การพัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยแบบประคับประคองกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยพัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบด้านผู้สูงอายุและการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง
วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุหรือการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ผู้วิจัยทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้เชี่ยวชาญ 6 กลุ่ม จำนวน 24 คน ได้แก่ ผู้บริหารโรงพยาบาล นักวิชาการด้านผู้สูงอายุ นักวิชาการด้านการดูแลแบบประคับประคอง แพทย์ พยาบาล และสหสาขาวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุและการดูแลแบบประคับประคองโดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 3ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่1 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรงพยาบาลต้นแบบด้านผู้สูงอายุและการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ผลข้อมูลจากแบบสอบถามรอบที่1 สร้างเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า5ระดับเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อคำถาม ขั้นตอนที่3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณทางสถิติโดยการหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และเพิ่มคำตอบตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในรอบที่ 2 เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณายืนยันคำตอบอีกครั้ง นำข้อมูลในรอบที่3 มาคำนวณหาค่ามัธยฐานที่มีค่ามากกว่า 3.5 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ที่น้อยกว่า 1.00 เพื่อสรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัย: พบว่า ปัจจัยพัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบด้านผู้สูงอายุและการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
มีปัจจัย6 ด้าน ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านนโยบาย ประกอบด้วย นโยบายระบบบริการนโยบายพัฒนาบุคลากร และนโยบายสนับสนุนการเข้าถึงบริการ2) ปัจจัยด้านโครงสร้าง ประกอบด้วย โครงสร้างทางกายภาพโครงสร้างการบริหารและโครงสร้างบริการ3) ปัจจัยด้านทรัพยากร งบประมาณ ควรได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
และภาคประชาชน4) ปัจจัยด้านพัฒนาบุคลากรมีแผนพัฒนาบุคลากรทั้งระยะสั้นและระยะยาว5) ปัจจัยด้านการจัดระบบบริการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพมีระบบประเมินบริการตามมาตรฐาน นำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย โดยยึดความต้องการของผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย 6) ปัจจัยด้านความร่วมมือของชุมชนมีการเชื่อมโยงเครือข่ายบริการสุขภาพ เพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
สรุป: ปัจจัยพัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบด้านผู้สูงอายุและการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารในการจัดรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุและการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง กรุงเทพมหานครรวมถึงการกำหนดนโยบาย หรือยุทธศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง โรงพยาบาลต้นแบบด้านผู้สูงอายุและการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง
Article Details
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ.สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563
[อินเทอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1
/335; 2563.
ปราโมทย์ ประสาทกุล, บรรณาธิการ. การสูงวัยของประชากรไทยในสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559.
กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัลลิชชิ่ง; 2559. หน้า 24-5.
วิไลวรรณ ทองเจริญ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ:โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
กลุ่มสถิติประชากร สำนักงานสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรผู้สูงอายุใน
ประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2557. หน้า 60-91.
World Health Organization.WHO definition of palliative care. [Internet]. 2012 [cited 2019 Oct 24].
Available from: http://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/.
จุมพล พูนภัทรชีวิน. การวิจัยแบบอนาคตEDFA. ใน: ประพันธ์ จำปาไทย, บรรณาธิการ. รวมบทความวิจัย
ทางการศึกษา.กรุงเทพฯ: รุ่งสาสน์การพิมพ์; 2530. หน้า 38 - 44.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท ยูแอนด์ไอ อินเตอร์
มีเดีย จำกัด; 2550.
Heiko A. Consensus measurement in Delphi studies: review and implications for future quality
assurance. Technol Forecast Soc Change 2012; 79: 1525-36.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). ก่อนจะถึงวันสุดท้าย. กรุงเทพฯ:สำนักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2554.
งามเนตร เอี่ยมนาคะ. นโยบายบูรณาการด้านการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวของประเทศไทย: Integrated
policy of long term care for the elderly in Thailand.กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.
เบญจพร สุธรรมชัย, จิราพร เกศพิชญวัฒนา, นภัส แก้ววิเชียร. การสังเคราะห์รูปแบบบริการดูแล สุขภาพผู้สูงอายุ แบบบูรณาการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข2558; 24: 1017-29.
Waterman RH, Peters TJ, Phillips JR. The 7-S framework.Chapter; 1980. p.309-14.
Harris-Wehling J, Feasley JC, Estes CL. Real people, real problems: An evaluation of the long-term
care Ombudsman programs of the older Americans act. Washington DC: National Academies; 1995.
วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์, ยส วัชระคุปต์. ระบบประกันการดูแลระยะยาว: ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย; 2560.
Frank C, Wilson CR. Models of primary care for frail patients. Can Fam Physician 2015;
: 601- 6.
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ.รายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุใน
ระยะยาวสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ที คิว พี; 2553.