ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฐพงศ์ ศรีสุขโข
พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล
สิทธิพันธุ์ ไชยนันทน์
นาถนัดดา มรกตศรีวรรณ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างของบุคลากรทางการพยาบาลในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร ในช่วงระยะเวลา 7 วัน และ 12 เดือน ที่ผ่านมา


 


วิธีดำเนินการวิจัย:เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) กลุ่มตัวอย่าง คือบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค             และพนักงานช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 321 คน สุ่มตัวอย่างโดยแบ่งชั้นภูมิสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วงระยะเวลา 7 วัน และ 12 เดือนที่ผ่านมา และแบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (multiple logistic regression analysis)


 


ผลการวิจัย: พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วงระยะเวลา 7 วันที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 54.5 ความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 60.42) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วงระยะเวลา 7 วันที่ผ่านมา อย่างมีนัยสำคัญ       ทางสถิติที่ p<0.05 คือ ดัชนีมวลกายมากกว่าปกติ (adj. OR = 2.36; 95% CI = 1.02- 5.42) การดื่มแอลกอฮอล์ (adj. OR = 2.39; 95% CI = 1.21- 4.72) และความเครียด (adj. OR = 3.35; 95% CI = 1.91 - 6.22) 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วงระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p <0.05 คือ การไม่ใช้เตียงปรับระดับความสูงได้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (adj. OR = 1.85; 95% CI = 1.11- 3.08) การไม่ใช้เก้าอี้เตี้ย สำหรับวางเท้าในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (adj. OR = 2.84; 95% CI = 1.56- 5.16) และความเครียด (adj. OR = 3.31; 95% CI = 1.80- 6.06)


 


สรุป: จากงานวิจัยนี้ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง ได้แก่ ดัชนีมวลกายมากกว่าปกติ การดื่มแอลกอฮอล์ การไม่ใช้เตียงปรับระดับความสูงได้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การไม่ใช้เก้าอี้เตี้ยสำหรับวางเท้าในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และความเครียดซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานส่งเสริม ป้องกัน ควบคุมและลดความเสี่ยงจากการทำงาน รวมทั้งเป็นการเฝ้าระวังด้านสุขภาพ และความปลอดภัยจากการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาลในโรงพยาบาล


 


คำสำคัญ:ความชุกปัจจัยเสี่ยง อาการปวดหลังส่วนล่าง บุคลากรทางการพยาบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Morgan T, Moen B, Bergum O, Vigeland SH, Holien S. Frequent musculoskeletal symptoms and

reduced health-related quality of life among industrial workers. Occup Med 2002; 52: 91-8.

Lee P, Helewa A, Goldsmith CH, Smythe HA, Stitt LW. Low back pain: prevalence and risk factors

in an industrial setting. J Rheumatol 2001; 28: 346-51.

Picavet HSJ, Schouten JSAG. Musculoskeletal pain in the Netherlands: prevalence, consequences and

risk groups, the DMC3-study 2003. Pain 2003; 102: 167-78.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจาก

การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2557 - 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ย.2563].

เข้าถึงได้จาก:http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation2/2561/2561_01_envocc_situation.pdf.

นลินี ทองฉิม.ความชุกและปัจจัยการยศาสตร์ของการปวดหลังส่วนล่างจากการทำงานในโรงพยาบาล

ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].ปทุมธานี:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556.

สุทรรศน์ สิทธิศักดิ์.ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก

โครงร่างในพนักงานเก็บขยะเทศบาลนครพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาตรมหาบัณฑิต].

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

นพรัตน์ ชูพีรัชน์.การศึกษาความชุกและปัจจัยจากการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติทาง

ระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อในบุคลากรโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระ [วิทยานิพนธ์

ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

อัมภา ศรารัชต์, จินะรัตน์ ศรีภัทรภิญโญ.การศึกษาเวลามาตรฐานตามเกณฑ์การจำแนกประเภทผู้ป่วย.

พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

รัชนีกร ชมสวน.การปวดหลังจากการทำงาน.วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 2558;14: 19 -23.

Daniel WW. A foundation for analysis in the health sciences. In: Daniel WW, Cross CL, editors.

