สภาวะสุขภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพในพนักงานรักษาความสะอาดในเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จิตรลดา บุตรงามดี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อการสภาวะสุขภาพในพนักงานรักษาความสะอาดเขตลาดพร้าวในกรุงเทพมหานคร


วิธีการดำเนินการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานรักษาความสะอาดประจำทั้งหมดในเขต เข้าทำงานอย่างน้อยเป็นเวลา 2 เดือนจำนวน 496 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการทำงาน ข้อมูลด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเองและข้อมูลเกี่ยวกับผลการตรวจสุขภาพ และขอความยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัยดำเนินการตรวจสุขภาพ ตรวจวัดความดันโลหิต และ ตรวจระดับน้ำตาลและไขมันทางหลอดเลือดดำ โดยพยาบาลวิชาชีพ คำนวณสถิติ ความถี่ ค่าร้อยละ วิเคราะห์ขนาดความสัมพันธ์โดยใช้ odds ratio และ 95% confidence interval ทดสอบที่ระดับนัยสำคัญ p <0.05


ผลการวิจัย: ได้รับแบบสอบถามกลับจากพนักงานรักษาความสะอาดในเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานครจำนวน 422 คน คิดเป็นร้อยละ 85.1 โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 60.9 อายุเฉลี่ย44.95+ 9.53 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดเฉลี่ยระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 58.6  เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัย คิดเป็นร้อยละ39.8  ส่วนใหญ่จะได้รับการอบรมในช่วงปีพ.ศ.2550-2560 จากหน่วยราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 78.9 สามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันครบตามแต่ละประเภทการปฏิบัติงานเป็นประจำคิดเป็นร้อยละ34.8 พฤติกรรมทางสุขภาพ พบสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ32.1 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คิดเป็นร้อยละ32.7 ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี คิดเป็นร้อยละ 94.7 มากกว่าครึ่งได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก พฤติกรรมการดูแลตนเอง อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ69.2 มีทัศนคติในการดูแลสุขภาพดี คิดเป็นร้อยละ95.7  พฤติกรรมการดูแลตนเอง อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ69.2และพนักงานรักษาความสะอาดผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ พบว่ามีค่าดัชนีมวลกายปกติ คิดเป็นร้อยละ38.6  ค่าความดันโลหิตปกติ คิดเป็นร้อยละ43.1 ระดับน้ำตาลหลังอดอาหารปกติ คิดเป็นร้อยละ 49 ค่าไขมันปกติ คิดเป็นร้อยละ18.6 สภาวะสุขภาพเป็นโรคไม่ติดต่อ คิดเป็นร้อยละ28.5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสภาวะสุขภาพป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อในพนักงานรักษาความสะอาดได้แก่ ระดับการศึกษา (odds ratio 2.15, 95% CI 1.13- 4.09 ) รายได้ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง (p<0.05)ส่วนปัจจัยที่ไม่พบว่าเกี่ยวข้อง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การตรวจสุขภาพประจำปีและทัศนคติการดูแลสุขภาพ


สรุป: จากการศึกษาพบว่า พนักงานรักษาความสะอาดในกรุงเทพมหานคร มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพรวมถึงการป้องกันตนเองระหว่างการทำงานไม่เพียงพอ รวมถึงทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพระยะยาว สามารถปรับเปลี่ยนได้จากการให้ความรู้ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการและส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองขณะปฏิบัติงานและประเมินติดตามอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลพบว่าพนักงานรักษาความสะอาดยังได้รับการอบรมไม่ครบถ้วน การใส่ชุดป้องกันตนเองยังมีอัตราน้อย และผลการตรวจสุขภาพพบผิดปกติเป็นส่วนใหญ่ พบปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ ทัศนคติการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองขณะปฏิบัติงาน ส่งเสริมทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ดี  สร้างโปรแกรมการดูแลสุขภาพ และโรคหรือความเสี่ยงที่พบอย่างต่อเนื่อง


คำสำคัญ: สภาวะสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง โรคไม่ติดต่อ NCDs พนักงานรักษาความสะอาด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เพชรรัตน์ กิจสนาโยธิน, เมตตา ลิมปวราลัย, อัมพวัน พุทธประเสริฐ. สภาพแวดล้อมและสุขภาพของ

พนักงานเก็บขยะในหน่วยเทศบาลเมืองแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].

พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2550.

ศราวุฒิ แสงคำ, จำลอง อรุณเลิศอารีย์. สิ่งคุกคามสุขภาพในพนักงานเก็บขนมูลฝอยและแนวทาง

การป้องกัน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562; 34: 649-57.

