อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะสงสัยติดเชื้อระยะแรกในทารกแรกเกิด ของโรงพยาบาลปราสาท

Main Article Content

ปิยดา พรใหม่

บทคัดย่อ

บทนำ: การติดเชื้อระยะแรกในทารกแรกเกิด เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการและเสียชีวิตในทารก จึงจำเป็นต้องวินิจฉัยภาวะนี้ให้ได้ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยการประเมินความเสี่ยง และค้นหาทารกกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อระยะแรก


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสงสัยติดเชื้อระยะแรกในทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลปราสาท ตั้งแต่ เดือนเมษายน พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563


วิธีดำเนินการวิจัย: ศึกษาย้อนหลัง เก็บข้อมูลทารกสงสัยติดเชื้อระยะแรก 71 ราย และทารกไม่พบการติดเชื้อระยะแรก 710 ราย โดยเก็บข้อมูลปัจจัยเสี่ยง อาการทางคลินิก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ


ผลการวิจัย: อุบัติการณ์ของภาวะสงสัยติดเชื้อระยะแรกในทารกแรกเกิด คือ 39.9 ต่อทารกเกิดมีชีพ 1,000 ราย ทารกที่สงสัยติดเชื้อระยะแรกจะแสดงอาการใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด (ค่ามัธยฐาน 6 ชั่วโมง) อาการทางคลินิกที่พบมากที่สุด คือ หายใจลำบาก (ร้อยละ 79.1) น้ำตาลในเลือดต่ำ (ร้อยละ 38.9) ตัวเหลือง (ร้อยละ 36.1) กินนมได้ไม่ดี (ร้อยละ 25) และเขียว (ร้อยละ 12.5) ผลเพาะเชื้อในกระแสเลือดของทารกสงสัยติดเชื้อเป็นลบ ทุกราย ได้วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการติดเชื้อโดยใช้ multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสงสัยติดเชื้อระยะแรกในทารกแรกเกิด คือ ทารกคลอดก่อนกำหนด (OR: 4.83, 95% CI: 2.20-10.61) ทารกน้ำหนักตัวน้อย (OR: 10.98, 95% CI: 5.77-20.89) ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด (OR: 7.52, 95% CI: 2.32-24.33) มารดาติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ (adj OR: 20.58, 95% CI: 2.97-142.73) มารดาน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์คลอดนานมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ชั่วโมง (adj OR: 3.56, 95% CI: 1.53-8.31) มารดามีไข้ก่อนคลอดมากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส (adj OR: 3.01, 95% CI: 1.06-13.49) มารดามีตกขาวผิดปกติขณะตั้งครรภ์ (adj OR: 1.98, 95% CI: 1.11-3.55) และการคลอดด้วยเครื่องสุญญากาศ (adj OR: 4.80, 95% CI: 1.53-15.10)


สรุป: เป้าหมายในการประเมินการติดเชื้อระยะแรกในทารกแรกเกิด คือ การค้นหาทารกกลุ่มเสี่ยง โดยพิจารณาจากความเสี่ยงช่วงปริกำเนิด ได้แก่ ประวัติของทารก เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย ทารกขาดออกซิเจนแรกเกิด ประวัติของมารดา เช่น การตกขาวผิดปกติขณะตั้งครรภ์ การเจ็บป่วยของมารดาก่อนคลอด เช่น มารดามีไข้ การติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ น้ำเดินก่อนคลอด วิธีการคลอด อาการทางคลินิก และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Stoll BJ, Hansen NI, Sánchez PJ. Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development Neonatal Research Network. Early onset neonatal sepsis: the burden of group B streptococcal and E. coli disease continues. Pediatrics 2011;127: 817-26.

Weston EJ, Pondo T, Lewis MM. The burden of invasive early-onset neonatal sepsis in the United States 2005-2008. Pediatr Infect Dis J 2011; 30: 937-41.

Edward MS. Postnatal bacterial infections. In: Martin RJ, Fanaroff AA, Walsh MC, editors. Neonatal perinatal medicine, disease of the fetus and infant. 9thed. St. Louis: Modby Elsevier; 2011. p. 793-830.

พรเพ็ญ มนตรีศรีตระกูล, แสงแข ชำนาญวนกิจ, ปรียาพันธ์ แสงอรุณ. อุบัติการณ์ของภาวะติดเชื้อในระยะหลังคลอด ลักษณะทางคลินิก และการรักษา ในทารกแรกเกิดที่คลอดในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารทหารบก 2547; 57: 237-44.

สุนันทา จินดารัตน์. ปัจจัยเสี่ยง อาการและอาการแสดงทางคลินิก การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ การรักษาภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิดที่คลอดในโรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2558; 5: 28-41.

กัณณิกา อยู่มั่น. ลักษณะการติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2564; 35: 1-15.

กิ่งกาญจน์ บุญพิมล. อุบัติการณ์ของภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด ลักษะทางคลินิก และการรักษาในทารกที่คลอดในโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. ยโสธรเวชสาร 2558; 17: 79-87.

อรภัทร วิริยอุดมศิริ. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิดระยะแรกที่คลอดในโรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารควบคุมโรค 2015; 41: 219-26.

