 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ จำนวน 15 ตัวชี้วัด2)ความเหมาะสมของตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ยกเว้น ตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ ได้แก่ อัตราการเกิด catheter embolism และจำนวนข้อร้องเรียนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำของผู้รับบริการ อยู่ในระดับปานกลาง


สรุป: ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำประเทศไทย มีทั้งหมด 23 ตัวชี้วัดและความเหมาะสมของตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำประเทศไทย ส่วนใหญ่ระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด


คำสำคัญ:การพัฒนาตัวชี้วัด การพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ  คุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ.2P Safety Patient and Personnel safety [อินเทอร์เน็ต]. 2560[เข้าถึงเมื่อ 12

เม.ย. 2562].เข้าถึงได้จาก:https://hacc.kku.ac.th/haccupload_news/pdftitle/Tue24545uFpjMOP.pdf.

Higginson R, Parry A. Phlebitis: treatment, care and prevention. Nursing times 2011; 107:18-21.

Ho KH, Cheung DS. Guidelines on timing in replacing peripheral intravenous catheters. J ClinNurs

; 21: 1499-506.

ผู้จัดการออนไลน์. โรงพยาบาลเสียใจเหตุให้น้ำเกลือเด็กจนแขนบวม [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ

เม.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/qol/detail/9620000035870.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล.จินตนาการสร้างสรรค์คุณภาพ. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

(องค์การมหาชน)มหกรรมคุณภาพเครือข่าย HACC เชียงราย[อินเทอร์เน็ต].2558. [เข้าถึงเมื่อ 12

เม.ย. 2562.เข้าถึงได้จาก: https://www.crhospital.org/hacc/file/57/HACC_document/ Anuwat

%20141218%20Imagination%20for%20Quality%20@%20Chiangrai.pdf.

Mainz J. Defining & classifying clinical indicators for quality improvement. Int J Qual Health Care

; 15: 523-30.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ:

ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย; 2550.

พิสณุ ฟองศรี. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์; 2553.

INS. Infusion therapy standard of practice[Electronicversion]. Journal of Infusion Nursing 2016;

Suppl 1:S1-159.

Spencer LM, Spencer SM. Competence at work: models for superior performance. New York:

Wiley; 1993.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ.การเฝ้าระวังและการสอบสวนการระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาล.

เชียงใหม่: มิ่งเมืองนวรัตน์; 2554.