ผลของโปรแกรมการดูแลแบบเอื้ออาทรต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือของผู้ป่วย ในการตรวจสวนหัวใจ

Main Article Content

อัณศยา โพธิพันธ์
ทิพา ต่อสกุลแก้ว
ศากุล ช่างไม้

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลแบบเอื้ออาทรต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือของผู้ป่วยในการตรวจสวนหัวใจ


วิธีดำเนินการวิจัย:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจสวนหัวใจแบบนัดล่วงหน้าในโรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 66รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 33ราย และกลุ่มทดลอง 33ราย โดยคัดเลือกแบบสะดวกตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการดูแลแบบเอื้ออาทร กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบประเมินความร่วมมือ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.72และ 0.76ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมการดูแลแบบเอื้ออาทรในผู้ป่วยที่รับการตรวจสวนหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาสถิติ repeated measures ANOVA สถิติ chi-square และสถิติ independent  t- test


ผลการวิจัย:พบว่าภายหลังได้รับโปรแกรมในระยะก่อนการตรวจสวนหัวใจและขณะรอการตรวจสวนหัวใจกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F1,64 = 8.42, p<0.05)  และคะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการตรวจสวนหัวใจของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -8.60, p<0.05)


สรุป:พยาบาลสามารถนำโปรแกรมการดูแลแบบเอื้ออาทรนี้ไปใช้เพิ่มเติมจากการพยาบาลตามปกติเพื่อเพิ่มคุณภาพในการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่เข้ารับการตรวจสวนหัวใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. World Health Organization. Top 10 causes of death in 2019[Internet].2020 [cited 2020 May 23]. Available from: https://www.who.int/data/gho/data/themes/topics/causes-of-death/GHO/causes-of-death.
2. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก ปี พ.ศ. 2561[อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ15 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก
http://thaincd.com/document/file/download/knowledge/.
3. สมาคมแพทย์โรคหัวใจ.แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2557.
4. Jamshidi N, Abbaszadeh A, Kalyani MN, & Sharif F. Effectiveness of video information on coronary angiography patients’ Outcomes Collegian. The National Center for Biotechnology Information, 2013;20:153-9.
5. Moradi T, & Hajbaghery M. State and Trait Anxiety in Patients Undergoing Coronary Angiography. International Journal of Hospital Research 2015;4 : 123-8.
6. Merriweather N, Sulzbach-Hoke LM. Managing riskofcomplicationsat femoral Vascular access Sites in percutaneous coronary intervention. Crit Care Nurse 2012; 32:16-29.
7. นิพนธ์ วาตาดา. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] .กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;.2560.
8. พิราวรรณ โต่งจันทร์, อําภาพร นามวงศ์พรหม, นํ้าอ้อย ภักดีวงค์. ความวิตกกังวลความพึงพอใจและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการสวนหัวใจ
[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2557.
9. จำเนียร พัฒนจักร,วาสนา รวยสูงเนิน. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ ต่อคามวิตกกังวลและความร่วมมือในการตรวจ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ Journal of Nursing Science & Health(2561);41:10-9.
10. Swanson K. M. Empirical development of a middle range of a middle range theory of caring. Nursing Research 1990; 40:161-166.
11. อัญชุลี ไชยวงศ์น้อย. ผลของการดูแลแบบเอื้ออาทรของสแวนสันต่อการทำกิจวตัรประจำวันและความผาสุกของผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดสมอง[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต ].สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, คณะพยาบาลศาสตร์,ชลบุรี :มหาวิทยาลัยบูรพา;2557
12. สุภาภรณ์ กวัดแกว่ง, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, วรรณา พาหุวัฒนกร,ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร.ผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยใช้ทฤษฎีการดูแลต่อความวิตกกังวลของสตรีที่ได้รับการยุติการตั้งครรภ์เพื่อการรักษา.วารสารสภาการพยาบาล(2557);29:55-66.
13. ภัทราวดี บุตรคุณ. ผลของโปรแกรมสแวนสันต่อความวิตกกังวลและการรับรู้พฤติกรรมการดูแลเอื้ออาทรจากพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่,คณะพยาบาลศาสตร์,นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน;2561.
14. Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical Power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007; 2:175-91.
15. อรุณ จิรวัฒน์กุล. . การออกแบบแบบสอบถามสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์;2556.
16. Hornblow A R , Kidson MA.The visual analogue scale for anxiety: a validation study. Aust N Z J Psychiatry1976; 10:339-41.
17. สุมณฑล หมูจุน.การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นเลิศของวิธีการดูแลด้านจิตใจสําหรับผู้ที่เข้ารับการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด. งานการพยาบาล ผู้ป่วยอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. 2555.
18. Basar C, Beşli F, Keçebaş M, Kayapınar O, Turker Y. The effect of audio-visual education prior to coronary angiography on the state anxiety. Clinical Case Reports and Reviews 2015; 1:176-8.
19. เจษฎา ศรีบุญเลิศ. ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือในผู้ป่วยมะเร็งตับขณะตรวจรักษาโดยให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] .สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ,คณะพยาบาลศาสตร์,ขอนแก่น :มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2554.
20. บุญธิดา ลิมาพงษ์ภาส และคณะ. ผลของการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติตนในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558;9:1-7.
21. ศศิธร สุทธิสนธิ์. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายต่อความวิตกกังวลและความร่วมมือในการผ่าตัดต้อเนื้อตาที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่,คณะพยาบาลศาสตร์,นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน;2561