Biostatistics. 10thed. Uttar Pradesh, Wiley India Publisher; 2015. p. 344-9.

Melzack R, Kalz J. Pain measurement in persons in pain. In: Wall PD, Melzack R, editors.Textbook of pain.

London, Harcourt Publisher; 1999. p. 409-26.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือคลายเครียดด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์; 2541. หน้า 12-6.

คเชนทร์ นำศิริกุล.Orthopedics for medical students. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ วพม; 2548. หน้า 112-20.

ประภาส โพธิ์ทองสุนนท์. การป้องกันภาวะบาดเจ็บจากการทำงาน. ประชุมวิชาการเรื่องนวัตกรรมใหม่

ในการส่งเสริมสุขภาพ; 11 ธ.ค. 2556; คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

จุไรพร โสถาจารีย์, สุรินธร กลัมพากร, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ชูเกียรติ วิวัฒน์วงศ์เกษม.

ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการปวดหลังส่วนล่างชนิดเฉียบพลันในโรงพยาบาลสิงห์บุรี.

วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2556;20:40-1.

เซน คำปา.กลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างกล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงานในบุคลากรทาง

การพยาบาลโรงพยาบาลไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร

มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2558.

อรพินท์ ตราโต.ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในงาน ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค

กับการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลศูนย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร

มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน.การจัดการทางการพยาบาลสู่การเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์; 2548.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, รัชติญา นิติธรรมธาดา.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากร

โรงพยาบาลรัฐ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2559; 46: 42-56.

National Institute of Occupational Safety and Health (NIOSH).Musculoskeletal disorder and

workplace factors [Internet]. 1997[cited 2020 Nov20]. Available from: http://www.cdc.gov/

niosh/ergosci.html.

ปัญญา วงศ์พึ่ง.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของพนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการยกของ

กรณีศึกษากลุ่มพนักงานของบริษัทปิโตรเคมีแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี

; 39: 61-8.

Pakhen E. Neurological research laboratory [Internet]. 2013[cited 2020Nov20]. Available

fromhttp://www.bcnu.ac.th/stdbcnu/images/document/drug.pdf.

นุชนารถ กันธิยะ. กลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการ ทำงานและ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพยาบาลวิชาชีพ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่:

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

Jager M, Jordan C, Theilmeier A, Wortmann N, Kuhn S, Nienhaus A, et al. Lumbar-load

analysis of manual patient-handling activities for biomechanical overload prevention among

healthcare workers. Annals of Occupational Hygiene 2013; 57: 528-44.

สุนีรัตน์ ภู่เอี่ยม, สุทธิพันธ์ ปักสุวรรณ, สมพิศ สมจิตต์, ศรีสมพร ทรวงแก้ว, เรณู สอนเครือ,

นพพร ทองธรรมดา, และคณะ. แนวคิดพื้นฐานและหลักการพยาบาล เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 9.

นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์; 2540.

รุ้งกานต์ พลายแก้ว, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ท่าทางการทำงานและกลุ่ม

อาการผิดปกติทางโครงร่างและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา จังหวัดเชียงใหม่.

พยาบาลสาร. 2556; 40: 7-10.

สิริยุพา สุทธิพันธุ์, ฉันทนา จันทวงศ์, ยุวดี ลีลัคนาวีระ. ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบ

โครงร่างและกล้ามเนื้อของผู้ช่วยพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน เขตภาคตะวันออก.รายงานการประชุม

วิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ; 7 พ.ย. 2557; มหาวิทยาลัยภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น:สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีดี คอนแทคท์; 2557. หน้า 255-7.

Dockrell S, Ganly J, Johnson N, Bennett K. Manual handing incidents in the health care sector -

profile and analysis of calms [Internet]. 2016[cited 2020 Nov 20]. Available from:http://www.

hsa.ie/eng/Workplace_Health/Manual_Handling/Manual_Handling_Research_Reports/

Manual_ Handling_Analysis_Report.pdf.

สสิธร เทพตระการพร.เอกสารการสอนชุดวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย Occupational

health and safety. ปรับปรุงครั้งที่ 1.นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2546.