American Academy of Pediatrics. Group B Streptococcal infections. In: Pickering LK, Baker CJ, Kimberlin DW, Long SS, editors. 2015 Red Book. 30thed. Elk Grove Village, IL: American Acadamy of Pediatrics; 2015. p. 745-50.

Puopolo KM, Benitz WE, Zaoutis TE; Committee on fetus and newborn; committee on infectious diseases. Management of neonates born at ≥ 350/7 weeks’ gestation with suspected or proven early-onset bacterial sepsis. Pediatrics 2018; 142: e20182894.

Benitz WE, Gould JB, Druzin ML. Risk factors for early-onset group B streptococcal sepsis: estimation of odds ratios by critical literature review. Pediatrics 1999; 103: e77.

Heath PT, Balfour GF, Tighe H, Verlander NQ, Lamagni TL, Efstratiou A. Group

B streptococcal disease in infants: a case control study. Arch Dis Child 2009; 94: 674-80.

Oddie S, Embleton ND. Risk factor for early onset neonatal group B streptococcus sepsis: case-control study. BMJ 2002; 325: 308.

Petrova A, Demiss K, Rhoads GG, Smulian JC, Marcella S, Ananth CV. Association of maternal fever during labor with neonatal and infant morbidity and mortality. Obstet Gynecol 2001; 98: 20-7.

. Hornik CP, Forta P, Clarkc RH, Watt K, Benjamin DK Jr, Smith PB, et al. Early and late onset sepsis in very low-birth-weight infants from a large group of neonatal intensive care units. Early Hum Dev 2012; 8: S69-74.

Chan GJ, Lee AC, Baqui AH, Tan J, Black RE. Risk of early-onset neonatal infection with

maternal infection or colonization: a global systematic review and meta-analysis. PLoS Med 2013; 10: e1001502.

โรม บัวทอง, สิกานต์ ขาวนวล, พัฒนสิริ สำราญทิศ, นิตยา มีเครือรอด. ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย 1 ตุลาคม 2548-30 กันยายน 2549. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2551 ;30: 525-29.

Getabelew A, Aman M, Fantaye E, Yeheyis T. Prevalence of neonatal sepsis and associated factors among neonates in neonatal intensive care unit at selected government hospitals in Shashemene Town, Oromia Regional State, Ethiopia, 2017. Int J Pediatr 2018; 2018: 7801272.

Al-Matary A, Heena H, Alsarheed AS, Ouda W, Alshahrani DA, Wani TA, et al. Characteristics of neonatal sepsis at a tertiary care hospital in Saudi Arabia. J Infect Public Health 2019; 12: 666-72.

ศรัญญา ศรีจันท์ทองศิริ, ไกลตา ศรีสิงห์, จินันท์ วีรกุล. ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2558; 45: 256-71.

Gerdes JS. Clinicopathologic approach diagnosis of neonatal sepsis. Clin Perinatol 1991; 18: 361-81.

Jermsirisakpong W, Yathavisuthi P, Punavakul U. Incidence of early onset neonatal sepsis in preterm newborn and characteristic of maternal vaginal pathogen, Prapokkloa hospital. J Prapokkloa Hosp Clin Med Educat Center 2007; 24: 241-8.

Fuchs A, Bielicki J, Mathur S, Sharland M, Van Den Anker J. Antibiotic use for sepsis in neonate and children: 2016 evidence update. WHO Reviews. 2016.

Amare D, Mela M, Dessie G. Unfinishes agenda of the neonates in developing countries: magnitude of neonatal sepsis: systematic review and meta-analysis. Heliyon 2019; 5: e02519.

Ganatra HA, Zaidi AM. Neonatal infections in developing world. Semin Perinatol 2010; 34: 416-25.

Anwer SK, Mustafa S. Rapid identification of neonatal sepsis. J Pak Med Assoc 2000; 50: 94-8.

Gerdes JS, Polin R. Early diagnosis and treatment of neonatal sepsis. Indian J Pediatr 1998; 65: 63-78.

Simose KA, Anderson-Berry AL, Delair SF, Davies HD. Early-onset neonatal sepsis. Clin Microbiol Rev 2014; 27: 21-47.

Escobar GJ. The neonatal “sepsis work-up”: personal reflections on the development of an evidence-based approach toward newborn infections in a managed care organization. Pediatrics 1999; 103: 360-73.

Martius JA, Roos T, Gora B, Oehler MK, Schrod L, Padadopoulos T, et al. Risk factors associated with early-onset sepsis in premature infants. Eur J Obstet Gynecol Biol 1999; 85: 151-8.

Zamora-Castorena S, Murguia-de-Sierra MT. Five year experience with neonatal sepsis in a pediatric center. Rev Invest Clin 1998; 50: 463-70.

Christensen RD, Rothstein G, Hill HR, Hall RT. Fatal early onset group B streptococcal sepsis with normal leukocyte counts. Pediatr Infect Dis 1985; 4: 242–5.

Engle WD, Rosenfeld CR. Neutropenia in high-risk neonates. J Pediatr 1984; 105: 982–6.

Thatrimontrichai A. Neonatal sepsis in Thailand. Folia Medica Indonesia. 2018; 54: 306-10.

Erum S, Farhan S, Rashid NK, Muhammad AK. Immature to total neutrophil ratio as an early indicator of early neonatal sepsis. Pak J Med Sci 2019; 35: 241-6.