World Health Organization. Protecting workers’ health[Internet]. 2017[cited 2016 Jun 18].

Available from:http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs389/en/.

ฐิติรัตน์ อำไพ. วิถีชีวิตการทำงานกับภาวะสุขภาพอนามัยของผู้มีอาชีพเก็บขยะ: กรณีศึกษา ชุมชนกองขยะ

หนองแขม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์; 2547.

Mervat AR, Ashraf AE, Tamer MH. Awareness of occupational health hazards among streetsweepers

and garbage collectors at Beni-Suef city, Egypt; across-sectional study. Bull High Inst Publ Health

;39: 654-68.

Dall’Agnol CM, FernandesII C. Health and self-care among garbage collectors: work experiences in a

recyclable garbage cooperative. Rev Latino-Am Enfermagem 2007; 15: 729-35.

Health System Research Institute(HSRI). Determinants of health[Internet]. 2004[cited 2020 Oct18].

Available from:http://164.115.27.97/digital/files/original/82b3617ac5b4ac2dce9ec6fb798de0d0.pdf.

นิภาพร เอื้อวัณณะโชติมา. ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพประชากร. วารสาร

วิชาการสาธารณสุข 2559; 25: 147-56.

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์. สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ(NCDs).

กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

ศูนย์บริการสาธารณสุข66 ตำหนักพระแม่กวนอิมโชคชัย4 กรุงเทพมหานคร. รายงานการตรวจสุขภาพ

ประจำปีข้าราชการและลูกจ้างสำนักงานเขตลาดพร้าว ประจำปี2560. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการ

สาธารณสุข66; 2560.

Buijs P, Gunnyeon B, Weel CV. Primary health care: what role for occupational health?. Br J Gen

Pract 2012; 62: 623-4.

บริสุทธิ์ ผึ่งผดุง. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง : ศึกษาเฉพาะกรณีเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์

ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต(สังคมวิทยา)]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;

อัฏฐพร ศรีฟ้า. บทบาทของผู้หญิงในการดูแลสุขภาพของชุมชน ครอบครัว และชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณี

ชุมชนซอยพิพัฒน์2 เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต].

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2541.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป

(ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย; 2558. หน้า 3-11.

Webber DZG, Mann S. Self-care in health: We can define it, but should we also measure it?. Self

Care 2013; 4: 101-6.

ศิริพรรณ ศิรสุกล. ภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะ:กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดนครปฐม

[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.

วิภาดา ศรีเจริญ, นภาภรณ์ คำมงคล, ปาริสา สงสาร, มาโนชณ์ อุ่นจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ

ภาวะสุขภาพจิตของพนักงานเก็บขยะสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

[อินทอร์เน็ต]. 2559[เข้าถึงเมื่อ29 เม.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://research.kpru.ac.th/sac/

fileconference/18392018-04-30.pdf.

โศรญา ปรักมานนท์. ภาวะสุขภาพของพนักงานเก็บขยะสังกัดเทศบาลในจังหวัดตรัง [วิทยานิพนธ์

ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(สาธารณสุขชุมชน)]. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร; 2559.

วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่5

พ.ศ.2557. นนทบุรี. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559. หน้า 1-283.

Centers for Disease Control and Prevention.Viral hepatitis[Internet]. 2020[cited 2020 Oct. 15].

Available from: https://www.cdc.gov/hepatitis/hbv/bfaq.htm.

Centers for Disease Control and Prevention.Tetanus[Internet]. 2020 [cited 2020 Oct 15]. Available

from: https://www.cdc.gov/vaccines/vpd/tetanus/index.html.

Cruvinel VRN, Marques CP, Cardoso V, Novaes MRCG, Araújo WN, Angulo-Tuesta A, et al. Health

conditions and occupational risks in a novel group: waste pickers in the largest open garbage dump in

Latin America. BMC Public Health2019; 19: 581.

Kuijer PP, Sluiter JK, Frings-Dresen MH. Health and safety in waste collection: Towards evidence-

based worker health surveillance. Am J Ind Med 2010; 53: 1040-64.

โฉมศิริ เดชารัตน์. คุณภาพชีวิตของพนักงานเก็บขยะ กรณีศึกษาภาคใต้ ประเทศไทย. วารสารความ

ปลอดภัยและสุขภาพ 2559; 9: 6-14.

นพวรรณ ดวงหัสดี. ภาวะสุขภาพและโภชนาการของครอบครัวเก็บขยะ ในชุมชนแออัดเมืองขอนแก่น.

วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 2551; 2: 11-21.