การพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและ การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม ในโรงพยาบาลสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ
สุขสันต์ กิตติศุภกร
ปิติ ฉลองวิริยะเลิศ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร


วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) เพื่อพัฒนาระบบ


การบริหารจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ไปจนถึงการนำไปใช้วัดผลเปรียบเทียบก่อน-หลัง (one group pretest-posttest) การใช้ระบบการบริหารจัดการขยะและแนวทางปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะจากฝ่ายการพยาบาล ฝ่ายบริหารงานทั่วไป พยาบาลด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงพยาบาล การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposivesampling)กลุ่มตัวอย่างจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ โรงพยาบาลละ 5 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างจากโรงพยาบาลขนาดกลางโรงพยาบาลละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน 2) กลุ่มตัวอย่าง ในการเข้าร่วมสนทนากลุ่มประกอบด้วย หัวหน้าและผู้ช่วยหัวหน้าทีมประสานงานของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถเป็นตัวแทนตอบคำถามการวิจัยได้ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูล โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ 2)แบบบันทึกข้อมูลปริมาณขยะ 3) แบบบันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายและรายได้จากการบริหารจัดการขยะการเก็บรวบรวมข้อมูล มีขั้นตอนดังนี้ 1) ประชุมเพื่อให้ความรู้และทำความเข้าใจวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลขยะ 2)เก็บรวบรวมข้อมูลการบริหารจัดการขยะ ประกอบด้วย ปริมาณขยะแต่ละประเภท และรายรับ-รายจ่ายในการบริหารจัดการขยะ ระยะเวลา 3 เดือนก่อนการใช้ระบบบริหารจัดการขยะโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร 3) จัดกิจกรรมให้ความรู้ สื่อสารช่องว่างในการบริหารจัดการขยะ ระดมสมองเพื่อพัฒนาระบบระบบบริหารจัดการขยะโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม โดยกำหนดระบบการบริหารจัดการขยะโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมเพื่อทำความเข้าใจก่อนการนำระบบการบริหารจัดการขยะโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมลงสู่การปฏิบัติ 4)ทดลองใช้ระบบการบริหารจัดการขยะโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครใช้เวลา 1 เดือน 5)รวบรวมข้อมูลการบริหารจัดการขยะหลังสิ้นสุดการใช้ระบบการบริหารจัดการขยะโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร 6)รวบรวมข้อมูลการบริหารจัดการขยะหลังสิ้นสุดการใช้ระบบการบริหารจัดการขยะโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสถิติ ANOVA


ผลการวิจัย: พบว่า 1) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร พบว่า การบริหารจัดการขยะโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครที่มีประสิทธิภาพ ต้องเป็นการบริหารจัดการที่มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในองค์กร หน่วยงานภายนอกองค์กร และภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม จึงจะทำให้การบริหารจัดการขยะมีคุณภาพ ทั้งด้านการลดปริมาณขยะ การบริหารจัดการขยะทางการแพทย์ตามมาตรฐานถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถเปลี่ยนขยะรีไซเคิลเป็นของเหลือใช้ ที่มีมูลค่าด้วยกระบวนการเพิ่มมูลค่าของเหลือใช้ด้วยการออกแบบ (upcycling) และได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาต่อยอดเชิงพาณิชย์และเกิดประโยชน์ต่อสังคมได้2) ผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร พบว่า 2.1) ปริมาณขยะก่อน- หลังสิ้นสุดและหลังสิ้นสุดการใช้ระบบการบริหารจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร 3 เดือน ไม่แตกต่างกัน 2.2)ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะก่อน- หลังสิ้นสุดและหลังสิ้นสุดการใช้ระบบการบริหารจัดการขยะด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร 3 เดือน ไม่แตกต่างกัน


สรุป: การพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วมในโรงพยาบาลสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนและต้องมีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กรทั้งภาคราชการและภาคเอกชน 


คำสำคัญ:ขยะโรงพยาบาล การจัดการขยะโรงพยาบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษสำนักจัดการกากของเสียและอันตราย ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. รายงาน

สถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย 2559[อินเทอร์เน็ต].2560[เข้าถึงเมื่อ7 ก.พ. 2562].

เข้าถึงได้จาก: http://infofile.pcd.go.th/waste/wsthaz_annual59.pdf.

อภิชาต พิมลไพบูลย์. ต้นทุนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาล. วารสารสมาคมเวชศาสตร์

ป้องกันแห่งประเทศไทย2560; 7: 77-86.

ไทยรัฐ. ก.ท.ม จัดหาเพิ่มอีก 2 เตาเผา ขยะติดเชื้อ[อินเทอร์เน็ต].2560[เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2562].เข้าถึง

ได้จาก:https://www.thairath.co.th/content/1115459.

สิงห์ อินทรชูโต, ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ. บทเรียนจากการจัดการของเหลือใช้ในโรงพยาบาลเพื่อนำกลับมา

สร้างสรรค์.วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์2557; 10 :30-41.

ภัทราพร แย้มละออ. เศรษฐกิจหมุนเวียน โอกาสใหม่ของธุรกิจเพื่อความยั่งยืน[อินเทอร์เน็ต]. 2559[เข้าถึง

เมื่อ3 ก.ค.2562].เข้าถึงได้จาก:http://www.allaroundplastics.com/article/sustainability/1898.

สิงห์อินทรชูโต. Upcycling พัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์. ปทุมธานี:สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2556.

ธัญนภัส มณีศรี. การวางแผนอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมในอาคารสำนักงานเขตสายไหม

กรุงเทพมหานคร[อินเทอร์เน็ต].2557[เข้าถึงเมื่อ1 ก.ค 2562]. เข้าถึงได้จาก:http://www.journal.

nida.ac.th/journal/reseach_detail.php?ID=163.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4. นนทบุรี: บริษัท หนังสือดีวัน จำกัด;2561.

สิงห์ อินทรชูโต, ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ. สรุปโครงการการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของเหลือใช้

ด้วยแนวคิด Upcycling โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลกลาง; 2560.

Cohen JM, Uphoff N. Rural development participation: concept and measures for project design.

Implementation and evaluation [Internet]. 1997[cited2019 Feb 7]. Available from:

https://www. researchgate.net/publication/37882394_Rural_Development_Participation_Concept_

and_Measures_for_Project_Design_Implementation_and_Evaluation.

อภิชาติ ตั้งปรัชญากูล, สุวารีย์ ศรีปูณะ, สมนา สอ้าน. ผลของการใช้รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่าง

ครบวงจรแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารดุษฎีบัณฑิต

ทางสังคมศาสตร์2559; 6: 123-37.

สิงห์ อินทรชูโต, ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ. งานสร้างสรรค์จากสถานพยาบาล Upcycling: value creation

with design for hospital. Journal of Asia Design & Research2018; 1: 21-30.

ธงชัย พรรณสวัสดิ์, โสภา ชินเวชกิจพานิชย์. Covid-19 กับขยะที่ยังไม่ได้จัดการ[อินเทอร์เน็ต]. 2563

[เข้าถึงเมื่อ18 พ.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/874744.

ศิริภา อินทวิเชียร. โควิด (COVID-19) กับสิ่งแวดล้อม[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ18 พ.ค.2563].

เข้าถึงได้จาก:https://www.naewna.com/lady/columnist/43570.